ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

English Grammar for Communication

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น การสร้างประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และการเลือกใช้คำศัพท์อย่างเหมาะสมเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมาย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้เพิ่ม กิจกรรมให้มีการฝึกปฏิบัติในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ การสร้างประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
   1.1.1 มีทัศนคติที่ดี เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์
   1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
   1.1.3 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
   (1) สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
   (2) ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ
   (3) ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อเรียนรู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   (1) สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
   (2) บันทึกและติดตามการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
   2.1.2 วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำ วลี และประโยคได้
   2.1.3 เปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษในวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
   2.1.5 สรุปใจความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังและอ่านได้ถูกต้อง
   (1) จัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม ควบคู่กับการบรรยายและยกตัวอย่างประกอบ
   (2) ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ประยุกต์นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องได้ 
   (3) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า หาความรู้ และการเรียนรู้ออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ
 
   (1) การสอบกลางภาค
   (2) การสอบปลายภาค
   (3) การทดสอบย่อย 
   (4) งานมอบหมาย
   (5) การสังเกตจากการแสดงความคิดเห็นและร่วมกิจกรรม
   3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมสากล
   จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาตามแนว Constructivism (การสร้างความรู้ด้วยตนเอง) บรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ภาษา ทำแบบฝึกหัดตามเนื้อหาการบรรยาย
   (1) ประเมินตามสภาพจริงผลการปฏิบัติของนักศึกษา
   (2) ประเมินและติดตามกระบวนการปฏิบัติงาน
   (3)  การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน
   4.1.3 ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมข้ามวัฒนธรรม
   (1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชา
   (2) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มในรายวิชา มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Collabolative learning)
   (3) ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทั้งภายในมหาวิทยาลัยและบริการชุมชน เพื่อเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม ทักษะสัมพันธ์ ภาวะผู้นำ ให้เกียรติ ตระหนักถึงหน้าที่และสิทธิของมนุษย์
   (1) การสังเกตพฤติกรรมและบทบาทของนักศึกษาในกระบวนการกลุ่ม
   (2) การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อน
   5.1.3 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม
   5.1.4 ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามกาลเทศะของบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติและวัฒนธรรมนานาชาติ
   (1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูล
   (2) มอบหมายงานให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ศึกษา และการทำแบบฝึกหัดออนไลน์
   (3) แนะนำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และนอกห้องเรียนเพื่อเสริมทักษะภาษา ตัวเลข และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามความสนใจและความต้องการของนักศึกษา
   (1) การประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
   (2) สอบย่อยตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา
   (3) สอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้การสอบข้อเขียน
   6.1.1 ปรับตัวเข้าสู่สังคมการทำงานในบริบทข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
   (1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง หน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณสมบัติและแนวปฏิบัติที่ดีในจรรยาบรรณวิชาชีพ ในรายวิชา
   (2) แนะนำแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองออนไลน์
   ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา (1) มีทัศนคติที่ดี เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ (2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่ดี (3) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (2) วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำ วลี และประโยคได้ (3) เปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษในวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ (5) สรุปใจความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังและอ่านได้ถูกต้อง (2) มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมสากล (3) ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมข้ามวัฒนธรรม (3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม (4) ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามกาลเทศะของบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติและวัฒนธรรมนานาชาติ (1) ปรับตัวเข้าสู่สังคมการทำงานในบริบทข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
1 BOAEC173 ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3 การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การส่งงานตรงเวลา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1.2, 2.1.3, 2.1.5, 3.1.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 17 25%, 25%
3 2.1.2, 2.1.3, 2.1.5, 3.1.2, 4.1.3, 5.1.3, 5.1.4, 6.1.1 ทดสอบย่อย กิจกรรมและงานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
Handouts from English grammar websites
   1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินตนเองเพื่อทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้รายวิชา
   1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
   2.1 ข้อเสนอแนะจากกรรมการทวนสอบ
   2.2 ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
   3.1 นำผลการประเมินจากภาคเรียนที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะจากการทวนสอบรายวิชา มาดำเนินการปรับปรุงการเรียนการสอน ลักษณะของงานมอบหมาย สื่อประกอบการเรียนการสอน
   3.2 ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยตามหลักสากล
   4.1 ก่อนเริ่มภาคการศึกษา มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
   4.2 ในระหว่างการสอน มีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา และข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์
   4.3 หลังเสร็จสิ้นการสอนในภาคการศึกษา มีการประชุมคณะกรรมการทวนสอบเพื่อตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา เกณฑ์การให้คะแนน ข้อสอบ งานที่ได้รับมอบหมาย และผลการเรียน
   นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์