การจัดการทรัพยากรประมง

Fisheries Resources Management

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เข้าใจความหมายของอุตสาหกรรมประมงและทรัยพากรประมง เข้าใจการประมงของโลกและของประเทศไทย เข้าใจประเภทของทรัพยากรประมงและแนวคิดในการใช้ประโยชน์ เข้าใจหลักและทฤษฎีของการจัดการทรัพยากรประมง เข้าใจมาตรการในการจัดการประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล เข้าใจการจัดการประมงในน่านน้ำสากล เข้าใจกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการจัดการประมง เข้าใจข้อตกลงและสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประมง เพื่อให้นักศึกษามีเจตคติและลักษณะนิสัยที่ดีในด้านการจัดการทรัพยากรประมง ด้วยความรับผิดชอบ ละเอียดรอบคอบ และมีคุณธรรมจริยธรรม
 
ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ปีพ.ศ.2560
   ศึกษาเกี่ยวกับประเภทของทรัพยากร ปัญหาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง ผลผลิตและส่วนที่เก็บเกี่ยวได้จากสต็อค นโยบายและมาตรการที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรประมง การพัฒนาแผนการจัดการทรัพยากรประมง
-    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยอาจารย์จะนัดหมายวันและเวลา แจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า
 พัฒนาให้ผู้เรียนมีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพทางประมง ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  ไม่ใช้เทคโนโลยีที่ทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ โดยตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม
วิธีการสอน ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง  เปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ทั้งในรายวิชาและของมหาวิทยาลัย บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีทางการประมง โดยมีวัตถุประสงค์ไม่ทำลายล้างให้สูญหายไป และอนุรักษ์ให้คงอยู่
ประเมินผลจาการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และตรวจสอบมีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
พัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญในการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ  ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงมากเกินควร และสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านนโยบายและมาตรการที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรประมง การพัฒนาแผนการจัดการทรัพยากรประมง และความรู้ใหม่ๆ ทางด้านการจัดการทรัพยากรประมง
ใช้วิธีการสอนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การบรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ e-Learning และมีการเสริมความรู้ประสบการณ์ โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาบรรยาย
-   สอบกลางภาค สอบปลายภาค
-   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  การวิเคราะห์กรณีศึกษา
-   การจัดทำรายงานรายบุคคล/กลุ่ม
พัฒนาความสามารถการประยุกต์ความรู้จากทฤษฏี และหลักการของการจัดการทรัพยากรประมงมาประยุกต์ใช้ในงานด้านวิชาการ การกำหนดแผนและนโยบาย การวางมาตการ ข้อกำหนด กฎกติกา เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น บนพื้นฐานความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรประมงได้อย่างเหมาะสม
ยกตัวอย่างกรณีศึกษา และมอบหมายให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ถึงปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหา การอภิปรายกลุ่ม โดยใช้ทฤษฏีมาประกอบการให้เหตุผล และรวบรวมข้อมูลนำเสนอ
- ประเมินจากการตอบปัญหา และการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนทั้งรายบุคคล/กลุ่ม
 - รายงานรายบุคล/กลุ่มกรณีศึกษา และการนำเสนอผลงาน
 - การสอบกลางภาค และปลายภาค
พัฒนาความสามารถการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกใน การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ภายในกลุ่ม ในบทบาทความเป็นผู้นำ และผู้ตามในกรณีการทำงานเป็นทีม และมีการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม
- มอบหมายงานให้ค้นคว้าข้อมูลรายกลุ่ม/รายบุคคล
- จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา และนำเสนอรายงาน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.4, 3.3 2.1,2.4, 3.3 -สอบกลางภาคเรียน -สอบปลาภาคเรียน สัปดาห์ที่ 8 และ 17 สอบกลางภาคเรียน ร้อยละ 35 -สอบปลาภาคเรียน ร้อยละ 35
2 1.1, 1.5, 4.1,4.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า จัดทำรายงาน และนำเสนอ ตลอดระยะเวลาภาคการศึกษา ร้อยละ 20
3 2.4, 3.3, 4.1 การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
กังวาลย์   จันทรโชติ. 2541. การจัดการประมงโดยชุมชน. ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
กังวาลย์   จันทรโชติ. 2544. จรรยาบรรณในการทำการประมงอย่างรับผิดชอบ. องค์การอาหารและเกษตร
แห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, กรุงเทพฯ. 12 น.
กังวาลย์   จันทรโชติ. 2545. ขจัดประมงเถื่อน :ยุติการประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม.
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, กรุงเทพฯ. 20 น.
นภาพร    ศรีพุฒินิพนธ์ และคณะ. 2548. คู่มือการจัดการทรัพยากรประมงแบบมีส่วนร่วม. สำนักงาน
ภาคสนามแผนงานประมงในลุ่มน้ำโขง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดอุดรธานี. 37 น.
พวงทอง  อ่อนอุระ. 2547. การจัดการประมงนอกน่านน้ำไทยแนวใหม่ตามบทบัญญัติของร่าง
พระราชบัญญัติการประมงฉบับใหม่. กองประมงต่างประเทศ กรมประมง, กรุงเทพฯ. 65 น.
พวงทอง  อ่อนอุระ. 2547. การทำการประมงอย่างรับผิดชอบและแผนปฏิบัติการสากลในการขจัดประมง
เถื่อน. กองประมงต่างประเทศ กรมประมง, กรุงเทพฯ. 48 น.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). 2541. การพัฒนาที่ยั่งยืน. สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองม, กรุงเทพฯ.
280 น.
วิฑูรย์       ปัญญากุล. 2547. ปลาหายไปไหน: สาเหตุและผลกระทบจากการทำประมงเกินขีดจำกัด.  มูลนิธิ
สายใยแผ่นดิน, กรุงเทพฯ. 247 น.
วีระวัฒน์  หงสกุล. 2521. การประมงของไทย. กองประมงทะเล กรมประมง, กรุงเทพฯ. 151 น.
เรืองไร    โตกฤษณะ. 2548. ทรัพยากรประมงทะเลไทย—กับนโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 47 น.
ลัดดา       วงศ์รัตน์. 2550. ป่าสักชลสิทธิ์กับการจัดการทรัพยากรประมง. ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะ
ประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 163 น.
ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคณะ. 2530. อนาคตประมงไทย. รายงานผลการ
สัมมนาร่วมภาครัฐบาลและภาคเอกชน 4-6 มิถุนายน 2530 คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 583 น.
 
 
ศูนย์พัฒนาชายฝั่ง ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2547. โครงการสำรวจ
ข้อมูลชาวประมงเรื่อง "การจัดการประมงในน่านน้ำไทย”. ศูนย์พัฒนาชายฝั่ง ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สมปอง   หิรัญวัฒน์. 2536. สภาพการใช้ทรัพยากรประมง. เอกสารประกอบการบรรยายการใช้ทรัพยากร.
 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
 
 สื่อประกอบการสอน DVD ชุด SEA SERIES ทะเลสีคราม
จิราภรณ์  ไตรศักดิ์. 2550. การจัดการประมง” คำตอบที่ไม่รอคำถาม. ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, กรุงเทพฯ. เรียกดูได้จาก http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=193:2011-03-24-06-54-47&catid=35:research-forum&Itemid=146
นภาพร   ศรีพุฒินิพนธ์ และคณะ. 2548. คู่มือการจัดการทรัพยากรประมงแบบมีส่วนร่วม. สำนักงาน
ภาคสนามแผนงานประมงในลุ่มน้ำโขง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดอุดรธานี. 37 น. เรียกดูได้จาก http://www.thaimrcfisheries.org/WEBSITE/June_FMG_report/Fisheries%20Co-management.pdf
นุศจี         ทวีวงศ์ และเรวดี  ประเสริฐเจริญสุจ. ทรัพยากรและชุมชน: บทบาทหญิงชายในชุมชนประมง.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน, กรุงเทพฯ. 62 น. เรียกดูได้จาก
http://www.sdfthai.org/newsletter/edit%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%
E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%81[1]...pdf
ไพโรจน์ ทรัพย์ประเสริฐ. จรรยาบรรณว่าด้วยการทำประมงอย่างรับผิดชอบ. เรียกดูได้จาก
http://www.gotoknow.org/blog/group705/13829
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย.2530. อนาคตประมงไทย. เรียกดูได้จาก
http://www.navy.mi.th/navic/document/880807a.html
อานนท์   อุปบัลลังก์. ชีววิทยาประมง. ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. เรียกดูได้จาก  http://natres.psu.ac.th/QuizNRStudents/AquaticScience2/Quiz_FishBiology.htm
 
 
อิสระ      ชาญราชกิจ และคณะ. การประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม. กอง
เทคโนโลยีการประมง ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กรุงเทพฯ. 82 น. เรียกดูได้จาก http://map.seafdec.org/downloads/pdf/IUU_thai.pdf
อุไรวรรณ กว้างขวาง. ทาไมต้องมีการจัดการทรัพยากรประมง. กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการ
ทรัพยากรประมงน้ำจืด. เรียกดูได้จาก http://www.fisheries.go.th/if-center/web2/images/pdf/4s.pdf
 
การประเมินผลการสอนเมื่อสิ้นสุดการสอน โดยการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจการ
สอนที่จัดทำขึ้น โดยประเมินแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 1 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยทบทวนปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และมีการนำสื่อ อุปกรณ์ที่สามารถสื่อให้เข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น และเป็นความต้องการของนักศึกษา โดยต้องคำนึงถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ไม่มี
ไม่มี