ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์

Human Computer Interaction

อธิบายแนวคิดของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ และส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ กำหนดการออกแบบส่วนต่อประสานที่ดี ออกแบบและประเมินผลระบบเชิงโต้ตอบ
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ Human Computer Interaction       
2.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและรู้ระบบงาน Human Computer Interaction ได้       
2.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Human Computer Interaction ได้       
2.4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้งาน Human Computer Interaction ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาหลักการเบื้องต้นของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านมนุษย์ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ กระบวนการรับรู้ ผลศึกษาความใช้งานได้ สภาวะแวดล้อมของการใช้งาน แนวทางการออกแบบระบบที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง แนวทางการประเมินผล การพัฒนาวิธีติดต่อผู้ใช้ที่มีประสิทธิผล มาตรฐานด้านความใช้งานได้ เทคโนโลยีด้านอุปกรณ์และระบบที่มีส่วนสัมพันธ์กับการใช้งานของมนุษย์ ส่วนสนับสนุนผู้บกพร่องในการรับรู้ ฝึกปฏิบัติการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์
3.1  โทร. 0808941495   
3.2 e-mail : j_suwannee@rmutl.ac.th        
3.3 Chat Microsoft team  รายวิชา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม                    1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคมมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์   เช่น การเขียนโปรแกรมตามบริษัทเอกชน ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราระหว่างผู้ใช้กับผู้เขียนโปรกรม แล้วนำมาออกแบบการทำงานของการทำงานโปรแกรม โดยมีวัตถุประสงค์สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ ผู้เขียนโปรแกรม และองค์กร  1.2.2 อภิปรายกลุ่ม/ทำงานเดี่ยว/กลุ่ม หรือ ทำงานเขียนโปรแกรมรายบุคคลตามใบงาน  กำหนดให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน 
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากโปรแกรมที่นักศึกษาเขียนขึ้นตามแนวคิด 
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอตามใบงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ  มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของการเขียนโปรแกรม และมีความรู้เกี่ยวกับระบบการเขียนโปรแกรมโดยมีการคิดแบบอัลกอริทึม รู้ความเป็นมาของภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น รู้รูปแบบการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง รู้ประเภทข้อมูลการกำหนดตัวแปร  นิพจน์  ตัวดำเนินการ  คำสั่งควบคุมแบบโครงสร้าง  ตัวแปรอาร์เรย์ ตัวชี้  การกำหนดลักษณะการทำงานโครงสร้างแบบฟังก์ชั่น  และการใช้งานแฟ้มข้อมูล  อย่างมีหลักการตามขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมอย่างมีจรรยาบรรณ จริยธรรม
บรรยาย  อภิปราย ฝึกปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอใบงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาจากงานการเขียนโปรแกรมตามที่มอบหมายหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปเป็นโปรแกรมและนำเสนอ โดยเป็นโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบปฏิบัติย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรมและทฤษฏีเนื้อหา 
2.3.2   ประเมินจากการเขียนโปรแกรมตามที่มอบหมาย และนำเสนอผลการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากกรณีศึกษาที่นักศึกษาค้นคว้าและสร้างเอง หรือมีโจทย์จาก Problem – based Learning จากชีวิตประจำวัน
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมงานที่ได้ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากการที่นักศึกษาได้ค้นคว้าเอง และนำเสนอผลงานของตนเอง  3.2.2   อภิปรายกลุ่ม  3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีภาษาการเขียนโปรแกรมอย่างที่เหมาะสม  3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติและการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยออกในรูปผลงานนักศึกษา  แก้ไข
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเขียนโปรแกรม แวคิดแก้ปัญหาทางการเขียนโปรแกรม  วิเคราะห์โจทย์   
3.3.2   วัดผลจากการประเมินงานการเขียนโปรแกรม  การนำเสนอผลงานของนักศึกษา 
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาระหว่างปฏิบัติงาน
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การทำใบงาน และวิเคราะห์โจทย์นำมานำเสนอได้  4.2.3   การนำเสนอผลงานโปรแกรม
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง 
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ ตามหลักการของระบบคอมพิวเตอร์ 
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารในตัวระบบคอมพิวเตอร์  การวิเคราะห์  การแปลงาน การเขียนโปรแกรม โดยการทำใบงาน และนำเสนอผลงาน 
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์โจทย์โปรแกรมเป็นกรณีศึกษา 
5.1.4   พัฒนาทักษะแนววิธีการทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการสื่อสาร
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสร้างโปรแกรมตามแนวคิดมาเป็นรูปแบบผลงานซอฟต์แวร์  และทำรายงานรูปเล่มรวบรวมผลงานโดยเน้นการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน ผลงาน  และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย  วิธีการตอบ และการเขียนโปรแกรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2, 2.1, 2.3, 3.1, 1.1,1.2, 2.1-2.3 4.4, 5.1-5.3 1.1,1.2, 3.1 4.4 5.1 , 5.2 ทดสอบปฏิบัติย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบปฏิบัติย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอผลงาน รายงานผลการเขียนโปรแกรมตามใบงาน การทำงานกลุ่ม/เดี่ยวและผลงาน การเขียนโปรแกรมและสรุปผลการทำงานโปรแกรม การส่งงานตามที่มอบหมายตรงเวลา การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย/นำเสนอ เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 4 9 12 16 ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 10% 25% 10% 25% 20% 10%
www.italpha.msu.ac.th/manasawee/teaching/HCI •www.interaction-design.org/ •www.usability.gov •www.hcibib.org/hci-sites •www.ucc.ie/hfrg/resources/ •www.dialogdesign.dk/ •http://www.webpagesthatsuck.com/ •www.baddesigns.com/examples.html
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อสื่อสารเนื้อหาให้ผู้เรียนศึกษาก่อนล่วงหน้า แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา เพื่อนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอน ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้  2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน(หากมี)  2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา ที่มีการสอบเก็บคะแนนแต่ละครั้งนำมาประเมิน  2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ ให้งานตามที่มอบหมายและสังเกตพฤติกรรม
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้  3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน เพื่อปรับปรุงและแก้ไขกรณีในห้องเรียนและการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน  4.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ