แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงิน

Accounting Concepts and Financial Reporting

1.1 เพื่อให้รู้แนวคิดและข้อสมมติฐานทางการบัญชี รวมถึงจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
1.2 เพื่อให้รู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง
1.3 เพื่อให้รู้ถึงแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด
1.4 เพื่อให้สามารถรู้เข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการเงินระหว่างกาล ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
1.5 เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการแปลความหมายของรายงานการเงินที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เช่น รายงานความยั่งยืน และรายงานแบบบูรณาการ เป็นต้น
1.6 เพื่อให้รู้เกี่ยวกับการบัญชีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวีนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก รวมถึงผลประโยชน์พนักงาน
2.1 เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการเข้าใจแนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงินของธุรกิจ
 2.2 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทางการบัญชีและฝึกทักษะการแปลผล และการตีความ การรายงานทางการเงิน
ศึกษาแนวคิดและข้อสมมติทางการบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีเกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด การจัดทำรายงานการเงินระหว่างกาล การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน การแปลความหมายของรายงานการเงินที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เช่น รายงานความยั่งยืน และรายงานแบบบูรณาการ เป็นต้น ตลอดจนการบัญชีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวีนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก และผลประโยชน์พนักงาน
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเป็นรายกลุ่ม โดยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1)  มีความรับผิดชอบเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ทัศนคติ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
2)  มีวินัย  ซื่อสัตย์สุจริต  ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
3)  สามารถทำงานที่มอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว และปฏิบัติตามข้อตกลงการเรียนได้
1) กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการเข้าเรียน การแต่งกาย การส่งงานหรือแบบฝึกหัดตามเวลาที่กำหนด
2) บรรยายสอดแทรกในเนื้อหาวิชา ในระหว่างทำการสอน เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
1)  ติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ตลอดภาคการศึกษา ให้คะแนน 10%
2)  สังเกตพฤติกรรมในการเข้าเรียน การส่งแบบฝึกหัด หรืองานที่มอบหมาย
3)  ประเมินจากการทุจริตในการสอบ
4)  ประเมินจากส่งงานหรือแบบฝึกหัดทันตามเวลาที่กำหนด
1) แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และแนวคิดทางการบัญชีรวมถึงการรายงานทางการเงินของธุรกิจ
2)  จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
3)  การประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินในประเด็นหรือเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง
4)  การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
1)  การบรรยาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากรายงานการเงินของธุรกิจซึ่งเปิดเผยในเวปไซด์ ถาม-ตอบ ในชั้นเรียน
2)  มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากงบการเงินของธุรกิจจริง เพื่อใช้ประกอบการเรียนและทำแบบฝึกหัด
3)  ให้นักศึกษาวิเคราะห์จากโจทย์ปัญหา ตัวอย่างงบการเงินจริง โดยถาม - ตอบในห้องเรียน
1)  สอบกลางภาค
2)  สอบปลายภาค
3)  งานที่มอบหมาย  
4)  ความถูกต้องของการระบุถึงแนวคิดทางการบัญชีและการวิเคราะห์รายงานทางการเงินจากกรณีศึกษา
         1)  สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินของธุรกิจจากเวปไซด์ อ่านและอธิบายฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน กระแสเงินสดของกิจการในภาพรวมและสามารถสรุปผลได้
2)  สามารถประยุกต์ และบูรณาการความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น เศรษฐศาสตร์ การเงิน การตลาด ให้เข้ากับการวิเคราะห์รายงานการเงินได้
3)  สามารถติดตาม ประเมินผล  และสรุปผลรายงานผลการวิเคราะห์รายงานการเงินได้
1)  บรรยาย ยกตัวอย่าง ถาม – ตอบในชั้นเรียน
2)  ฝึกการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
3)  ให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า แนวคิดทางการบัญชีและข้อสมมติฐานทางการบัญชี ตลอดจนแนวคิดเกี่ยวกับการรายงานทางการเงินของธุรกิจที่นักศึกษามีความสนใจ หรือ กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย และ นำเสนอในชั้นเรียน 
1)  สอบกลางภาค
2)  สอบปลายภาค
3)  การตอบปัญหาในชั้นเรียน การแก้ปัญหาโจทย์แบบฝึกหัดและปัญหาต่างๆ
4)  คุณภาพของ กรณีศึกษา การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การตอบปัญหาในชั้นเรียน
1)  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2)  สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มได้
3)  มีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
1)  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2)  สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มได้
3)  มีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
1)  ประเมินผลจากแบบทดสอบหลังเรียนและหรือกรณีศึกษาที่มอบหมาย
2)  ประเมินผลจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
3)  นักศึกษาในกลุ่มประเมินผลและให้คะแนนระหว่างกลุ่มและแสดงผลการประเมิน 
1)  สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทางการบัญชีและรายงานทางการเงิน เพื่ออธิบายแนวคิดทางการบัญชีที่ปรากฎในรายงานทางการเงินได้
2)  สามารถอธิบายถึงแนวคิดทางการบัญชี และแนวคิดเกี่ยวกับการรายงานทางการเงินได้อย่างเหมาะสม
3)  สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และ สื่อสารสารสนเทศ ได้
1)  สืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับแนวคิดทางการบัญชี การรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงบการเงินของธุรกิจที่นักศึกษามีความสนใจจากเวปไซด์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ในชั้นเรียน
2)  จัดทำสื่อประกอบประกอบการรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3)  มอบหมายกรณีศึกษาให้วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์จากกรณีศึกษาในห้องเรียน
1)  การนำเสนอรายงานกลุ่มที่ได้จากการสืบค้นข้อมูล
2)  ประเมินผลจากสื่อและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3)  การวิเคราะห์  การแก้ปัญหา จากกรณีศึกษา  ที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC131 แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,3,4 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 8 17 30 % 30 %
2 5,6,7,8,9 รายงานกลุ่ม การนำเสนองาน การวิเคราะห์ปัญหาหน้าชั้นเรียน และ ในขณะเรียน 15 16 20 %
3 1,2,3,5,6 แบบทดสอบ และกรณีศึกษาหลังเรียน รายบุคคล รวม 5 สัปดาห์ ทุกสัปดาห์ 10%
4 1,2,3,8,9 สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถามในห้องเรียน ผลงานกลุ่มและการทำกรณีศึกษาเป็นกลุ่ม รวม 8 สัปดาห์ ทุกสัปดาห์ 10 %
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2559). มาตรฐานการบัญชี. สมศักดิ์ ประถมศรีเมฆ (2558). การรายงานทางการเงิน ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทยฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2558. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุชจรี พิเชฐกุล. (2561). รายงานการเงินและการวิเคราะห์. สาขาวิชาการบัญชีและการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  การวิเคราะห์งบการเงิน. พิมพ์ครั้งที่  5. ฉบับปรับปรุง. 2551. สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์.  แม่บทการบัญชี และมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน e-book John J. Wild K.R. Subramanyam Robert F. Halsey Financial Statement Analysis. Mc Graw Hill, 9th edition  International edition, 2007. รุ่งนภา  สันติธรรมา. (2560), รายงานทางการเงิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. ทีพีเอ็นเพลส. สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557), มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 เรื่องการนำเสนองบ การเงิน  สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2 เรื่องสินค้าคงเหลือ  ราชกิจจานุเบกษา. (2554), ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกำหนด รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้  เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs) วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2557). มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการ NPAs:ความเป็นมา การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากข้อกำหนดเดิมและแนวทางปฏิบัติทางบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ ชวนพิมพ์ 50. สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, TFRS for SMEs มีประโยชน์อย่างไร  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2555   สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลการ ดำเนินงาน กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง, ประมวลรัษฎากร มาตรา 69 สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2562). มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2562) เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน
-  www.fap.or.th
-  www.sec.or.th
          ใช้แบบประเมินผลอาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
ประเมินการสอนจากผลการสอบของนักศึกษา การทดสอบหลังเรียน และจากการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาจากกรณีศึกษาประจำสัปดาห์
- ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษา
- ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา  การทำกรณีศึกษา
- ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
- ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
นำผลการประเมินข้อ 1 ข้อ 3 ข้อ 4 มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา เรื่อง ผู้สอน ตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนเพื่อปรับปรุงเนื้อหา และการออกข้อสอบ