จริยธรรมและกฎหมายสารสนเทศ

Ethics and Information Law

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อบังคับ นโยบาย สิทธิความเป็นส่วนตัว และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในอาชญากรรมจากการใช้เทคโนโลยี ภัยคุกคามของระบบสารสนเทศ ประเด็นทางวิชาชีพและจริยธรรม
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับหลักกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่บัญญัติและบังคับใช้ในปัจจุบัน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการใช้ชีวิตต่อไป
 
ศึกษาผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมออนไลน์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อบังคับ นโยบาย สิทธิความเป็นส่วนตัว กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งไทยและสากล อาชญากรรมจากการใช้เทคโนโลยี ภัยคุกคามของระบบสารสนเทศ ประเด็นทางวิชาชีพและจริยธรรม องค์กรวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.1 อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านป้ายประกาศและเว็บไซต์ Facebook หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ
    3.2  อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาผ่าน email: kacharin@rmutl.ac.th
    3.3  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหลังเลิกเรียนทุกวันพุธ เวลา 15.00 น. ถึง 17.00 น.
1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
˜1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรมเสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
˜1.2 มีวินัยตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพและสังคม
˜1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
˜1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
˜1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
˜1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
˜1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.          ให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้แต่ละบุคคลในกลุ่มรับผิดชอบอย่างชัดเจน
2.          ให้นักศึกษามีการอภิปรายร่วมทั้งกลุ่มเรียนหลังจากการค้นหาข้อมูลกลุ่มย่อยแล้ว เพื่อสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3.          ให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์หาทางแก้ปัญหา จากโจทย์ปัญหาหรือกรณีตัวอย่างที่อาจารย์สร้างขึ้น
4.          ให้นักศึกษามีการฝึกปฏิบัติการจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดประสบการณ์ในการทำงานในอนาคต  
 
     สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาเป็นรายบุคคล ทำการสุ่มในการอภิปรายหน้าชั้นเรียน เขียนสรุปหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองในแต่ละครั้งที่มีการทำงานกลุ่ม ทำการสอบประเมินผลปลายภาคการศึกษาเน้นการใช้วิธีการวัดหลากหลายตามเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ผลการประเมินต้องสะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียน
 
2.  ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge)
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
š2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหาเข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
š2.3 สามารถวิเคราะห์ออกแบบติดตั้งปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด
š2.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์รวมทั้งการนำไปประยุกต์
š2.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
˜2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
š2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
š2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 
- การให้ภาพรวมของความรู้ก่อนเข้าสู่บทเรียน การสรุปย้ำความรู้ใหม่หลังบทเรียนพร้อมกับเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เลือกใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
- ใช้รูปแบบการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่นการบรรยาย ยกตัวอย่างประกอบการเรียนการสอน การอภิปรายกลุ่ม
- กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- ประเมินจากการสอบข้อเขียน
- ประเมินจากผลงานระหว่างภาคเรียน เช่น การบ้าน การเขียนรายงาน การนาเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
3.  ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องš3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
˜3.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 65
š3.3 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
š3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
- การมอบหมายงาน กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลอง ที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และ แก้ปัญหา
- การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
- ประเมินจากการสอบข้อเขียนด้วยโจทย์ที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญา
- ประเมินจากผลงานแก้ไขปัญหาที่ได้รับมอบหมาย
4.  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility)
˜4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
˜4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
˜4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
˜4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
š4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
š4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- มอบหมายงานทั้งรายบุคคลและกลุ่ม เช่น แบบฝึกหัด หรือรายงาน
- จัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ร่วมกัน
- ประเมินพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และ ความครบถ้วนชัดเจนของข้อมูล   
5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical  Analysis, Communication and Information Technology Skills)
š5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
˜5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
˜5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
˜5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอในรูปเอกสาร
- ประเมินจากความสามารถในการอธิบายเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการนำเสนองานต่อชั้นเรียน
- ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัยตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพและสังคม 1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม 1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหาเข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา 2.3 สามารถวิเคราะห์ออกแบบติดตั้งปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด 2.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์รวมทั้งการนำไปประยุกต์ 2.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง 2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ 2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง 2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ 3.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม 4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม 4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม 5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
1 BSCCT302 จริยธรรมและกฎหมายสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.6 2.1, 2.6 2.1, 2.6,3.2 2.1, 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 สอบปลายภาค 4 7 8 15 17 05% 05% 20% 10% 30%
2 1.1,1.2,1.3, 1.4,1.5,1.6, 3.2, 4.1,4.2,4.3, 4.4, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4 พิจารณาจากรายงาน ผลงานของนักศึกษา การนำเสนอรายงาน ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1,1.2,1.3, 1.4,1.5,1.6, 4.1,4.2,4.3, 4.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- พนิดา พานิชกุล. 2553. จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์
                 : กรุงเทพ
-  พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2564
     - วิสูตร ธนชัยวิวัฒน์และ อรทัย ธนชัยวิวัฒน์ . 2548. รวมกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ฉบับปรับปรุงใหม่ครบสมบูรณ์ พ.ศ.2549-2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์สูตรไพศาล : กรุงเทพฯ.