ระเบียบวิธีวิจัยทางภาษา

Research Methodology in Language Studies

1. เพื่อให้มีความรู้ในระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้น และขอบข่ายการวิจัยทางภาษา
2. เพื่อให้สามารถกำหนดหัวข้อในการทำวิจัย
3. เพื่อให้สามารถดำเนินการวิจัย ผ่านกระบวนการ นิยามปัญหา วิธีดำเนินการ การสรุป อภิปรายผล และเขียนรายงานวิจัยได้
4. เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในการทำวิจัย
1. พัฒนาพื้นฐานการความรู้ทางระเบียบวิธีวิจัยทางภาษา
2. พัฒนาทักษะการใช้หลักการวิจัยเป็นเครื่องมือในศึกษาค้นคว้าในระดับที่สูงขึ้น
3. มุ่งเน้นให้นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรมในการทำวิจัย
ศึกษาระเบียบวิธีวิจัย และขอบข่ายการวิจัยทางภาษา การกำหนดหัวข้อวิจัย การนิยามปัญหาวิธีดำเนินการ การสรุปและอภิปรายผล และการเขียนรายงานการวิจัย
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล ระบุจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และวิธีการสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้า เช่น จัดให้นิสิตพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยระบุวัน เวลา ไว้ในประมวลการสอน และแจ้งให้นิสิตทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
(1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจวิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์ สุจริตต่อตนเอง และผู้อื่น
(2) มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง
(1) ให้วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม โดยใช้ทักษะทางภาษา

(2) อภิปรายกลุ่ม

(3) ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ

(4) กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลา และเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
(1) พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรง เวลา

(2) มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม

(3) ไม่มีการทุจริตในการสอบ

(4) ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตาม ความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง

2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา และการดำรงชีวิตประจำวัน
2.2.1 บรรยายร่วมกับอภิปราย การทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์งาน และมอบหมายงานที่เกี่ยวข้อง
2.2.2 ให้ทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบ
2.2.3 นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติม จัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.1 สอบย่อยระหว่างเรียนด้วยแบบทดสอบ
2.3.2 ประเมินจากประสิทธิผลของการศึกษาค้นคว้า การรายงานการศึกษาค้นคว้า และงานที่มอบหมาย
2.3.3 ทดสอบกลางภาค และปลายภาค
2.3.4 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
 
3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินข้อมูลจากหลายแหล่ง เพื่อใช้แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม
3.1.2 สามารถรวมรวบ ศึกษาวิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา และความต้องการได้
3.2.1 บรรยายและอภิปรายกรณีศึกษาร่วมกันในชั้นเรียน
3.2.2 การมอบหมายงาน และ และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.3.1 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
3.3.2 ประเมินจากการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบการ และมีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียน
4.2.1 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม

4.2.2 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป

4.2.3 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคล
  4.2.4 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
4.3.1 พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา

4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)

4.3.3 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
 
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์ในชีวิตประจำวัน

5.1.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์

5.1.3 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

5.1.4 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม 
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง

5.2.2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากกรณีศึกษา

5.2.3 ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้

5.2.4 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

5.3.2 พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร

5.3.3 ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
6.1.2 สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
 
6.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.2.2 จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร ในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
 
6.3.1 ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.3.2 การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
6.3.3 นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2 การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ ตรงเวลา ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนด มีความเอื้อเฟื้อต่อครูและเพื่อนร่วมชั้น ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1.1, 2.1.2, 3.1.1, 3.1.2 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9 และ 17 25%, 25%
3 2.1.1, 2.1.2, 3.1.1, 3.1.2, 4.1.4, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.4, 5.1.6, 6.1.4, 6.1.5 ทดสอบย่อย กิจกรรม งานมอบหมายและการนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 40%
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา
จรัลวิไล จรูญโรจน์.  (2556).  เทคนิคการวิจัยทางภาษาศาสตร์.  กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Creswell, J. W. (2014).  Research Design Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches  (4th ed.).  Thousand Oaks, CA: SAGE Publications.

Dornyei, Z. (2007).  Research methods in applied linguistics.  New York: Oxford University  Press.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน

2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา

2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ