แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงิน

Accounting Concepts and Financial Reporting

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทางการบัญชี และรายงานทางการเงินประเภทต่าง ๆ
   และสามารถแปลความหมายของรายงานทางการเงินที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินได้
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
4. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการทางบัญชี เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการบัญชี การจัดทำงบการเงินระหว่างกาล และมาตรฐานการรายงานทางการเงินเรื่องใหม่ ที่มีการประกาศใช้ในปัจจุบัน
5. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
                  แนวคิดและข้อสมมติทางการบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด การจัดทำรายงานการเงินระหว่างกาล การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน การแปลความหมายของรายงานการเงินที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เช่น รายงานความยั่งยืน และรายการแบบบูรณาการ เป็นต้น ตลอดจนการบัญชีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก และผลประโยชน์พนักงาน
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม
1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
2. ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
4. การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1. ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนดและความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2. ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1. ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ประกอบด้วย การบรรยายและอภิปราย การสาธิต การใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2. การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน
4. การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์กรการธุรกิจหรืออุสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
1. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานและการค้นคว้า และการนำเสนอ
2. การประเมินจากการสอบข้อเขียน และ การสอบปฏิบัติ
3. การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือ การฝึกงานในองค์กรธุรกิจ
4. การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูลและแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจการแก้ปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1. ฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
2. เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3. ให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1. ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3. ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1. มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2. มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3. ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ
1. ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2. ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
3. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหา และกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
1. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
2. มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
4. มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียน ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1. ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์
2. ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3. ประเมินจากการสอบข้อเขียน
4. ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BACAC131 แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2 1. ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 2. ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 3. ประเมินจากความรับผิดชอบในการส่งการบ้าน ตลอดภาคการศึกษา 5 %
2 2.1, 3.1,3.2,4.1 1. ประเมินจากงานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย 2. ประเมินจากการสอบข้อเขียน และ การสอบปฏิบัติ โดยแบบทดสอบ จะมีทั้งส่วนทฤษฏี โจทย์ปัญหาสั้น ๆ และกรณีศึกษา จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะวัดระดับการเรียนรู้ (Cognitive Domain) ด้านความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ และการวิเคราะห์ ตลอดภาคการศึกษา ทดสอบในบทเรียน สอบกลางภาค สอบปลายภาค 60 %
3 4.1 1. ประเมินจาก รายงานและการค้นคว้า 2. ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 3. สังเกตการพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในชั้นเรียน สัปดาห์ที่ จัดการเรียนการสอน 35 %
1.เอกสารประกอบการสอน โดย อาจารย์สวัสดิ์ หากิน
2.การรายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวรักษ์ สุขวิบูลย์.
3. มาตรฐานการรายงานการเงินที่เกี่ยวข้อง
4. Intermediate AccountingBy Keiso&Weygandt.
1. หนังสือการบัญชีขั้นกลาง โดย  รองศาสตราจารย์ดุษฏี สงวนชาติ และคณะ  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. หนังสือการบัญชีสินทรัพย์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวรักษ์ สุขวิบูลย์
3. รายงานประจำปีของ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์
1. เวปไซด์ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th
2. เวปไซด์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th
ใช้แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัย
นำผลคะแนนของนักศึกษา และ ผลการประเมินผลการสอนของอาจารย์จากนักศึกษา ประชุมร่วมกันระหว่างผู้สอน คณะกรรมการหลักสูตร เพื่อประเมินผลการสอนในภาพรวม
            วิเคราะห์ข้อมูลจาก สรุปผลจากรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ.5) และแบบประเมินผลการสอนของนักศึกษา โดยผู้สอนจะนำเอาข้อมูลทั้ง 2 ประเด็นทบทวนและปรับปรุงแนวทางการสอนเพื่อให้บรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และวัตถุประสงค์ของรายวิชา
            การทวนสอบในระดับรายวิชา จะประเมินผลการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ พิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างคะแนน ความตรงประเด็นของการออกข้อสอบกับผลการเรียนรู้ของรายวิชา การวัดผลและการให้คะแนน แนวโน้มของระดับคะแนนของนักศึกษา
             การประเมินผลจะดำเนินการโดยคณะกรรมการทวนสอบของสาขาวิชา จากผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกับคณาจารย์ภายในสาขาที่ได้รับการแต่งตั้ง อย่างน้อย 25% ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปี
นำผลการประเมินจากข้อ 1 ข้อ 3 และ ข้อ 4 มาพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา