การจัดการความสูญเปล่าในระบบโลจิสติกส์

Lean Logistics

1. เพื่อศึกษาการจัดการการผลิตในระบบโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มศักยภาพกระบวนการทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2. เพื่อศึกษาการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า
3. เพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าในตัวสินค้าและบริการ กำจัดและลดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกจากระบบหรือลดของเสียที่เกิดขึ้น
4. เพื่อศึกษาคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ตลอดโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำจนถึงผู้บริโภคและรวมถึงการนำซากกับมาใช้ใหม่
** ไม่มี  เนื่องจากเป็นหลักสูตรใหม่ ที่เปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2560
ศึกษาการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า สร้างมูลค่าในตัวสินค้าและบริการ กำจัดและลดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกจากระบบหรือลดของเสียที่เกิดขึ้น โดยมีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ตลอดโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำจนถึงผู้บริโภคและรวมถึงการนำซากกับมาใช้ใหม่
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์                 (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1  มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.1.2  แสดงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ
1.1.3  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
1.1.4  เคารพในระเบียบและกฎเกณฑ์ขององค์กรและสังคม
1.2.1  ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.2  เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และแสดงถึงการมี เมตตา กรุณา และความเสียสละ
1.2.3  เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนเองที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.3.1   การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
1.3.2   สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3.3   นักศึกษาประเมินการแต่งกายของเพื่อนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
2.1.1  เข้าใจ และวิเคราะห์หลักการและทฤษฎีพื้นฐานด้านโลจิสติกส์
2.1.2  สามารถนำไปประยุกต์ในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ได้
2.1.3  เข้าใจ และวิเคราะห์หลักการของศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ เช่น หลักเศรษฐศาสตร์ หลักกฎหมาย หลักการจัดการ เป็นต้น และสามารถนำมาประยุกต์หรือเป็นพื้นฐานของโลจิสติกส์
2.2.1  ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.2  จัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.3  ฝึกการแก้ปัญหาจากการสร้างสถานการณ์จำลอง
2.2.4  จัดศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมการเรียนรู้
2.3.1   ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการประเมินจากผลงาน
2.3.2   การสอบย่อย
3.1.1 มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง
3.1.2 สามารถแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์ได้โดยนำหลักการต่างๆมาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
3.1.3 มีความใฝ่หาความรู้
3.2.1   ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา ( Problem Based Instruction )
3.2.2   ให้นักศึกษาคิดและวิเคราะห์จากสถานการณ์จริง
3.2.3   มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
3.3.1   ประเมินจากการรายงานผลการดำเนินงานและแก้ปัญหา
3.3.2   ประเมินผลการคิดจำลองสถานการณ์จริง
3.3.3   ประเมินจากผลงานที่มอบหมายแก่นักศึกษา
4.1.1  สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.1.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.3  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.1.4  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.1.5  มีภาวะผู้นำ
4.2.1  ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.2.2  ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.3.1  ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
4.3.2  ประเมินพฤติกรรมภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.3  ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
5.1.1 มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน
5.1.3  มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ
5.1.4 ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
5.2.1  ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5.2.2  มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้น
5.2.3  การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับหมอบหมาย
5.3.1  สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
5.3.2  ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
6.6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6.2.1 สร้างเจตคติที่ดีต่อการในการใช้เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ
6.2.2   ฝึกนักศึกษาให้มีกิจนิสัยที่ดีในการทำงานกลุ่มโดยยึดแนวทางของการควบคุมคุณภาพ
6.3.1  สังเกตพฤติกรรมการทำงานและจดบันทึก
6.3.2 สร้างแบบประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน
6.3.3  พิจารณาผลการรวมทั้งงานที่มอบหมายจากอาจารย์ผู้สอน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1,3.2, 3.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 6.1, 6.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 30% 30%
2 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1,3.2, 3.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 6.1, 6.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1,3.2, 3.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 6.1, 6.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
วิทยา สุหฤดำรง และยุพา กลอนกลาง. Lean Logistics (ลอจิสติกส์แบบลีน)
วิทยา สุหฤดำรง และยุพา กลอนกลาง. Lean Thinking (แนวคิดแบบลีน)
วิทยา สุหฤดำรง ยุพา กลอนกลางและสุนทร ศรีลังกา. มุ่งสู่ลีน ด้วยการจัดการสายธารคุณค่า
สุรธันย์ ปาละพรพิสุทธิ์ LEAN 4.0 Manufacturing
สิทธิพงศ์  จึงถาวรรณ LEAN ลดต้นทุนธุรกิจ งานเสร็จไว ทำกำไรพุ่ง
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
      4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
      4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
      5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
            5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ