การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา

Vocational Curriculum Development

เพื่อให้นักศึกษา
     1. รู้ความสำคัญและองค์ประกอบของหลักสูตร           
     2. เข้าใจการประเมินผลและพัฒนาหลักสูตร                
     3. เห็นความสำคัญของการจัดทำและการนำหลักสูตรไปใช้
     4. มีสมรรถนะในการวิเคราะห์และจัดทำหลักสูตร         
     5. มีสมรรถนะในการประเมินหลักสูตรและนำผลการประเมินไปพัฒนาหลักสูตร
     6. เห็นคุณค่าของการมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม และการทำงานเป็นทีม และมีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู
     1. วิชานี้เป็นวิชาในหลักสูตรที่ทำการปรับปรุงใหม่ทั้งเล่มของปีการศึกษา 2565 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐาน เข้าใจในเรื่องหลักสูตรและการพัฒนา ตลอดจนบริบทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม
     2. ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบ CDIO มาประยุกต์ใช้ โดยการเลือกหน่วยเรียน/บทเรียนที่เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนของรายวิชาต่อไป
     3. ปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในการการจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะเกิดขึ้นหลังจากการจัดการเรียนการสอน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิดทฤษฎีหลักสูตร บริบทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรตามแนวทางและกรอบมาตรฐานหลักสูตรอาชีวศึกษา การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ กระบวนการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาและหลักสูตรระยะสั้นในสถานศึกษาและสถานประกอบการ การหาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม การออกแบบหลักสูตรรายวิชาให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของนักศึกษาในสถานประกอบการที่จัดการศึกษาในรูปแบบทวิภาคี การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตร การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร สภาพและปัญหาของหลักสูตรด้านอาชีวศึกษา
     1. อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์/กลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา และหน้าห้องพัก
     2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา สามารถขอปรึกษาตลอดเวลาโดยที่ผู้สอนจะคอยตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาตามความเหมาะสม
     1.1.1 แสดงออกซึ่งความรักและศรัทธาและภูมิใจในวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครูและ ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
     1.1.2 มีจิตอาสา จิตสาธารณะ อดทนอดกลั้น มีความเสียสละ รับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครอบครัว สังคมและประเทศชาติและเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
     1.1.3 มีค่านิยมและคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การเคารพสิทธิและให้เกียรติคนอื่น มีความสามัคคีและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และใช้เหตุผลและปัญญาในการดำเนินชีวิตและการตัดสินใจ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
     1.1.4 มีความกล้าหาญและแสดงออกทางคุณธรรมจริยธรรม สามารถวินิจฉัย จัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมด้วยความถูกต้องเหมาะสมกับสังคม การทำงานและสภาพแวดล้อม โดยอาศัยหลักการ เหตุผลและใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้สึกของผู้อื่นและประโยชน์ของสังคมส่วนรวม มีจิตสำนึกในการธำรงความโปร่งใสของสังคมและประเทศชาติต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นและความไม่ถูกต้อง ไม่ใช้ข้อมูลบิดเบือน หรือการลอกเลียนผลงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
     1. การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของครูต้นแบบ (Role model)
     2. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
     3. กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
     4. สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
     5. จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
     6. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกฝนการปฏิบัติตนที่ดี และกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกของการเป็นครู ผ่านการสะท้อนคิดทบทวนประสบการณ์ (Reflection) หรือการใช้กรณีศึกษาครูต้นแบบที่ได้รับการยกย่องในสังคม
     7. การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและ การปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
     1. การมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน การตรงเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
     2. ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
     3. ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย และการสอบ
     4. พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปราย การแสดงความคิดเห็น และการสะท้อนคิดทบทวนประสบการณ์กิจกรรมในชั้นเรียน
     5. ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
     6. พฤติกรรมการเรียน การปฏิบัติงานตามสภาพจริงหรือในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
     7. การใช้แบบวัดทางจิตวิทยา เช่น แบบวัดคุณธรรมจริยธรรม  ค่านิยม อุดมการณ์ จิตวิญญาณความเป็นครู ทักษะการเรียนรู้ ความรอบรู้ด้านต่าง ๆ
     8. การประเมินโดยเพื่อน ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
     2.1.1 มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเนื้อหาสาระด้านวิชาชีพของครู (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1) ของรายวิชา TEDCC828 การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา ดังนี้
             1. รู้ความสำคัญและองค์ประกอบของหลักสูตร           
             2. เข้าใจการประเมินผลและพัฒนาหลักสูตร                
             3. เห็นความสำคัญของการจัดทำและการนำหลักสูตรไปใช้
             4. มีสมรรถนะในการวิเคราะห์และจัดทำหลักสูตร         
             5. มีสมรรถนะในการประเมินหลักสูตรและนำผลการประเมินไปพัฒนาหลักสูตร
     2.1.2 มีความรู้และเนื้อหาในวิชาชีพ ด้านหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง ถ่องแท้รวมทั้งบริบทของอุตสาหกรรม มาตรฐานอุตสาหกรรมและ/หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาเฉพาะต่างๆ มีความสามารถในการใช้เครื่องมือ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การสร้าง การพัฒนากระบวนการ ขั้นตอนในการทำงาน โดยคำนึงถึงผลดีและผลเสีย ความปลอดภัยของอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์และชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริโภค สามารถติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาการที่เกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
    2.1.3 เข้าใจชุมชน เข้าใจชีวิต มีความรู้บริบทอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เข้าใจโลก และการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒธรรม สามารถเผชิญและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาผู้เรียน (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
     2.1.4 มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามมาตรฐาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.4)
     2.1.5 ตระหนักรู้ เห็นคุณค่าและความสำคัญของศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียน พัฒนางานและพัฒนาชุมชน (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.5)
     จัดการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ การสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ โดยใช้ศาสตร์การสอน รวมถึงการใช้เทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ และสื่อเทคโนโลยี และรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสาระวิชาและผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์การสอน ความรู้ เนื้อหาสาระ และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิด้านความรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิ
     1. การบรรยายเชิงปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
     2. การเรียนรู้จากกรณีศึกษาโดยการเรียนรู้แบบรวมพลัง (Collaborative Learning) อภิปรายเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการสอน และ/หรือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา และ/หรือ ความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม และ/หรือ หัวข้อปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรอาชีวะและเทคนิคศึกษา
     3. การเรียนรู้จากกระบวนการทำงานเป็นทีม (Team-based Learning)
     4. การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
     5. การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
     6. MOOC (Massive Open Online Course)
     7. จัดทำหลักสูตรรายวิชาและตัวอย่างเอกสารการสอนในรายวิชาระดับ ปวช. จำนวน 1 รายวิชา
     8. อภิปรายส่วนของเอกสารหลักสูตรของเพื่อนร่วมชั้นเรียนในรายวิชาที่ไม่ได้ทำ
     9. ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนำมาประยุกต์สร้างผลงานทางวิชาการ
     ใช้แนวคิดการวัดและประเมินตามสภาพจริง สอดคล้องกับเนื้อหา กิจกรรม และบริบทรายวิชา มีเป้าหมายของการวัดและประเมินเพื่อใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน การเรียน การสอน และการตัดสินผลการเรียน โดยมีกลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิด้านความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย อาทิ
     1. การทดสอบความรู้ เช่น การทดสอบความรู้ในเนื้อหารายวิชาที่เน้นทฤษฎี
     2. การวัดผลภาคปฏิบัติ/ทักษะการปฏิบัติ เช่น การนำเสนองาน โครงงาน รายงานการศึกษาค้นคว้า การวิจัยในชั้นเรียน การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
     3. การประเมินผลการปฏิบัติงาน เช่น การปฏิบัติตามสภาพจริงหรือในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
     4. การประเมินผลพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและการสะท้อนคิดกิจกรรมในชั้นเรียน
     3.1.1 สามารถคิด ค้นหา วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และประเมินข้อมูล สื่อ สารสนเทศ จากแหล่งข้อมูล ที่หลากหลายอย่างรู้เท่าทัน เป็นพลเมืองตื่นรู้มีสำนึกสากล สามารถเผชิญและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยีข้ามแพลทฟอร์มและโลกอนาคต นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และวินิจฉัยแก้ปัญหาและพัฒนางานได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้หลักการทางทฤษฎีประสบการณ์ภาคปฏิบัติค่านิยม แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ชาติบรรทัดฐานทางสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
     3.1.2 สามารถคิดริเริ่มและพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
     3.1.3 สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้จากการทำวิจัยและสร้างหรือร่วมสร้าง ผลิตภาพ หรือผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้าง นวัตกรรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชน สถานประกอบการและสังคม (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.3)
     1. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
     2. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
     3. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์/ปรากฏการณ์/ฉากทัศน์เป็นพื้นฐาน
     4. การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
     5. ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ 
     6. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
     7. การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
     1. สังเกตพฤติกรรมและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและการสะท้อนคิดกิจกรรมในชั้นเรียน
     2. ประเมินจากการนำเสนอรายงานหรือผลการปฏิบัติงาน การอ้างอิงแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้องตามหลักและจรรยาบรรณทางวิชาการ
     3. ประเมินจากคุณภาพของรายงาน ที่แสดงถึงการค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม การเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสม และการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
     4. ประเมินจากผลการวิเคราะห์แบบวิภาษวิธีเกี่ยวกับประเด็นวิกฤตทางวิชาการ วิชาชีพและทางสังคม
     5. ประเมินจากผลการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
     6. ประเมินจากผลการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
     7. ประเมินจากผลการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษา และพฤติกรรมการเรียน
     8. ประเมินจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
     4.1.1 รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น มีความคิดเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และทางสังคม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
     4.1.2 ทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำงานเป็นทีม เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครอง คนในชุมชน และผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ มีสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง ในวิชาชีพ เคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่น และความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
     4.1.3 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อตนเอง ต่อผู้เรียน ต่อผู้ร่วมงาน และต่อส่วนรวม สามารถ ช่วยเหลือและแก้ปัญหาตนเอง กลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
     4.1.4 มีภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ มีความเข้มแข็งและกล้าหาญทางจริยธรรม สามารถชี้นำ และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชนและสังคมอย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
     1. การเรียนรู้แบบรวมพลัง
     2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ
     3. ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ เช่น การเรียนแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติการ
     4. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
     5. การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
     6. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์/ปรากฏการณ์/ฉากทัศน์เป็นพื้นฐาน
     7. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
     8. การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
     9. การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
     1. วัดและประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปราย การแสดงความคิดเห็น และการสะท้อนคิดทบทวนประสบการณ์กิจกรรมในชั้นเรียน
     2. วัดและประเมินจากผลการเรียนแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติการ
     3. วัดและประเมินจากผลการนำเสนองานเป็นกลุ่ม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกัน
     4. วัดและประเมินจากการปฏิบัติงาน เช่น การปฏิบัติตามสภาพจริงหรือในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
     5. การประเมินโดยเพื่อน ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
     5.1.1 วิเคราะห์เชิงตัวเลข สำหรับข้อมูลและสารสนเทศ ทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ หรือคณิตศาสตร์ เพื่อเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
     5.1.2 สื่อสารกับผู้เรียน บุคคลและกลุ่มต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการหลากหลาย ทั้งการพูด การเขียน และการนำเสนอด้วยรูปแบบต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
     5.1.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูปหรือแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์ม รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนที่ทันสมัย จำเป็นสำหรับการจัดการเรียนรู้ การวิจัย การทำงาน และการประชุม รวมทั้ง สามารถติดตามความก้าวหน้า การจัดการและสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รับและส่งข้อมูลและสารสนเทศ โดยใช้ดุลยพินิจที่ดีในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศ อีกทั้งตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ และการลอกเลียนผลงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
     1. การติดตาม วิเคราะห์ และนำเสนอรายงานประเด็นสำคัญด้านการศึกษาจากข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์
     2. การสืบค้นและนำเสนอรายงานประเด็นสำคัญด้านการศึกษาโดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
     3. การจัดทำอินโฟกราฟิกเพื่อสรุปประเด็นสาระสำคัญของงานที่นำเสนอ
     4. การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
     5. การจำลองการทำงานโดยใช้ ซอฟต์แวร์หรือเพล็ตฟอร์ม
     6. การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
     1. วัดและประเมินจากการติดตาม วิเคราะห์ และนำเสนอรายงานที่แสดงถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข
     2. วัดและประเมินจากผลการสืบค้นและนำเสนอรายงานประเด็นสำคัญการศึกษาที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
     3. ประเมินจากการอ้างอิงแหล่ง ข้อมูล อย่างถูกต้องตามหลักและจรรยาบรรณทางวิชาการ
     4. วัดและประเมินจากการปฏิบัติงาน เช่น การปฏิบัติตามสภาพจริงหรือในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
     5. ประเมินจากการสอบภาคทฤษฎี หรือภาคปฏิบัติ
     6.1.1 มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้และสอนงาน ด้วยรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถออกแบบและสร้างหลักสูตรรายวิชาในชั้นเรียน หรือหลักสูตรฝึกอบรม วางแผนและออกแบบเนื้อหาสาระและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้บริหารจัดการชั้นเรียน และ/หรือ สถานประกอบการ ใช้สื่อและเทคโนโลยีวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
     6.1.2 มีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและจัดการเรียนรู้หรือสอนงาน ได้อย่างหลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนปกติหรือที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษหรือต่างวัฒนธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
     6.1.3 จัดกิจกรรมและออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติและการทำงานในสถานการณ์จริงที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาการคิด การทำงาน การจัดการการเผชิญสถานการณ์ ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยบูรณาการการทำงานกับ การเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนา (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.3)
     6.1.4 สร้างบรรยากาศ และจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน แหล่งวิทยาการ เทคโนโลยีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้มีความสามารถในการประสานงานและสร้างความร่วมมือ กับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรอบรู้มีปัญญารู้คิดและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องให้เต็มตามศักยภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.4)
     6.1.5 สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะศตวรรษที่ ๒๑ และเทคโนโลยีมาใช้ในการ จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาตนเอง เช่น ทักษะการเรียนรู้(Learning Skills) ทักษะการรู้เรื่อง (Literacy Skills) และทักษะชีวิต (Life Skills) ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.5)
     1. การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการความรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้วยวิธีที่หลากหลาย
     2. จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ได้แก่ การจัดทำแผน    การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การผลิตสื่อ และการใช้สื่อ การวัดประเมินผล การปฏิบัติ   การสอนแบบจุลภาค (Micro teaching) การวิจัยในชั้นเรียน
     3. จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงในด้านการปฏิบัติงานครูจากการปฏิบัติการสอนระหว่างเรียนและในสถานศึกษา
     4. จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้าน  การสอนผ่านการสังเกตการสอน การสัมภาษณ์
     5. จัดให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนที่ได้ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาต่าง ๆ
     6. จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากต้นแบบ เช่น ครูผู้สอน ครูประจำชั้น ครูพี่เลี้ยง
     7. การทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
     8. การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของครูต้นแบบ
     1. เน้นการประเมินตามสภาพจริง ในเรื่องความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและความเป็นครู
     2. ประเมินผลงานของนักศึกษาจากบันทึกการสอนประจำวัน บันทึกการนิเทศ บันทึกการสังเกตการสอนของครูพี่เลี้ยง แผนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการทำงานวิจัยในชั้นเรียน การทำแฟ้มสะสมงาน สรุปผลการปฏิบัติการสอนหรือการฝึกประสบการณ์ รายงานผลการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน
     3. สังเกตการสอนในชั้นเรียน และประเมินแบบบันทึกหลังการสอน โดยครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา
     4. ประเมินงานวิจัยในชั้นเรียนโดยครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์
     5. ประเมินการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5
1 TEDCC828 การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.3, 2.5, 3.1, 5.2, 6.1 สอบกลางภาค 9 25%
2 2.1, 2.3, 2.5, 3.1, 5.2, 6.1 สอบปลายภาค 17 25%
3 1.2, 2.1, 3.1, 3.2, 5.2, 5.3 การส่งงานกลุ่ม/การบ้านตามที่มอบหมาย เช่น 1) หลักสูตรการอาชีวศึกษา 2) การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1.1, 1.2, 4.3, 4.4 การมีระเบียบวินัย การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 1.2, 3.1, 3.2, 4.3, 4.4 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 1.1, 2.1, 2.3, 3.1, 3.2, 4.3, 5.2, 5.3, 6.1, 6.3 ผลงานการทำหลักสูตรรายวิชา ตลอดภาคการศึกษา 20%
     1.  กาญจนา คุณารักษ์. (2540). หลักสูตรและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
     2.  แก้วตา คณะวรรณ. (2535). การสร้างหลักสูตร. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2543). สำนักนายกรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542.
     3.  ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
     4.  ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล, ดร. (2529). การพัฒนาหลักสูตร : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต.
     5.  ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ : พัฒนศึกษา.
     6.  ธำรง บัวศรี. ศาสตราจารย์ ดร.(2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
     7.  นิศา ชูโต. (2531). การประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : พีเอ็นการพิมพ์.
     8.  บุญจิตต์ ฉัตรภูติ. (2532.) หลักสูตรและประมวลการสอนการศึกษาเทคนิค. กรุงเทพฯ:คณะวิศวกรรมเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
     9.  บุญเลี้ยง ทุมทอง, ดร. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
     10.  มาเรียม นิลพันธุ์. (2543). หลักสูตรและการสอน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
     11.  วัฒนาพร ระงับทุกข์, ดร. (2545). การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
     12.  วิชัย ดิสสระ. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
     13.  วิชัย วงษ์ใหญ่, รศ.ดร.(2525). พัฒนาหลักสูตร และการสอน-มิติใหม่. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
     14.  วิราพร พงศ์อาจารย์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
     15.  วีระพรรณ จันทร์เหลือง. (2548). เอกสารประกอบการสอนประกอบการสอนวิชาหลักสูตรและการพัฒนารายวิชาช่างเทคนิค : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตาก.
     16.  ศรีราชา เจริญพานิช, ศ. ดร. และศาสตราจารย์นิรันต์ เศรษฐบุตร. (2555). “ธรรมาภิบาลเพื่อการขับเคลื่อนการศึกษา”, จุลสาร สมศ. 9 (พิเศษ).
     17.  สงัด อุทรานันท์. (2538). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
     18.  สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
     19.  สันต์ ธรรมบำรุง. (2527). พื้นฐานและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : วงเดือน.
     20.  สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2541). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
     21.  สำลี รักสุทธี และคณะ (2545). แนวการศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสำนักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนา จำกัด.
     22.  สุจริต เพียรชอบ. (2548). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
     23.  สุมิตร คุณานุกร. (2520). หลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชวนชม.
     24.  อำนาจ จันทร์แป้น. (2532). การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีการปฏิบัติระดับโรงเรียน. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.
     25.  Beauchamp, George A. (1975). A curriculum Theory. 3rd Illinois : The Kagg Press
     26.  Beauchamp, George A. (1968). The Curriculum of Elementary School. Boston : Allyn and Bacon Inc.
     27.  Beauchamp, G. (1975). Developing The Curriculum. New York : Harper Collins.
     28.  Cronbach Lee J.. (1970). Essential of Psychological Testing. 3rd ed. New York : Harper Row.
     29.  Saylor, J.G. & Alexander. W.M. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York : Holt Rinehart & Winston.
     30.  Stufflebeam, Danniel L. (1985). “Education Evaluation and Decision Making” Education Evaluation : Theory and Practice. California : Wadsworth Publishing.
     31.  Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcouit Brace & World, Inc.
     32.  Tanner, D. & L.N.Tanner. (1980). Curriculum development : theory into practice. New York : macmillan.
     33.  Tyler, R.W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago : University of Chicago Press.  แก้ไข
เนื้อหาในหัวข้อที่มอบหมายให้ศึกษาด้วยตนเองที่ผ่านการแนะนำจากผู้สอน
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     1.3 ข้อเสนอแนะผ่านกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชาที่จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
      2.1  การประเมินกลยุทธ์การสอน
           กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ การออกแบบวิธีการวัดและประเมินโดยใช้แนวคิดการประเมิน ตามสภาพจริง วิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับเนื้อหา กิจกรรม และบริบทรายวิชา มีเป้าหมายของการวัดและประเมินเพื่อใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน การเรียนการสอน และการตัดสินผลการเรียน ใช้การวัดและประเมิน เป็นกลไกหรือเครื่องมือที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นทำให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง และมีข้อมูลสารสนเทศในการปรับปรุงพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และทำให้ผู้เกี่ยวข้องในหลักสูตรมีข้อมูลสารสนเทศในการเตรียมความพร้อมและส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนในการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยมีกลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี และ 6) ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ อาทิ (1) การสังเกต เช่น พฤติกรรมการเรียน การทำงานตามสภาพจริง การปฏิบัติตามสภาพจริงหรือ ในห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูฯลฯ (2) การประเมินโดยเพื่อน พ่อแม่ผู้ปกครอง (3) การประเมินกรณีศึกษา (4) การใช้แบบวัดทางจิตวิทยา เช่น แบบวัดคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความเป็นครูทักษะการเรียนรู้ ความรอบรู้ด้านต่างๆ ทักษะดิจิทัล ฯลฯ (5) การทดสอบความรู้ เช่น การทดสอบความรู้ในเนื้อหารายวิชาที่เน้นทฤษฎี (6) การวัดผลภาคปฏิบัติ/ทักษะการปฏิบัติ เช่น การนำเสนองาน โครงงาน รายงานการศึกษาค้นคว้า การวิจัยในชั้นเรียน การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ฯลฯ
      2.2 การประเมินทักษะของอาจารย์ในการใช้แผนกลยุทธ์การสอน
            การประเมินทักษะดังกล่าวสามารถทำโดยการ
            2.2.1 ประเมินโดยนักศึกษาในแต่ละวิชา
            2.2.2 การสังเกตการณ์ของผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ประธานหลักสูตร และ/หรือทีมผู้สอน
            2.2.3 ภาพรวมของหลักสูตรประเมินโดยบัณฑิตใหม่
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับสภาพรายวิชาและการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน
     3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
     3.3 ความเหมาะสมของกิจกรรมการจัดการเรียนเรียนการสอนที่สามารถส่งเริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1  มีคณะกรรมการตรวจสอบรายละเอียดของรายวิชา รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม และกิจกรรมเสริมความเป็นครูตลอดหลักสูตร รวมทั้งการกำกับให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
     4.2  มีการทวนสอบผลการเรียนรู้ของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
     5.1  ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
     5.2  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4