การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม 2

Basic Engineering Skill Training 2

ศึกษาปฏิบัติงานเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในงานเชื่อมโลหะ ความปลอดภัยในงานเชื่อมโลหะ ชนิดเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์ในงานเชื่อม สัญลักษณ์การเชื่อมในการเขียนแบบ  กระบวนการเชื่อมแก๊ส การเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมโลหะก๊าซคลุม การเชื่อมอาร์คทังสเตนก๊าซคลุม การเชื่อมพลาสมา การใช้หุ่นยนต์สำหรับงานเชื่อมโลหะ การงานขึ้นรูปโลหะแผ่นและท่อ การชุบแข็งและพิ้นฐานงานหล่อโลหะ  การเชื่อมประสานโลหะตามลักษณะงานและท่าเชื่อมต่าง ๆ
       ศึกษาปฏิบัติงานเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในงานเชื่อมโลหะ ความปลอดภัยในงานเชื่อมโลหะ ชนิดเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์ในงานเชื่อม สัญลักษณ์การเชื่อมในการเขียนแบบ  กระบวนการเชื่อมแก๊ส การเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมโลหะก๊าซคลุม การเชื่อมอาร์คทังสเตนก๊าซคลุม การเชื่อมพลาสมา การใช้หุ่นยนต์สำหรับงานเชื่อมโลหะ การงานขึ้นรูปโลหะแผ่นและท่อ การชุบแข็งและพิ้นฐานงานหล่อโลหะ  การเชื่อมประสานโลหะตามลักษณะงานและท่าเชื่อมต่าง ๆ 
อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งเวลาให้คำปรึกษา - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผูกประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การนำเสนองานตามลำดับเวลาที่กำหนด สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม
สอบปฏิบัติกลางภาค และสอบปฏิบัติปลายภาค  คะแนนจากงานที่มอบหมายประจำสัปดาห์  แก้ไข
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ  
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจ หลักการเบื้องต้นในงานเชื่อมโลหะ ความปลอดภัยในงานเชื่อมโลหะ ชนิดเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์ในงานเชื่อม สัญลักษณ์การเชื่อมในการเขียนแบบ  กระบวนการเชื่อมแก๊ส 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจ การการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมโลหะก๊าซคลุม การเชื่อมอาร์คทังสเตนก๊าซคลุม การเชื่อมพลาสมา การใช้หุ่นยนต์สำหรับงานเชื่อมโลหะ การงานขึ้นรูปโลหะแผ่นและท่อ การชุบแข็งและพิ้นฐานงานหล่อโลหะ  การเชื่อมประสานโลหะตามลักษณะงานและท่าเชื่อมต่าง ๆ  2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือ ที่เหมาะสม 2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
บรรยาย อภิปราย สาธิตการปฏิบัติงาน พร้อมยกตัวอย่างลักษณะของตัวอย่างชิ้นงานจริง รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานในวิชาที่เกี่ยวข้องที่เคยได้เรียนมาก่อนหน้า
สอบปฏิบัติกลางภาค และสอบปฏิบัติปลายภาค คะแนนจากงานที่มอบหมายประจำสัปดาห์
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำระหว่างเรียนและงานประจำสัปดาห์เป็นรายคน 
สังเกตและประเมินจากผลงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายให้ทำและนำมาส่ง โดยพิจารณาความตรงต่อเวลา ความถูกต้อง และขั้นตอนวิธีการคิด
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน 4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.1.5 มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในกลุ่ม
ประเมินพฤติกรรมในการนำเสนอ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
5.1.1 มีทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สําหรับการทํางานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศหรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการ แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคํานวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
การแสดงแบบฝึกหัดในห้องเรียน
สังเกตการทำแบบฝึกหัดในห้องเรียน
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
การแสดงแบบฝึกหัดในห้องเรียน
สังเกตการทำแบบฝึกหัดในห้องเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม วินัยในการปฏิบัติงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย/ การมีส่วนร่วมในห้องเรียน 1 - 17 10
2 ด้านความรู้และการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน สอบกลางภาค สอบปลายภาค/ การส่งงานตามที่มอบหมาย 1 -17 80
3 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมในห้องเรียน 1-17 10
1.หนังสือตารางโลหะ
2.หนังสือมาตรฐานงานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น 3.หนังสืองานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น