การบัญชีชั้นต้น

Introduction to Accounting

1. เข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์ วิวัฒนาการของการบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน
2. เข้าใจหลักการ วิธีการบัญชี และรายงานทางการเงินสำหรับสำหรับธุรกิจประเภทกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า กิจการอุตสาหกรรม ตลอดจนเข้าใจวิธีการบันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของ และการบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. สามารถบันทึกบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับธุรกิจประเภทกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า กิจการอุตสาหกรรม ตลอดจนสามารถบันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของ และการบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. ตระหนักในความสำคัญของการบัญชี และจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี
เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เป็นปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาจะมีการทำรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ5) และนำข้อมูลในประเด็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงไปใช้ในภาคการศึกษาต่อไป ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงิน วงจรการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ ตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและกิจการซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี 1.2 สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 1.3 แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
- ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างในเรื่องการแต่งกาย การตรงเวลา
- การแจ้งนโยบายในการเรียนหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่อง

การแต่งกาย การตรงเวลา ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ สอนแทรกคุณธธรรม กฎกติกาการอยู่ร่วมในกันสังคม การทำงานกลุ่ม

- การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในชั่วโมงเรียน อันได้แก่คุณธรรมจติยธรรมทางวิชาชีพ คุณธรรมจริยธรรมประพฤติอันมีผลต่อสังคม
- การปลูกจิตสำนักขั้นพื้นฐานในการรักษาระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย และความมีส่วนร่วมในการพัฒนาคณะและมหาวิทยาลัย
ประเมินโดยการสังเกตการแต่งกายที่ถูกระเบียบ พฤติกรรมการมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ การแสดงออกในชั้นเรียน ความตรงเวลา การทุจริตในการสอบ การคัดลอกงานเพื่อน

ตรวจสอบการมีวินัยในการเรียน การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การส่งงานตรงเวลา
2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน   2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2.3 มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้   2.4 มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
- การบรรยายแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี และยกตัวอย่างประกอบ
- การตั้งคำถามที่ให้เกิดความคิด และแก้ปัญหา
- มอบหมายใบงานภาคปฎิบัติ และแบบฝึกหัด
- มอบหมายงานสืบค้นข้อมูล และติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านวิชาชีพบัญชี เช่น พรบ. การบัญชี และ พรบ.วิชาชีพบัญชีที่ประกาศใช้
- ประเมินโดยการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
- ประเมินคุณภาพผลงานที่มอบหมาย
- ประเมินคุณภาพใบงานภาคปฎิบัติและแบบฝึกหัดทั้งงานเดี่ยว และงานกลุ่ม
3.1 มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 3.2 มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม   3.3 มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก   3.4 มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
- นักศึกษาแสดงความคิดเห็นหรือตอบคำถาม
- นักศึกษาจัดทำงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากการตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
- ประเมินผลการสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
-แบบฝึกหัด
-ใบงาน
  4.1 มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 4.2 มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ   4.3 มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
- มอบหมายงานให้กับนักศึกษารับผิดชอบและส่งตามกำหนดเวลา
- แนะนำให้นักศึกษาใช้เวลาว่างในการพัฒนาตนเอง และการรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- แนะนำให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมตามที่ มหาวิทยาลัย คณะ สาขากำหนด
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน พฤติกรรมจากการทำงานทีม
- ประเมิน
และสรุปผล การปฎิบัติงานที่นักศึกษานำมาส่ง
- ประเมินคุณภาพงานมอบหมาย
  5.1 มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขั้นจากการตัดสินใจ   5.2 มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์
- แนะนำแหล่งข้อมูล และการมอบหมายงานสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มอบหมายงานที่ต้องการการนำเสนองานด้วยวิธีการฟัง พูด อ่าน เขียน
- การตั้งคำถามที่ให้เกิดความคิด และแก้ปัญหา
- ประเมินทักษะการใช้สื่อ
- ประเมินคุณภาพใบงานภาคปฎิบัติทั้งงานเดี่ยว และงานกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี 1.2 สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 1.3 แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2.3 มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ 2.4 มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี 3.1 มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 3.2 มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 3.3 มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก 3.4 มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา 4.1 มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 4.2 มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี 5.1 มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขั้นจากการตัดสินใจ 5.2 มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์
1 BACAC110 การบัญชีชั้นต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3/2.1/2.3/3.1/4.2/5.3 สอบย่อย ครั้งที่ 1 5 10
2 1.3/2.1/2.3/3.1/4.2/5.3 สอบกลาง ภาคเรียน 9 30
3 1.3/2.1/2.3/3.1/4.2/5.3 สอบย่อย ครั้งที่ 2 13 10
4 1.3/2.1/2.3/3.1/4.2/5.3 สอบย่อยครั้งที่ 3 15 10
5 1.3/2.1/2.3/3.1/4.2/5.3 สอบปลายภาคเรียน 18 30
6 1.1/1.2/1.3/2.1/2.3/3.1/3.2/4.2/5.3 ใบงานและแบบฝึกหัด 1-17 5
7 1.1/1.2/1.3/5.3 พฤติกรรมในชั้นเรียน การแต่งกายถูกระเบียบ การเข้าเรียนตรงเวลา การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ไม่กระทำทุจริตในการสอบ และไม่คัดลอกงานเพื่อน 1-17 5
เพราพิลาส ประสิทธิ์บุรีรักษ์. เอกสารประกอบการสอน วิชาการบัญชีขั้นต้น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 2563.

2. Principles of Financial Accounting (IFRS) By John Wild Winston Kwok Ken W.Shaw Barbara Chiappetta. Second Edition.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, และสมเดช โรจน์คุรีเสถียร. การบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล. 2552. ธารี หิรัญรัศมี, พลพธู ปียวรรณ วรศักดิ์ ทุมมานนท์, ภาวิณี มะโนวรรณ และวศธร ชุติภิญโญ. การบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด. 2559. ธารี หิรัญรัศมี, พลพธู ปียวรรณ วรศักดิ์ ทุมมานนท์, ภาวิณี มะโนวรรณ และวศธร ชุติภิญโญ. การบัญชีขั้นต้น ฉบับเสริมประสบการณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด. 2559. ศศิวิมล มีอำพล. หลักการบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัท อินโพไมนิ่ง จำกัด. 2558. สุกัลยา ปรีชา. หลักการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด. 2559. อัญชลี พิพัฒนเสริญ. การบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด. 2559. กฤติยา ยงวณิชย์. การบัญชีการเงิน IFRS. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล. 2556. วันชัย ประเสริฐศรี และคณะ. การบัญชีชั้นต้น 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส. 2549. ดวงสมร อรพินท์, กรชร เฉลิมกาญจนา, แพร กีระสุนทรพงษ์, ปริญดา มณีโรจน์ และสมพงษ์ พรอุปถัมภ์. การบัญชีการเงิน. พิมครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เว๊ปไซต์ ต่อไปนี้
www.fap.or.th
www.dbd.go.th
www.set.or.th