วิจัยธุรกิจ

Business Research

1. ให้ความสำคัญกับการตั้งประเด็นงานวิจัย การกำหนดขอบเขต การวางแผน การเลือกรูปแบบและวิธีการทำวิจัยทางธุรกิจ
2. เพื่อศึกษาแนวทางและทำความเข้าใจกระบวนการวิจัยทางธุรกิจ
3. เพื่อศึกษาการนำการวิจัยเพื่อนำไปใช้กับกิจกรรมทางธุรกิจ และการนำผลการวิจัย ที่ได้มาใช้ใน การวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจทางการบริหารธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางการวิจัยธุรกิจ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานในการทำวิจัย และเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาความหมายและความสำคัญของการวิจัย ลักษณะทั่วไปของการวิจัย ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัยทางธุรกิจ การเลือกปัญหาวิจัยทางธุรกิจ หลักการและเทคนิคของการวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐานในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล การเขียนรายงานวิจัยทางธุรกิจ และจรรยาบรรณของการวิจัยทางธุรกิจ ทั้งนี้ให้มีการปฏิบัติงานจริง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○) มาตรฐานผลการเรียนรู้
1.มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์ สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 
2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึก รับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
○ 3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคบต่างๆขององค์กรและสังคม
○ 4. มีความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ  
5.มีทัศนะคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  
6.สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
1. อาจารย์ผู้สอนจะบรรยายพร้อมสอดแทรกสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหาวิชา
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนองาน การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาตามเวลานัดหมาย
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○) มาตรฐานผลการเรียนรู้
● 1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา วิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาที่ศึกษากับความรู้ในศาตรณอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
● 2. มีความรู้ความเข้าใจสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรง ชีวิตประจำวัน  
3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการะบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์กร การปฏิบัติ การควบคุมและผลดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์  
4. มีความรู้กับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน  
5.สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ องค์ประกอบต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด  
6.สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง  
7.รู้ เข้สาใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง  
8.มีความรู้ในแนวกวางของสาขาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกี่ยวข้อง  
9.มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟแวร์ที่ใช้งานได้จริง
1. สนับสนุนด้านการเรียนการสอนให้เป็นไปตามตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก้เพื่อนร่วมชั้นเรียน
1. การสอบกลางภาค และปลายภาค
2. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย และ การเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมายรายงาน  การนำเสนอ การค้นคว้าในชั้นเรียน
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○) มาตรฐานผลการเรียนรู้
● 1.สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง  
2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
● 3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพท่อให้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป  
4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  
5.สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
ตัวอย่างงานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงาน การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนรวมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความเห็น
ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า งานวิจัย โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
โดยแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○) มาตรฐานผลการเรียนรู้
○ 1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคาระความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมและสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้  
2. มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม  
3. มีความสามารถในหารประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้องทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน  
4. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  
5.สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
6.มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม  
7.สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการนำเสนอ
โดยแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○) มาตรฐานผลการเรียนรู้
● 1.สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตักสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
● 2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจโดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการเครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์  
3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
4. มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์  
5.สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์  
6.มีสามารถใช้เทคโนโลยีสาสรสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมกับงานวิจัย สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้า และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง นำเสนอความก้าวหน้าในงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่เหมาะสม
ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล/กลุ่ม และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
โดยแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○) มาตรฐานผลการเรียนรู้
1.สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
● 2. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหาค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชนและสังคมได้อย่างถูกต้อง  
3. สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
● 4. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล  
5.สามารถปฏิบัติงานโดยยึดแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
1. ส่งเสริมให้จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยโดยทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย สถิติ และค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมในหัวข้อที่ยังไม่เข้าใจ
2. ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลวิจัย รวมทั้งอภิปรายผลการวิจัยด้วยหลักการและเหตุผล  
1. ประเมินผลจากการนำเสนอข้อเสนอโครงการเกี่ยวกับการนำหลักการทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับการวิจัย
2. ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลองหรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
3. การนำเสนอผลงาน หรือโครงการ โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่างๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA206 วิจัยธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2,1.3 -การเข้าร่วมกิจกรรม -การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1, 2.2, 2.3 3.1, 3.2, 3.3 4.1, 4.2, 4.3 5.1, 5.2,5.3 - รายงานการเขียนเค้าโครงร่างงานวิจัย - การนำเสนอหน้าชั้นเรียน - รูปเล่มรายงาน -การส่งงานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 2.1 ,2.2, 2.3 3.1, 3.2,3.3 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 9,17 25% 25%
เรวดี อันนันนับ, ดร. เฉลิมพร เย็นเยือก, ดร. ไกรชิต สุตะเมือง, และ ดร. กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :  พงษ์วริน พริ้นติ้ง, 2556.
ดร. เอกชัย อภิศักดิ์กุล, ดร. กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ, และจตุพร เลิศล้ำ. การวิจัยธุรกิจ.  เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า, 2552.
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท, 2551.
สิน พันธุ์พินิจ. เทคนิคการวิจัยทางสังคมสาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ : วิทยพัฒน์, 2551
กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์, 2549.
ยุทธ ไกยวรรณ์. พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.
สุวิมล ติรกานันท์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ แนวทางสู่การปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
สุรพล กาญจนจิตรา. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
ฐานข้อมูลงานวิจัย
https://tdc.thailis.or.th/tdc/
https://cuir.car.chula.ac.th/
https://dric.nrct.go.th/index.php?/Index
https://www.tci-thaijo.org/ https://tci-thailand.org/
1. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน สนทนากลุ่มระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน เพื่อระดมความคิด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเนื้อหา ปัญหา และการสรุปประเด็นความคิด การสะท้อนความคิดจากพฤติกรรมผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน ผลการเรียนของนักศึกษา
2. การทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา
มีระยะเวลาเพิ่มขึ้นให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติ โดยเฉพาะให้นักศึกษาทดลองการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหางานวิจัยด้วยตนเอง จากการฝึกการทบทวนวรรณกรรมต่างๆและการอ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ เรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบกลางภาคและปลายภาค และหลังจากการตัดเกรดผลการเรียนในรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในรายวิชาดังนี้
4.1 การทวนสอบจากการออกข้อสอบ การให้คะแนนสอบ หรืองานที่มอบหมาย และรวมถึงการให้คะแนนพฤติกรรมโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ สอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะผละผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงกิจกรรม/โครงการ/โครงการที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้นี้กับสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง