คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

Electrical Engineering Mathematics

1.1   เข้าใจทฤษฎีและการนำมาใช้งานของตัวแปรเชิงซ้อน
1.2   เข้าใจทฤษฎีของเวคเตอร์ การวิเคราะห์เวคเตอร์พร้อมทั้งการนำมาใช้งาน
1.3   เข้าใจหลักการอนุกรมฟูเรียร์ และการนำมาวิเคราะห์รูปคลื่นทางไฟฟ้า
1.4   เข้าใจวิธีการแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์โดยวิธีการแปลงลาปลาซและนำมาแก้ปัญหาทางวงจรไฟฟ้า
1.5   เห็นความสำคัญของการคิดคำนวณเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า
2.1   ปรับปรุงกระบวนการจักการเรียนการสอน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบ CDIO มาประยุกต์ใช้ โดยการเลือกหน่วยเรียน/บทเรียนที่เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นแนวทาง
2.2      ปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานของตัวแปรเชิงซ้อน การวิเคราะห์เวกเตอร์ อนุกรมฟูเรียร์ ผลการแปลงฟูเรียร์ และการประยุกต์เพื่อวิเคราะห์รูปคลื่นสัญญาณไฟฟ้า ผลการแปลงลาปลาซ ผลการแปลง Z และการประยุกต์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า
Study of complex variables, vectors analysis and application, the theory of Fourier series, Fourier transform and applying electrical waveform analysis, Laplace and Z-Transform and their electrical engineering application.
-  อาจารย์ประจำรายวิชา  ให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ lms.rmutl.ac.th หรือช่องทาง social media
 -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความจำเป็น 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีความรับผิดชอบ และเคารพกฎระเบียบ ตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของสถาบันฯ นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการยกย่องนักศึกษาที่ทำดี เสียสละ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม
ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ตามมาตรฐานความรู้ต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อธิบายหลักการ ทฤษฎี วิธีการพิสูจน์ วิธีการแก้โจทย์ปัญหา
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นวัดหลักการและทฤษฏี การทำแบบฝึกหัด
เน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้

คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
ยกตัวอย่าง การพิสูจน์ทฤษฎี ถาม-ตอบ อภิปรายกลุ่ม การสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรมการแสดงวิธีทำในการแก้โจทย์ปัญหา
สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา และพิสูจน์ทฤษฎี การแสดงความเห็นในการวิเคราะห์ความถูกต้องของแบบฝึกหัดของเพื่อนหน้าชั้น สังเกตพฤติกรรมการแก้โจทย์ปัญหา
นักศึกษาต้องสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ตามคุณสมบัติดังนี้

สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
ให้ทำแบบฝึกหัดท้ายชั่วโมงหรือการบ้าน แล้วเฉลยในห้องเรียนครั้งถัดไป มีการปรับความเข้าใจที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง
ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย มีความครบถ้วนและถูกต้อง   
มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
แนะแนวทางการประยุกต์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ในงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
การทำแบบฝึกหัด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 3.1.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 30% 30%
2 5.1.4 ทำแบบฝึกหัด สอบย่อย และงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1.2 มีวินัยในการเข้าชั้นเรียน มีส่วนร่วมในการเรียน อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
ธีระยุทธ  บุนนาค . เอกสารประกอบการบรรยายวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า1.        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวิทยาเขตพายัพ.เชียงใหม่: ม.ป.ท. นิรันดร์  คำประเสริฐ .คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า 1 อนุกรมฟูเรียร์ และฟูเรียร์ทรานสฟอร์ม.  กรุงเทพฯ  :  ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ,  2537. นิรันดร์  คำประเสริฐ.คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า 2 ลาปลาสทรานสฟอร์มและการประยุกต์ใช้.  กรุงเทพฯ  :  ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ,  2537. นิรันดร์  คำประเสริฐ. คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า 3 การวิเคราะห์เชิงซ้อน เล่ม 1.  กรุงเทพฯ  :  ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ,  2537. พฤทธิ์  พุทธางกุล  และพิพัฒน์   พัดคุ้ม. วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1 . กรุงเทพฯ  :  โครงการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี,  2521. พฤทธิ์  พุทธางกุล  และพิพัฒน์   พัดคุ้ม. วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2 . กรุงเทพฯ  :  โครงการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี,  2521. ไพรัช  ธัชยพงษ์. วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2 . กรุงเทพฯ  :  อีเลคทรอนิคส์เวิลด์, 2525. วรางคณา  ร่องมะรุด.  การวิเคราะห์เวกเตอร์.  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  :  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,  2538. Hsu,  Hwei  P.,  Vector  Analysis.   New York  :  Simon and Schuster, 1969. Joseph, A.E.  and  JE  SWANN.  Electric  Circuit. New York  :  McGraw-Hill, 1975. Kreyszig,  E.,  Advanced Engineering Mathematics.   New York  :  John  Wiley  and Sons, 1988  (sixth edition) Lathi,  B.P.,  Signals,  Systems  and  Communications.   New York  :  John  Wiley  and Sons,  1965. Michael,  D.C.,  Communication Systems.   New York  :  McGraw-Hill, 1975. Paliouras,  J.  D.,  Complex  Variables for Scientists and Engineers.   :  Macmillan Publishing Co., Inc., 1975. Simons,  S.,  Vector Analysis for mathematicians, Scientists and Engineers.  London :  Pergamon  Press Ltd., 1970.
ไม่มี
เว็บไซต์ประกอบการสอน ได้แก่ http://lms.rmutl.ac.th, social media เว็บไซต์สืบค้นอ้างอิงงานวิจัย ได้แก่ Web of Science, IEEE Xplore
จัดกิจกรรมในการรวบรวมแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ด้วยวิธีการดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านแบบสำรวจออนไลน์  ที่อาจารย์ผู้สอนหรือหน่วยงานได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ด้วยวิธีการดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน หรือหัวหน้าหลักสูตร
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ