การเตรียมโครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ

Industrial Engineering Pre-Project

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการประยุกต์ใช้วิชาทั้งหลายที่เรียนมาบูรนาการสร้างสรรค์แนวคิดในการ ประดิษฐ์ วิจัย ค้นคว้าอิสระ  ในงานวิศวกรรมอุตสาหการที่เกี่ยวข้องกับ บริบทแวดล้อมของประเทศต่อไป
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ          ในวิชาที่เรียนมาทั้งหมดก่อนหน้านี้ในทุกกลุ่มวิชา เพื่อเป็นพื้นฐานการเตรียมการเขียนโครงงาน เพื่อทำการวิจัย ค้นคว้าอิสระ และประดิษฐ์ หรือพัฒนาปรับปรุงระบบงานในงานวิศวกรรมอุตสาหการ ให้ทันต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดษฐ นวัตกรรม หรืองานทางวิศวกรรมอุตสาหการ การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.3 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1   สอนการปฏิบัติการพร้อมยกตัวอย่าง การทบทวนวรรณกรรม การพิจารณากระบวนทัศน์การค้นคว้าอิสระ การวิจัย การประดิษฐ์ แนวคิดด้านนวัตกรรม
กำหนดให้ทำ โครงงานที่นักศึกษารวมกลุ่มกัน เป็นหลายกลุ่ม สนใจและดำเนินการตามกรอบการวางแผนโครงงานที่กำหนดในทิศทางเดียวกัน
3.1 สอบด้วยการนำเสนอหัวข้อโครงการ 
3.2 รูปเล่มรายงาน
 
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของการเขียนโครงร่างวิจัย และสิ่งประดิษฐ์ตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดหัวข้อที่สนใจ การดำเนินการสร้างวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย เข้าใจเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้นและหลักการทางสถิติที่เหมาะสมกับลักษณะของหัวข้อที่สนใจ และพร้อมทั้งมีความรู้ในการใช้ภาษาที่สามารถสื่อสารเพื่อนำสารสนเทศที่ได้จากการวิจัยหรือจากสิ่งประดิษฐ์เผยแพร่สู่วงการศึกษาจนเกิดความชำนาญ
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ประเมินจากการนำเสนอผลการจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์และหัวข้อโครงการวิจัยโดยมีการแบ่งระดับความสำคัญของแบบที่คณะวิศกรรมศาสตร์ได้จัดทำขึ้นเป็นมาตรฐานเดียวกัน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ปัญหาที่สนใจอย่างเป็นระบบ
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา 
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.2   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์หัวข้อโครงงานและสิ่งประดิษฐ์
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากค้นคว้างานวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงานโครงงาน  และรูปแบบการนำเสนอ
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,4.1,5.1 1.1,4.1,5.1 1.1 สอบกลางภาค สอบหัวข้อโครงงาน การเข้าชั้นเรียน 8 16 17 20% 40% 40 %
1.1 ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย:แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
1.2 สิทธิ์ ธีรสรณ์ . (2552). แนวคิดพื้นฐานทางการวิจัย .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา


ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเขียนโครงการงานวิศกรรมอุตสาหการนักศึกษา


2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน

3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4

5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ