การบัญชีชั้นกลาง 1

Intermediate Accounting 1

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการทางบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับ“สินทรัพย์”
2. เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์รายการ การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ ตามหลักทางบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบัน
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำหลักการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการบัญชีสินทรัพย์ได้
4. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาหลักการและวิธีการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ การจำแนกประเภทสินทรัพย์ การรับรู้ การวัดมูลค่าสินทรัพย์ การด้อยค่าของสินทรัพย์ ตลอดจนการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วย เงินสด การจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร ระบบใบสำคัญ ลูกหนี้และตั๋วเงินรับรวมทั้งการจัดหาเงินโดยใช้บัญชีลูกหนี้และตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ ต้นทุนการกู้ยืม การจัดแบ่งส่วนสินทรัพย์เป็นต้นทุนและค่าใช้จ่าย ทรัพยากรธรรมชาติและสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1. มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
2. สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
3. แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในเนื้อหาวิชาเรียน
2. ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
4. การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา

 
1. ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2.ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1. มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
2. มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
3. มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
4. มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
 1. ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การยกตัวอย่าง การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
3. การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
4. การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนำเสนอ
2. การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
3. การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ
4. การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
5. การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จาการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเรียนรายงานถอดประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆ
1. มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วย วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
2. มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
3. มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
4. มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
2. จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3. สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
4. การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1. ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3. ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4. การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จาการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเรียนรายงานถอดประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆ
1. มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
1. มอบหมายงานให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เช่น การทำโครงงาน การแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษา การค้นคว้าอิสระ การทำวิจัย การจัดนิทรรศการ เป็นต้น โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกทีม และผลัดกันเป็นผู้นำเสนอ
2. มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3. ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ
4. การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1. ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2. ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
3. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
4. การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จาการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเรียนรายงานถอดประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆ
1. มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
2. มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ
3. มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
1. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
2. มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอ ในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
4. การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1. ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์
2. ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3. ประเมินจากการสอบข้อเขียน
4. ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จาการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเรียนรายงานถอดประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 3.4 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2 5.3
1 BACAC120 การบัญชีชั้นกลาง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 , 4.2 1. ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรร 2. ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 3. ประเมินจากความรับผิดชอบในการทำงานในห้องเรียน และการส่งการบ้าน ตลอดภาคการศึกษา 5 %
2 2.1, 3.1 1. ประเมินจากการทดสอบย่อย 3 ครั้ง 1.1 เรื่องเงินสด และ ลูกหนี้ 1.2 เรื่องเงินลงทุน 1.3 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนและการด้อยค่า 2. ประเมินจากการสอบข้อเขียน โดยแบบทดสอบ จะมีทั้งส่วนทฤษฏี โจทย์ปัญหาสั้น ๆ และกรณีศึกษา จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะวัดระดับการเรียนรู้ (Cognitive Domain) ด้านความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ และการวิเคราะห์ ตลอดภาคการศึกษา ทดสอบในบทเรียน สอบกลางภาค สอบปลายภาค 30% 30% 35%
เอกสารประกอบการสอน การบัญชีชั้นกลาง 1 เรียบเรียงโดย อ.สวัสดิ์ หากิน
 
หนังสือการบัญชีขั้นกลาง โดย  รองศาสตราจารย์ดุษฏี สงวนชาติ และคณะ  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนังสือการบัญชีสินทรัพย์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวรักษ์ สุขวิบูลย์.
หนังสือการบัญชีชั้นกลาง 1 โดย อาจารย์นภวรรณ  ธรมธัช
หนังสือ Intermediate AccountingBy Keiso&Weygandt
มาตรฐานการรายงานการเงินที่เกี่ยวข้อง
เวปไซด์ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th
เวปไซด์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th
 ใช้แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัย
 ใช้แบบประเมินตนเองของนักศึกษา เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์จากการเรียนในรายวิชา
นำผลคะแนนของนักศึกษา และ ผลการประเมินผลการสอนของอาจารย์จากนักศึกษา ประชุมร่วมกันระหว่างผู้สอน คณะกรรมการหลักสูตร เพื่อประเมินผลการสอนในภาพรวม
       วิเคราะห์ข้อมูลจาก สรุปผลจากรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ.5) และแบบประเมินผลการสอนของนักศึกษา โดยผู้สอนจะนำเอาข้อมูลทั้ง 2 ประเด็นทบทวนและปรับปรุงแนวทางการสอนเพื่อให้บรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และวัตถุประสงค์ของรายวิชา
  การทวนสอบในระดับรายวิชา จะประเมินผลการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ พิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างคะแนน ความตรงประเด็นของการออกข้อสอบกับผลการเรียนรู้ของรายวิชา การวัดผลและการให้คะแนน แนวโน้มของระดับคะแนนของนักศึกษา
การประเมินผลจะดำเนินการโดยคณะกรรมการทวนสอบของสาขาวิชา จากผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกับคณาจารย์ภายในสาขาที่ได้รับการแต่งตั้ง อย่างน้อย 25% ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปี
นำผลการประเมินจากข้อ 1 ข้อ 3 และ ข้อ 4 มาพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา