อาหารสัตว์น้ำ

Aquatic Animal Feed

จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1. รู้ความหมายของอาหารสัตว์น้ำ เข้าใจความสำคัญของสารอาหารต่อสัตว์น้ำ และโภชนะศาสตร์สัตว์น้ำ และองค์ประกอบทางเคมีของอาหารปลา
2. เข้าใจเรื่องสารอาหารและขบวนการเมตาบอลิซึม รวมทั้งสรีรวิทยาของระบบย่อยอาหารของสัตว์น้ำและการผลิตอาหาร
3. รู้และเข้าใจประเภทของอาหารสัตว์น้ำ และการผลิตอาหาร ทั้งวัตถุดิบการสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำ และการประเมินคุณค่าทางอาหาร รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการกินอาหารของสัตว์น้ำ
4. มีทักษะการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการอาหารสัตว์น้ำ และการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เครื่องมือและอุปกรณ์ในฟาร์ม
5. มีทักษะในการปฏิบัติงานการเลี้ยงปลา อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยงและการประเมินการเจริญเติบโต
6. เห็นความสำคัญของอาหารสัตว์น้ำต่อระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ
 
เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รวมทั้งทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผ่านทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฝึกค้นหาข้อมูลและวิทยาการใหม่ๆ จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง และนำมาแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยการเสวนาแบบโต๊ะกลม (Share information)
ศึกษาชีวพลังงานศาสตร์ของปลา การย่อยอาหาร สารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การคำนวณสูตรอาหารและการผลิตอาหาร การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการอาหารสัตว์น้ำ
วันพุธ  เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาประมง
š1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
˜1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
š1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมระหว่างการสอน
- ยกตัวอย่างข่าวสารหรือเหตุการณ์ปัจจุบัน
- มอบหมายงานกลุ่ม
- ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
-ประเมินความมีวินัยและความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
-ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
˜2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
˜2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- มอบหมายให้ศึกษาบทเรียนและทำความเข้าใจล่วงหน้า
- ทดสอบความรู้ความเข้าใจ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามก่อนเข้าทำปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เรียนได้ทำปฏิบัติการด้วยความมั่นใจ
- ประเมินผลจากการสอบด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา
š3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
˜3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
-แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ของปฏิบัติการต่างๆอย่างเป็นระบบ
- ทำการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องอย่างเป็นระบบ
- ทำการวิเคราะห์ข้อมูล/คำนวณ (ถ้ามี)
- ทำการสรุปผลการทดลองและเขียนรายงาน
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียน และแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาพร้อมทั้งค้นคว้าเพิ่มเติม
ประเมินผลจากรายงานผลการทดลอง และการตอบปัญหาในชั้นเรียน
š4.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
˜4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
˜4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- จัดกิจกรรมกลุ่มในการทำบทปฏิบัติการ
- มอบหมายงานกลุ่มและรายบุคคล
-ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
˜5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
š5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
˜5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีการอธิบายวิธีการปฏิบัติการทดลอง และ/หรือ การคำนวณที่สอดคล้องกับทฤษฎี
- ให้โจทย์ตัวอย่างการคำนวณการวิเคราะห์สูตรอาหารสัตว์น้ำ
- ประเมินจากการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข/จัดเก็บข้อมูลการทดลองอย่างเป็นระบบ
- ประเมินจากการเขียนรายงาน
š6.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ ต่างๆ
š6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
การสอนแบบปฏิบัติ  โดย
- กำหนดให้นักศึกษาฝึกทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์จริงในภาคสนาม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 1 2 3 1 2
1 BSCAG306 อาหารสัตว์น้ำ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 4.1 บันทึกเข้าเรียนและการมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1, 2.2, 3.1, 5.1 ทดสอบ 9, 17 60%
3 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 4.2, 5.1, 5.2, 5.3 ปฏิบัติการทดลอง, การบันทึกผลการทดลอง, สมุด และรายงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 1.2, 1.3, 1.4, 3.1 4.1, 4.2, 4.4, 5.1 จิตพิสัย (พฤติกรรมในการเรียน, การทำงานกลุ่ม, สังเกตในสถานการณ์จริงจากผู้ร่วมงาน) ตลอดภาคการศึกษา 10%
วุฒิ หวังชัย. มปป. โภชนศาสตร์สัตว์น้ำ. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่. 226 น.
นิวุฒิ หวังชัย. 2547. อาหารปลา. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่. 188 น.
 เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
1.3 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน การตอบสนอง การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาทุกภาคการศึกษา เฉพาะในรายวิชาที่มีปัญหาให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียน
มีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ปรับปรุงสื่อการสอนให้ทันกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย