คุณภาพน้ำและการจัดการบ่อ

Water Quality and Pond Management

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ  ดังนี้
1.1  เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและมีทักษะในการวิเคราะห์คุณสมบัติของคุณภาพน้ำทางกายภาพ เคมี และชีวภาพได้
1.2  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยทางคุณภาพน้ำต่อการเจริญเติบโต และการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ
1.3  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเมื่อคุณภาพน้ำไม่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
1.4  เพื่อให้นักศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพน้ำต่อการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ
1.5  นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลคุณภาพน้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและฝึกทักษะคุณภาพน้ำทางการประมงมากขึ้น และสามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญของน้ำที่มีต่อการประมง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ  คุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ เคมี  และชีวภาพ  และมลพิษทางน้ำ
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
   1.มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
   2.มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
     กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชารวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ เป็นต้น
1.ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด
   2.ประเมินจากความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
   3.ประเมินจากความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
   4.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
   5.ประเมินจากผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน
   1.มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่าง ถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
 2.มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
 
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ 
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ
   1.การทดสอบย่อย
   2.การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
   3.ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
  4.ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1.สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
2.สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3.ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
   1.ประเมินจากผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
   2.การสัมภาษณ์หรือการสอบปากเปล่า
   3.การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
1.ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
2.มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
     ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ ดังนี้
1.สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้         
2.มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3.สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้     
4.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป 
5.มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
6.สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
1.มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
 2.มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้แก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงานจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล
2.การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
1.มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
 
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และทักษะการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
  1.ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างความถูกต้อง
  2.ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  3.ความสำเร็จและคุณภาพของผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 1. 2. 1. 2. 3. 1. 2. 1. 2. 1.
1 BSCAG305 คุณภาพน้ำและการจัดการบ่อ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2 และ 1.1.3 -การเข้าเรียนตรงเวลา -การมีวินัยและมีความพร้อมเพียงในการร่วม กิจกรรมเสริมหลักสูตร -ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1.1, 2.1.2 และ 2.1.3 -ทดสอบความเข้าใจโดยจะมีการสอบย่อย,สอบกลางภาค,สอบปลายภาค -ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน การตอบคำถาม และรายงานที่นำส่ง ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 5.1.1, 5.1.2 และ 5.1.3 -ความสามารถทำงานร่วมกันของนักศึกษาในการสืบค้นกรณีศึกษาและการมีส่วนร่วมในการอภิปรายโดยอยู่บนฐานความรู้ของรายวิชาได้อย่างเป็นระบบ ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 6.1.1 และ6.1.2 การมีความกระตือรือร้นในการลงมือปฏิบัติการ และความเข้าใจในการเครื่องมือ และอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างการทำงาน ตลอดภาคการศึกษา 30%
   1. โชคชัย เหลืองธุวปราณีต.  หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ.  โฟร์เพซ, กรุงเทพฯ. 479 น.
   2. ประเทือง เชาว์วันกลาง, คุณภาพน้ำทางการประมง, สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, กรุงเทพฯ. 2534.
   3. พงศ์เชฏฐ์ พิชิตกุล.  2545.  การวิเคราะห์น้ำ (water analysis). เอกสารประกอบการสอนภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 83 น.
   4. ไมตรี ดวงสวัสดิ์.  เกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรสัตว์น้ำจืด. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 75. สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ, กรมประมง, กรุงเทพฯ. 20 น.
   5. ยนต์ มุสิก.  2539.  คุณภาพน้ำกับกำลังผลิตของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ. เอกสารประกอบการสอนภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, คณะ
    ประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 180 น.
   6. อรทัย ชวาลภาฤทธิ์, คู่มือการวิเคราะห์น้ำและน้ำเสีย, กรุงเทพ. 2545.
 
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น กรมควบคุมมลพิษ  กรมประมง  กรมควบคุมมลพิษ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น กรมควบคุมมลพิษ  กรมประมง  กรมควบคุมมลพิษ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุง     การสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง