การภาษีอากร 1

Taxation 1

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีประเมินและการจัดเก็บภาษีอากรต่าง ๆ ตามประมวลรัษฎากร และภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถคำนวณภาษีอากรได้อย่างถูกต้องรวมทั้งนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
1) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรอื่นที่เกี่ยวข้อง
2) เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางภาษีอากรในวิชาชีพได้
3) เพื่อให้นักศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาความรู้ทางภาษีอากรได้
4) เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรได้
5) เพื่อให้นักศึกษามีจิตสำนึก ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
ศึกษาหลักการ วิธีการ และความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี แหล่งรายรับของรัฐบาล ความแตกต่างของรายรับอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากการภาษีอากร นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากร ปัญหาภาษีอากรที่เกิดขึ้นภายในประเทศ วิธีการจัดเก็บตามประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ หลักและวิธีการจัดเก็บภาษีอากร ศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีเฉพาะอย่างอื่นๆ ซึ่งรัฐอาจกำหนดขึ้นตามความจำเป็นและสภาวเศรษฐกิจ
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 7 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ สามารถติดต่อได้ทางโทรศัพท์ ทางกลุ่มไลน์ และทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลา
พัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึก มีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากรโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม

ตะหนักในคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริตเสียสละ มีวินัยตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะเป็นผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีม สามารถขจัดข้อขัดแย้ง เคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ให้เกรียติยกย่องศักดิ์สรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบต่างๆขององค์กร มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
- กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบ เน้นให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ กฏกติกาการปฏิบัติตัวทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
- อภิปรายกลุ่ม และสอดแทรกจริยธรรม คุณธรรมในการประกอบวิชาชีพ
- ให้ทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิดภาวะผู้นำ ความร่วมมือ การซื่อสัตย์สุจริต
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด
- ประเมินผลจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การทุจริตในห้องสอบประเมินผลจากแบบฝึกหัดรายงานที่มอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้ด้านการบัญชีการเงิน การรายงานและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้านองค์กรและธุรกิจ ความรู้และความสามารถในเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นผลการเรียนรู้จึงครอบคลุมความรู้ต่อไปนี้
2.2.1. สามารถอธิบายแนวคิด ทฤษฎีหลักการและวิธีการทางการบัญชี
2.2.2. สามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีได้อย่างเหมาะสม
2.2.3. สามารถนำเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ มาประยุกต์ใช้โดยวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.2.4. สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีการบัญชีมาตรฐานการบัญชีและการประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดทำนำเสนอรายงานทางการเงิน
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือแบบฝึกหัด
พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางภาษีอากรตลอดจนรายงานผลที่เกี่ยวกับภาษีอากรได้อย่างถูกต้องครบถ้วน วิเคราะห์ ตีความในข้อกฎหมายประมวลรัษฏากร สรุปประเด็นปัญหาที่ต้องการ การประยุกต์ใช้
 
 
มอบหมายวิเคราะห์กรณีศึกษาและนำเสนอผลการศึกษา อภิปรายผลจากการศึกษา
ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย

ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค โดยเน้นวิเคราะห์กรณีศึกษา
ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และสามารถทำงานเป็นกลุ่มระหว่างผู้เรียน ตลอดจนการเป็นผู้นำและผู้ตามของการทำงานเป็นทีม
จัดกลุ่มกิจกรรมโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ร่วมกันวิเคราะห์กรณีศึกษาและนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมายเป็นทีม
ให้นักศึกษาประเมินตนเองและสมาชิกภายในกลุ่ม สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินจากผลงานการร่วมทำงานเป็นทีม

 
ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะในการวิเคราะห์เชิงปริมาณในการคำนวณภาษีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรได้
มอบหมายกรณีศึกษาและแบบฝึกหัดโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานการเลือกใช้เครื่องมือในการสื่อสารให้กับบุคคลอื่นทราบและเข้าใจ
ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่ผู้เรียนต้องใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่ผู้เรียนต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเมินผลจากการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ

 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC124 การภาษีอากร 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9 18 40% 30%
2 1,2,3,4,5 กรณีศึกษา ทุกสัปดาห์ 10%
3 2,3,4,5 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน ตามความเหมาะสม 10%
4 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 10%
หนังสือ “หนังสือภาษีอากร” ของ ศ.ดร. สุเมธ ศิริคุณโชติ พร้อมคณะ หนังสือบรรณานุกรมท้ายเล่ม
ประมวลรัษฎากร กฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง เอกสารที่ผู้สอนเพิ่มเติม
สรรพกรสาสน์ เว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษาแต่ละคน
- การสังเกตจากพฤติกรรมผู้เรียน
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักศึกษาแต่ละคน
- การประเมินของผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
- การสื่อสารระหว่างนักศึกษากับอาจารย์สอน
- ผลการสอบและผลงานนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
- แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินเพื่อสังเกตการณ์การสอน
- ทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- จัดสัมมนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษีอากร 1
- การวิจัยภายนอกและภายในชั้นเรียน
- ตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
- การสอบทานคะแนนจากคณะกรรมการตรวจสอบผลการเรียน
- ปรับปรุงรายวิชาภาษีอากร 1 ทุกภาคการศึกษาที่มีการเรียนการสอน
- นำผลงานวิจัยทั้งในและนอกห้องเรียนมาปรับปรุงตามคำแนะนำ