ระเบียบวิธีวิจัยทางวิศวกรรมไฟฟ้า

Research Methodology in Electrical Engineering

เพื่อให้นักศึกษา ศึกษาขั้นสูงในทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักและระเบียบวิธีการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การวิเคราะห์ปัญหาและการตั้งสมมุติฐานวิจัย การแก้ปัญหาในงานวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติ การทดสอบผลการวิเคราะห์และการสรุปผลการทดลอง การเขียนโครงการวิจัยและการเขียนรายงานวิจัย จริยธรรมในการทำงานวิจัย 
 เป็นการนำความรู้ ความเข้าใจ การค้นคว้าบทความ งานวิจัย การวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องแนวทางการแก้ปัญหา ปฏิบัติการตามขั้นตอนและแผนดำเนินงาน รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และจัดทำรายงานวิจัย
ปฏิบัติการนำเสนอสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าจากบทความปริทัศน์ การสรุปความสำคัญและความสัมพันธ์ของบทความวิจัยทางวิศวกรรมไฟฟ้าระดับก้าว หน้าที่มีการตีพิมพ์หลังสุด มีการอ้างอิงมากที่สุด หรือเขียนโดยผู้แต่งที่มีผลงานตีพิมพ์มากที่สุด การวิเคราะห์บทความวิจัยทางวิศวกรรมไฟฟ้า การวิเคราะห์และจำลองเปรียบเทียบกับ บทความทางวิศวกรรมไฟฟ้าที่ได้รับการตีพิมพ์ระดับก้าวหน้า และจัดทำรายงานการสัมมนา

 
-   2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และให้คำปรึกษาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เช่า Facebook และ MS-Team -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการนำความรู้ไปใช้อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้ มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและ ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อ บุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบ วิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เน้นหลักการทางทฤษฎีขั้นสุ. ให้ความสำคัญในด้านวินัย การตรงต่อเวลา ให้นักศึกษาได้ทบทวนวรรณกรรมและฝึกกระบวนการคิด และนำเสนองาน สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม สอดแทรกคุธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค 1.3.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 1.3.3 ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ 1.3.4 ประเมินจากการนำเสนองาน 1.3.5 การทดอลงนำเสสองานวิจัย
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาของ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า และนำไปประยุกต์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการหรือการปฏิบัติในวิชาชีพ
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา บทความ งานวิจัย และมอบหมายให้ค้นคว้าบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
1  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา 2  ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลงาน 3  สังเกตพฤติกรรมและจำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียน
3.1.1   สามารถวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง 3.1.2   พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีระบบระเบียบ มีการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอ
3.1.3   มีนิสัยใฝ่หาความรู้
 3.2.1  ฝึกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาโดยเริ่มต้นจากปัญหาที่ง่ายและเพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆทั้งนี้ต้องจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับรายวิชา    
 3.2.2   ฝึกการทำโครงงานในด้านการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์จำลอง   
3.2.3  วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำทฤษฏีมาใช้ให้เหมาะสม
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.2   วัดผลการประเมินจากรายงานโครงการ  และการนำเสนอผลงาน 3.3.3   ผลงานของนักศึกษา
4.1.1   สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.1.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.3   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.1.4   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.1   ส่งเสริมให้นักศึกษาเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.2.2   แบ่งหน้าที่ที่รับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ  
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.2.4   ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นโดยการจัดอภิปราย
4.2.5   ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
4.3.1  สังเกตจากการทำงานและมีส่วนร่วมในงานกลุ่ม
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.4   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานและการเสนอหน้าชั้นเรียน 5.1.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน 5.1.3 มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจน นำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ 5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.5 ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การอภิปราย เสนอความคิดเห็นและการนำเสนองาน 1-7, 9-14 10%
2 ความรู้ 1. งานปฏิบัติงานสัมมนา รายสัปดาห์ 2.การนําเสนอหน้าชั้นเรียน 3.รายงาน 4.การสอบ กลางภาค(8) ปลายภาค(17) 40%
3 ทักษะทางปัญญา 1. งานปฏิบัติงานรายสัปดาห์ 2.การนําเสนอหน้าชั้นเรียน 3.รายงาน 4.การสอบย่ิอย 1-7, 9-16 15%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การปฏิบัติงานร่วมกัน การส่งรายงาน 1-7,9-16 15%
-รศ.ดร.โกสินทร์ จำนงไทย มจธ. , การทำวิจัยและเขียนบาความในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักพิมพืแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560     
-วาดี ดร. วนิดา วาดีเจริญและคณะ, ระเบียบวิธีวิจัย จากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ, สำนักพิมพ์ซีเอ็ด, กรุงเทพฯ, 2560     
-R.H.B. Excell, Research Methodology, TIS KMUTT, Bangkok, 2006
ฐานข้อมูลงานวิจัย Online ของมหาวิทยาลัยฯ
https://www.sciencedirect.com/browse/journals-and-books
http://www.uni.net.th/UniNet/referenceDB/2561.php
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ