การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสำหรับการท่องเที่ยวและการบริการ

Cross Cultural Communication for Tourism and Hospitality

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีบุคลิกภาพและทักษะในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมให้สามารถปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ 1.2 เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นและของ ประเทศ 1.3 เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ มีใจรักงาน และสำนึกในจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย
2.1 ฝึกฝนและนำทฤษฎีการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมการไปใช้ในงาน และชีวิตประจำวัน 2.2 สามารถใช้ทักษะการคิด การบูรณาการไปใช้ในการพิจารณาเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรม 2.3 มีทักษะการใช้ภาษา และสามารถใช้ สื่อเทคโนโลยี นำเสนอผลงานได้อย่างน่าสนใจ
แนวคิดของการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและข้ามวัฒนธรรม ทฤษฎีของการสื่อสารและการสื่อสารแบบวัจนะและอวัจนะ กลวิธีสื่อสารในประเทศต่างวัฒนธรรม มิติที่แตกต่างด้านวัฒนธรรมและความคิดระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตก การสื่อสารทางธุรกิจ และมารยาทต่างวัฒนธรรม
3.1 วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องสาขา การท่องเที่ยว โทร.091-7044044 3.2 e-mail; rosegarden7305@gmail.com เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
 
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริตและสามารถจัดการปัญหาด้าน จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและ จริยธรรมในการปฏิบัติงาน 1.3 มีความรับผิดชอบในหน้าที่ 1.4 มีวินัยมีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบและ ข้อบังคับ
-บรรยาย อภิปราย -สนทนาและอภิปราย -วิเคราะห์ตนเอง -กิจกรรมนำเสนองานในชั้นเรียน - อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลาการแต่งกายเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
- ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในโอกาสที่โปรแกรมวิชา/คณะจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม                การมีสัมมาคาราวะต่อผู้อาวุโสและอาจารย์ - การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งรายงาน - ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศึกษาอื่น ๆ ในรายวิชา - นักศึกษาประเมินตนเอง
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ 2.3 มีความรู้ในกระบวนการและเทคนิคการวิจัย
- บรรยายและให้ทำแบบฝึกหัด - การอภิปรายกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ - ค้นคว้าด้วยตนเองและทำรายงาน
- ทดสอบกลางภาคและปลายภาค - ประเมินผลจากการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1 มีความสามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา รวมทั้งหาแนวทางป้องกันแก้ไขทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก 3.2 สามารถสาธิต ทักษะในการแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ให้ผู้อื่นเข้าใจ 3.3 มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติจริงตามสถานการณ์ 3.4 สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ
- บรรยายและให้ทำแบบฝึกหัด - การอภิปรายกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ - ค้นคว้าด้วยตนเองและทำรายงาน
- การสอบข้อเขียน - วิเคราะห์จากกรณีศึกษา รายงาน การนำเสนอ - การมีส่วนร่วมระหว่างการศึกษา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย 4.2 สามารถพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัย
- จัดกิจกรรมกลุ่มหรือสถานการณ์จำลอง แล้ววิเคราะห์หาสาเหตุ
- นักศึกษาประเมินผลตนเองและเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด เกี่ยวกับการช่วยเหลือและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในงาน - ประเมินผลจากการทำงานเสร็จตรงเวลามีความรับผิดชอบทั้งต่ออาจารย์ และเพื่อนในกลุ่มได้
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1 สามารถใช้ภาษาต่างประเทศใน การฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างมีสิทธิภาพ 5.2 สามารถสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้ 5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.4 สามารถใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติ
- เน้นการสอนที่ใช้ปัญหานำทฤษฏีตาม และการพัฒนาแนวคิดจากปัญหาเพื่อนำไปสู่การค้นพบ ข้อสรุปหรือทฤษฏีใหม่ - มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ หรือสื่อการสอน e-Learning และทำรายงาน โดย เน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ - นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี - การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย - การสอบ ด้วยข้อสอบ และการซักถาม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 BOATH102 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสำหรับการท่องเที่ยวและการบริการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2,1.3,1.4, 4.1, 4.2, 4.3 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-15 10%
2 4,5 การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์
3 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2 การทดสอบย่อย ทุกสัปดาห์ 40%
4 2.1, 2.2, 2.3,3 การสอบกลางภาค 8 20%
5 1,2,3,4,5 การนำเสนองาน/การรายงาน 15-16 10%
6 2.1, 2.2, 2.3,3 การสอบปลายภาค 17 20 %
Gudykunst, W.B. (2003). Cross-cultural and intercultural communication. Thousand Oaks, Calif: Sage Publications. เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประภาศรี สีหอาไพ. (2550). วัฒนธรรมการใช้ภาษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย.
คริสโตเฟอร์ ไรท์. Cross-Culture ฝรั่งไม่เข้าใจ คนไทยไม่เก็ท. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุคส์.
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนใน ข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการแกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิภาพผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ