ภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

English for Tourism Industries

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน และการฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับ  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ออกแบบและจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพ ในงานด้านธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเน้นการเรียนการสอนด้วยภาคทฤษฎีและปฏิบัติ อีกทั้งเพื่อสร้างเสริมสติปัญญาในเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจารณ์ได้อย่างเป็นระบบโดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้คำศัพท์ สำนวน และการฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับ  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ออกแบบและจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม  รู้จักมารยาทและกาลเทศะ
1.2.1    มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าเนื้อหาด้วยตนเองเพื่อต่อยอดความรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ
1.2.2    กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน รู้จักมารยาทและกาลเทศะ
1.2.3    มีกิจกรรมในห้องเรียนโดยเน้นการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและรู้จักการทำงานเป็นทีม
1.3.1    การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.2    การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3    การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจ
          2.1.1    ด้านทฤษฎี เข้าใจลักษณะของภาษาที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
          2.1.2    ด้านปฏิบัติ สามารถใช้ภาษาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
 
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
          2.2.1    ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
          2.2.2    ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
          2.2.3    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.1    การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
          2.3.2    การฝึกปฏิบัติทั้งในและนอกชั้นเรียน
          2.3.3    ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว พร้อมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากลอย่างเหมาะสม
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
          3.2.1    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
          3.2.3    ให้นักศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของภาษาที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และนำไปใช้กับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
3.3.1    การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
          3.3.2    การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
          3.3.3    การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มี
          4.1.1    มนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดีทั้งระหว่างบุคคลในวัฒนธรรมเดียวกันและต่างวัฒนธรรม
          4.1.2    ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
 
4.2.1    สอดแทรกเนื้อหาในรายวิชาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมและมารยาทสากลในการสื่อสาร
4.2.2    ฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในสถานการณ์สมมติในบริบทต่าง ๆ
4.3.1    สังเกตพฤติกรรมในระหว่างการฝึกปฏิบัติ/การทำกิจกรรม
4.3.2    การทดสอบการเลือกใช้ภาษาในสถานการณ์ที่กำหนดได้อย่างเหมาะสม
 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร รวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
5.3.1    การทดสอบความรู้ในการสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2    ผลการฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน
นักศึกษามีความรู้ทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ใช้สำหรับการท่องเที่ยว
มีการเพิ่มพูนคำศัพท์ สำนวน ทั้งการพูดและการเขียน ภาษาสุภาพ คำขอร้อง ระดับภาษาที่แตกต่าง และใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม
จากผลงานของนักศึกษา และวิธีการนำเสนอของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-5 สอบกลางภาค 8 25%
2 หน่วยที่ 6-10 สอบปลายภาค 17 25%
3 หน่วยที่ 1-10 ทดสอบย่อย / แบบฝึกหัด / กิจกรรม / งานมอบหมาย การทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 40%
4 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
- Power Point 
- Youtube
เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
1. ศิริลักษณ์ ลิ้มภักดี. 2542. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง จำกัด.
2.    เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
          5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์