การเตรียมโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Computer Engineering Pre-Project

    เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการค้นคว้า รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอโครงงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการนำความรู้ ความเข้าใจ การค้นคว้าบทความ งานวิจัย การวิเคราะห์ปัญหา การเขียนเอกสารเสนอโครงงาน และนำเสนอโครงงาน ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี
ฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรืองานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ Facebook
-    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการนำความรู้ไปใช้อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้

มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

1.1.2 แสดงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ
เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1ให้ความสำคัญในด้านวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.2สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
1.2.3 สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน
1.2.4 การปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.3.1   การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องเหมาะสม
1.3.3   พิจารณาผลจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
1.3.4   สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตากฎระเบียบข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
2.1.1   มีความรู้ในการนำเสนอโครงงาน การศึกษาค้นคว้า บทความ งานวิจัย สามารถนำมาวิเคราะห์และจัดทำเป็นแบบเสนอโครงการ
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา บทความ งานวิจัย และมอบหมายให้ค้นคว้าบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ ศึกษาโดยใช้ปัญหาและโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา
2.3.2  ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลงาน
2.3.3  สังเกตพฤติกรรมและจำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียน
3.1.1   มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง
3.1.2   พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีระบบระเบียบ มีการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอ
3.1.3   มีความใฝ่หาความรู้
3.2.1  ฝึกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาโดยเริ่มต้นจากปัญหาที่ง่ายและเพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆทั้งนี้ต้องจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับรายวิชา
               3.2.2   ฝึกการทำโครงงานในด้านการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์จำลอง
   3.2.3  วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำทฤษฏีมาใช้ให้เหมาะสม
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.2   วัดผลการประเมินจากรายงานโครงการ  และการนำเสนอผลงาน
3.3.3   ผลงานของนักศึกษา
4.4.1   สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.4.2   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.4.3   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.4.4   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.4.5   มีภาวะผู้นำ
4.2.1   ส่งเสริมให้นักศึกษาเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.2.2   แบ่งหน้าที่ที่รับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
 4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.2.4   ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นโดยการจัดอภิปราย
4.2.5   ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
4.3.1  สังเกตจากการทำงานและมีส่วนร่วมในงานกลุ่ม
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.4   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.5.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานและการเสนอหน้าชั้นเรียน
5.5.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน
5.5.3 มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ
5.5.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.5.5 ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.4.1   สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
6.4.2   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
6.4.3   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
6.4.4   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
 6.4.5   มีภาวะผู้นำ
6.2.1   ส่งเสริมให้นักศึกษาเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
6.2.2   แบ่งหน้าที่ที่รับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
6.2.3   ส่งเสริมทักษะการอยู่ในสังคม
6.2.4   ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นโดยการจัดอภิปราย
6.2.5   ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
6.3.1  สังเกตจากการทำงานและมีส่วนร่วมในงานกลุ่ม
6.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
6.3.3   การเข้าร่วมกิจกรรมมหาวิทยาลัย
6.3.4   สังเกตจากการอภิปรายและแสดงความคิดเห็น
6.3.5   สังเกตจากการทำงานกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE113 การเตรียมโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.5, 2.1 2.2, 2.4 3.1 - 3.4 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 10% 20% 10% 20%
2 4.6,5.3-5.4 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
     รศ.ดร.โกสินทร์ จำนงไทย มจธ. , Research Methodology in Electronics in Electronics and Telecommunication 
เว็บไซต์สืบค้น หรือสารานุกรม ได้แก่ Google, Wikipedia
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ