สัมมนาทางการจัดการ

Seminar in Management

1. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสัมมนาและการจัดสัมมนา 2. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบ บทบาทหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนา 3. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน และการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนา 4. เพื่อบูรณาการทฤษฎี ความรู้ ประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาร่วมกับการจัดสัมมนา 
เพื่อให้นักศึกษาสามารถบูรณาการวิชาการความรู้ กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และฝึกทักษะในการจัดสัมมนาวิชาการ
ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนา ความหมายของการสัมมนา จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ กระบวนการ รูปแบบ เทคนิคการจัดสัมมนา และสัมมนาปัญหาสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเน้นทางด้านการจัดการ ตลาดจนฝึกปฏิบัติทักษะการจัดสัมมนา
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาตามเวลา ให้คำปรึกษาตาม วัน เวลา ที่ประกาศให้ผู้เรียนทราบ โดยให้คำปรึกษา เป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.  มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 
มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน
การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
.มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
 
ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา  
 ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
 พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร ในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 4 5 6 1 2 3 1 2 3 4 5
1 BBABA214 สัมมนาทางการจัดการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.2 2.1.4 3.13 3.1.4 4.1.1 4.1.4 5.1.6 6.1.3 การจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการ 15 16 40%
2 1.1.1 1.1.3 1.1.4 2.1.2 2.1.3 3.1.3 3.1.4 5.1.3 5.1.6 6.1.3 6.1.4 การทำงานกลุ่ม และการส่งงานตามที่มอบหมาย การนำเสนอจัดดอกไม้ และจับจีบผ้า การสัมมนากลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ตลอดภาคการศึกษา, 10, 11, 13, 14 30% 20%
3 4.1.2 การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน นายวิวัฒน์โชติกร เรืองจันทร์
จิตต์นิภา ศรีไสย์. 2549. ภาษาไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ วิศาลเวชกิจ. การประชุมสัมมนา. สัมมนาธุรกิจศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีราช-มงคลธัญบุรี.
พิศเพลิน สงวนพงศ์. 2548. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เทียนวัฒนา.
เศรษฐพงศ์ อัปมะเย. การจับจีบผ้าติดโต๊ะ หน่วยที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : บริษัทวาดศิลป์
จำกัด, 2552.
มุกดา ใจซื่อ. พื้นฐานการจัดดอกไม้ หน่วยที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์
แม่บ้าน จำกัด, 2558.
จิรวรรณ บุญมี. เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 2553
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ จะใช้แนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา โดยวิธีการดังนี้ 1.1  การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน หรือ 1.2 ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน หรือ 1.3 แบบประเมินผู้สอน ซึ่งนักศึกษาจะต้องเป็นผู้ประเมิน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา
 
2.1   เทคนิควิธีการสอน / กิจกรรมการเรียนรู้ หรือ 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา ซึ่งได้มาจาก การให้คะแนนสอบ รายงาน/โครงการ หรือ 2.3   การทวนสอบผลสัมฤทธ์การเรียนรู้ในรายวิชา โดยให้นักศึกษาตอบแบบประเมิน “การประเมินการสอนโดยนักศึกษาในรายวิชา”
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมแนวทางวิธีการสอนด้วยตนเอง ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนตามผลการเรียนรู้ให้ดีขึ้น เหมาะสมกับผู้เรียนมากขึ้น  หรือ จัดกิจกรรมในการระดมสมองเพื่อปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอนกับผู้สอนร่วม  หรือ 3.2   พัฒนาความรู้ความสามารถ โดยผ่านการอบรมสัมมนา
การสอนในรายวิชา จะมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามที่คาดหวังในรายวิชา  ซึ่งได้กำหนดไว้ในหลังสูตร ดังนี้ 4.1  กำหนดคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา ประกอบด้วย 1)  อาจารย์ในสาขาวิชาที่ไม่ใช่ผู้สอน  2)  ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  และ 3)  ผู้ทรงคุณวุฒิ 4.2  กำหนดวิธีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา เช่น การประเมินข้อสอบกลางภาค/ปลายภาค  หรือ การประเมินโครงงาน / รายงาน / กิจกรรม  หรือวิธีการให้คะแนน ในรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชา เมื่อครบรอบการปรับปรุงหลักสูตร (ทุก 5 ปี)  หรือปรับปรุง ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงวิธีการสอน / กิจกรรม / โครงงานที่มอบหมาย  เพื่อให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามที่คาดหวังในหลักสูตร และสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม