การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และส่วนประสานงานผู้ใช้

User Experience and User Interface Design

เพื่อให้นักศึกษา
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการออกแบบ UX และ UI การออกแบบฟีเจอร์ที่สาคัญสำหรับการใช้และฟีเจอร์ที่ทำให้ผู้ใช้พอใจ การสร้างแบบจำลองเพื่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับระบบที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ การสื่อความหมายด้วยสี การออกแบบด้วยการยศาสตร์ การส่งมอบและการวัดความพึงพอใจของผู้ใช้งานในการออกแบบ UX และ UIในธุรกิจ
2. มีความสามารถในการเก็บพฤติกรรมผู้ใช้เพื่อวิเคราะห์และออกแบบส่วนประสานงานผู้ใช้
มีการปรับปรุงเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อเน้นพัฒนาความรู้ความสามารถในการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และส่วนประสานงานผู้ใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้ในยุคดิจิทัล
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการออกแบบ UX และ UI การเก็บพฤติกรรมผู้ใช้เพื่อวิเคราะห์และออกแบบส่วนประสานงานผู้ใช้ การออกแบบฟีเจอร์ที่สำคัญสำหรับการใช้และฟีเจอร์ที่ทำให้ผู้ใช้พอใจ การสร้างแบบจำลองเพื่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับระบบที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ การสื่อความหมายด้วยสี ปฏิบัติการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ของส่วนประสานงานผู้ใช้ ภาษาสาหรับการแสดงผล ตัวอย่างการสื่อสารที่ผิดพลาดและการแก้ไข การออกแบบด้วยการยศาสตร์ การส่งมอบและการวัดความพึงพอใจของผู้ใช้งานในการออกแบบ UX และ UI ฝึกปฏิบัติการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และส่วนประสานงานผู้ใช้ในธุรกิจ
Study and practice fundamental knowledge about experience design and user interface; user behavior collection to analyze and design user interface, designing an essential feature for use and user satisfaction, modeling for optimal user-system interaction, design tools, color interface, a practice of designing various elements of the user interface, languages for display, examples of erroneous interface and corrections, ergonomic design, delivery and user satisfaction measurement of experience design and user interface , Practice designing user experience and user interfaces in business.
การให้คําปรึกษาและแนะนําทางช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ไม่จํากัดเวลา
(1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
(2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
(3) มีภาวะความเป็นผู้นาและผู้ตาม สามารถทางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลาดับความสาคัญ
(4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(5) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
(6) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม
(7) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
(1) จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะบาเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2) สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
(3) ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กาหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
(4) กาหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นากลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
(5) เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละและการทาประโยชน์ให้กับชุมชน
(6) ใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
(7) อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
(1) การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2) การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
(3) การส่งงานตามกาหนดระยะเวลาที่ มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
(4) การสังเกตพฤติกรรมในการทางานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนาเสนอผลงาน
(5) ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้าใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
(6) ปริมาณการกระทาการทุจริตในการสอบ
(7) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
(1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา
(2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
(3) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด
(4) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
(5) รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
(6) มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(7) มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
(8) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(1) จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ
(2) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(3) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
(4) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
(5) ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
(6) การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
(1) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน (ทฤษฎีและปฏิบัติ)
(2) รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
(3) ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง
(4) ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
(5) ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
(6) ประเมินจากการนำเสนอผลงาน(7) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงานการทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
(1) คิดอย่างมีวิจารณญานและอย่างเป็นระบบ
(2) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
(3) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
(4) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
(1) จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
(2) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา (งานที่ได้รับมอบหมาย)
(3) กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผน การทำงานเป็นทีม
(4) การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
(5) การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
(6) การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
(7) จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
(1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
(2) การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่างๆ
(3) การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
(4) ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
(5) การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
(6) ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
(7) ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
(8) ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
(1) สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทางาน
(3) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้แนะสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
(4) มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม
(5) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
(6) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
 
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
(3) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
(4) มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
(5) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคล อื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
(6) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
(1) การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
(2) พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
(3) พฤติกรรมและผลการประเมินการให้บริการวิชาการของนักศึกษา
(4) การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
(5) พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
(6) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
(7) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
(8) ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการสหกิจศึกษา
(1) มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทางานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
(2) สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือ การแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
(3) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
(4) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
(3) จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
(4) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
(5) ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
(6) มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
(2) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
(3) พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
(4) ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(5) ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา (1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต (2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม (3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสาคัญ (4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (5) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม (6) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม (7) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สาคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา (2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา (3) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด (4) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ (5) รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง (6) มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง (7) มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง (8) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (1) คิดอย่างมีวิจารณญานและอย่างเป็นระบบ (2) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ (4) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม (1) สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอานวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นา หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน (3) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้แนะสังคมในประเด็นที่เหมาะสม (4) มีความรับผิดชอบในการกระทาของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม (5) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม (6) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (1) มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จาเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทางานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ (2) สามารถแนะนาประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือ การแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ (3) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนาเสนอได้อย่างเหมาะสม (4) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
1 BBAIS920 การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และส่วนประสานงานผู้ใช้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 5.1 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค 9, 17 30%, 30%
2 1.4, 2.3, 3.3, 4.2 (1) การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน (2) ผลการฝึกปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง (3) การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง (4) พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 35%
3 1.2 การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 5%
วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ, ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ (HUMAN COMPUTER INTERACTION (HCI), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, ISBN : 9789740335160, 2559, 310 หน้า.
นิรันดร์ ประวิทย์ธนา และ ชาลี พงษ์สง่างาน, Don't Make Me Think Revisited แค่ต้องคิดก็ผิดแล้ว ออกแบบเว็บไซต์ให้เข้าใจง่ายง่าย และไม่ต้องใช้สมอง (กลับมาอีกครั้ง), แมกซินคิวบ์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพมหานคร, ISBN : 9786169178514, 2558, 208 หน้า.
James Cabrera, Modular Design Frameworks: A Projects-based Guide for UI/UX Designers, Holbrook, New York, USA, ISBN : 978-1-4842-1687-3, 2017, 95.
Fabio Staiano, Designing and Prototyping Interfaces with Figma, Packt Publishing, UK, ISBN : 978-1-80056-418-3, 2022, 382.
เอกสารประกอบการสอนวิชาการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และส่วนประสานงานผู้ใช้
นักศึกษาประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ตามกรอบการประเมินการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ สมศ. ผ่านระบบการประเมินออนไลน์ของมหาวิทยาลัย เมื่อสิ้นสุดการเรียนรายวิชา สัปดาห์สุดท้ายของการเรียน
การประเมินการสอนเป็นไปตามระบบของมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรรับผิดชอบการนำผลประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา และการประเมินตนเองของอาจารย์ มาพิจารณาและให้ข้อมูลแก่อาจารย์ผู้สอน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา
กลไกการปรับปรุงการสอน กำกับดูแลโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ซึ่งมีหน้าที่ในการนำผลการประเมินการสอนโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาพิจารณา สรุปข้อมูลให้อาจารย์ผู้สอนรับทราบ และนำผลไปพิจารณาในการปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อๆไป
กลไกการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยและคณะมีการจัดการอบรมพัฒนาอาจารย์ด้านการสอน เช่นการจัดเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม การสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และการวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น ซึ่งอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองและนำความรู้มาปรับปรุงการสอนได้ตลอดเวลา
การทบทวนผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน โดยเทียบเคียงกับเกณฑ์หรือมาตรฐานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่กำหนดสำหรับรายวิชา
การพิจารณาระดับคะแนนที่อาจารย์ทำการประเมินผลและตัดเกรด ให้เป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานขงมหาวิทยาลัย ดำเนินการในระดับคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการประจำคณะ
การให้โอกาสนักศึกษาในการตรวจสอบระดับคะแนน หากเห็นว่าผลการประเมินอาจมีความผิดพลาด รวมไปถึงการให้นักศึกษาสามารถอุทธรณ์ผลการเรียนหากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีข้อผิดพลาดในการประเมิน
การนำผลการประเมินการสอนรายวิชา มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงในรายวิชา โดยอาจมีการปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสม การปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้ในการสอนแต่ละหัวข้อ การปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอน และการปรับปรุงเกณฑ์และวิธีการประเมนผลการเรียนของนักศึกษา ทุกรอบระยะเวลาเมื่อสิ้นสุดการสอนรายวิชาในแต่ละภาคการศึกษา