องค์ประกอบศิลป์ 2

Composition 2

1. รู้ความหมาย รูปแบบ ลักษณะของการจัดองค์ประกอบศิลป์ในลักษณะต่างๆ
2. เข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ ในทางเนื้อหา องค์ประกอบศิลป์ วิธีการสร้างสรรค์
เพื่อพัฒนารูปแบบไปสู่งานในสาขาวิชาเอกได้
3. ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกฝนทักษะปฏิบัติงานเส้นสร้างสรรค์อย่างเข้าใจ
สามารถนำเสนอผลงานและแสดงทัศนะในทางสร้างสรรค์ได้ถูกต้องตามจุดมุ่งหมาย
4. เห็นคุณค่างานสร้างสรรค์องค์ประกอบศิลป์และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อให้นักศึกษาใช้ความรู้ในการเรียนวิชาองค์ประกอบศิลป์นำมาปรับปรุงรูปแบบผลงาน พร้อมทั้งศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ปฏิบัติงานศิลปะอันมีรูปแบบและลักษณะเฉพาะวิธีการลักษณะต่างๆ รวมถึงการฝึกการคิดวิเคราะห์การสร้างสรรค์ในทางเนื้อหา และการสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการในการนำเสนอผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน รวมทั้งสามารถกระตุ้นให้นักศึกษานำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนในวิชาเอกอื่น ๆ โดยเฉพาะทางจิตรกรรมได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคนิควิธีการที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิค รูปแบบเนื้อหาแนวคิดในการนาเสนอผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน
1 ชั่วโมง
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการสร้างสรรค์ศิลปะการวาดเส้นอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่ได้จากการสร้างสรรค์ศิลปะต่อบุคคลองค์กรและสังคม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขและพัฒนา
1.1.7.มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
 
1.2.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.2.2 ศึกษา-อ้างอิงข้อมูลที่ได้นำมาเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.2.3 ประเมินผลการศึกษาจากผลงานการสร้างสรรค์ พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลงานเป็นกรณีศึกษา
1.2.4 ประเมินผลจากการนำเสนอผลงานที่มอบหมาย
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้สมบูรณ์ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการเก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานมาวิเคราะห์เป็นกรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่มที่สำเร็จและนำเสนอเป็นรายงานตามที่มอบหมาย
 
2.1.1 มีความรู้เชิงทฤษฎีตามหลักการการจัดองค์ประกอบศิลป์
2.1.2 ในทางทักษะวิธีการของกระบวนการสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆที่มีหลักการทางองค์ประกอบศิลป์
2.1.3 สามารถแสดงออกได้ถึงเนื้อหา แนวความคิดของการสร้างสรรค์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานในการสร้างสรรค์และการนำเสนอผลงานที่มีอัตลักษณ์ของตน
2.1.4 สามารถวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ของตนเองตามหลักองค์ประกอบศิลป์ในลักษณ์ต่างๆได้
2.2.1 ทดสอบบรรยายลักษณะเบื้องต้นของสร้างสรรค์ วิธีการสร้างสรรค์องค์ประกอบศิลป์โดยการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการศึกษาพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางการสร้างสรรค์รูปวาด เช่น การศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะกรรรมจากศิลปินที่มีชื่อเสียง เป็นต้น
2.2.2 สอนทักษะวิธีการในการมองเห็น ความเข้าใจในเรื่องการกำหนดวิธีการทางการจัดการวัสดุ วิธีการสร้างสรรค์ การทำความเข้าใจคุณสมบัติทางพื้นที่สิ่งแวดล้อมทางศิลปะ ฯลฯ เพื่อสร้างเนื้อหาเรื่องราวการสร้างแรงบันดาลใจของการสร้างสรรค์องค์ประกอบศิลป์ในลักษณะเฉพาะตน
2.2.3 กำหนดให้นักศึกษาฝึกฝนเทคนิควิธีการในสร้างสรรค์ลักษณะต่างๆจนเกิดความชำนาญและเข้าใจหลักทฤษฏีทางองค์ประกอบศิลป์ นำมาศึกษาหาวิธีการนำเสนอแนวความคิด เนื้อหาเรื่องราว รูปแบบวิธีการสร้าง พร้อมขยายผลงานให้มีความสมบูรณ์เพื่อทำความเข้าใจหลักความงาม
2.3.1 ทดสอบย่อยตามหัวข้อแผนการสอนตลอดภาคการศึกษา โดยมีหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นกาหลักการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามหลักทฤษฏีวิชาองค์ประกอบศิลป์
2.3.2 ประเมินสรุปปลายภาค จากการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ที่เสร็จสมบูรณ์จากการค้นคว้าข้อมูล ฝึกฝนเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ จนได้ผลงานทางองค์ประกอบศิลป์ที่แสดงแนวความคิดตนเอง
3.1,1 พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบสามารถเรียนรู้และวางแผนในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ได้ ฝึกการนำเสนอผลงานการสร้างทางองค์ประกอบศิลป์ ในแบบต่างๆกับเพื่อนนักศึกษา และอาจารย์ประจำวิชา เพื่อให้เกิดการแสดงออกทางความคิด การแลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนะในทางการสร้างสรรค์ เพื่อให้มีการวิเคราะห์ทบทวนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสร้างสรรค์อย่างใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงเป็นรูปแบบการทำงานของนักศึกษาเอง
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากวัสดุ,พฤติกรรมทางสังคมและภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นในแบบเหมือนจริงในขั้นต้นก่อนจะให้ปรับเข้าสู่การสร้างสรรค์ผลงานโดยเน้นเรื่องการนำเสนอแนวความคิด การสร้างเนื้อหาเรื่องราวและการจัดองค์ประกอบของชิ้นงาน
3.2.2 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้เกิดทักษะความชำนาญในกระบวนการสร้างสรรค์ภาพจากเทคนิควิธีและทฤษฏีการจัดการวัสดุในลักษณะต่างๆ นำมาฝึกฝนสร้างผลงานการสร้างสรรค์เบื้องต้นก่อนจะให้ปรับเข้าสู่การสร้างสรรค์ผลงานโดยเน้นเรื่องการนำเสนอแนวความคิด การสร้างเนื้อหาเรื่องราวและการจัดองค์ประกอบของภาพวิเคราะห์กรณีศึกษา
3.2.3 หารูปแบบแรงบันดาลใจส่วนตน ค้นคว้าหาข้อมูลในการนำรูปแบบผลงานศิลปะลักษณะต่างๆศึกษาอย่างเหมาะสม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะส่วนตน
3.2.4 ฝึกการนำเสนอผลงานการสะท้อนแนวคิดจากการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนทัศนคติทางการสร้างสรรค์เพื่อเป็นประโยชน์แก่การพัฒนางานต่อไป
3.3.1 ทดสอบย่อยตลอดภาค ด้วยหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นการวัดหลักการทฤษฏีและปฏิบัติ
3.3.2 ประเมินสรุปปลายภาค จากการนำเสนอผลงานที่เสร็จสมบูรณ์จากการค้นคว้าข้อมูล ฝึกฝนเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ จนได้ผลงานทางองค์ประกอบศิลป์ ที่แสดงแนวทางในการสร้างสรรค์ของตนเอง
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง การคิดและการปฏิบัติ นำมาสร้างผลงานทางองค์ประกอบศิลป์ ในแบบต่างๆได้
4.2.2 การมอบให้นักศึกษาวิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยฝึกให้หาวิธีนำเสนอและตรวจทานความคิดร่วมกันในแต่ละประเด็นการศึกษา และแก้ไขปัญหาทางด้านการมองการสร้างสรรค์ผลงานจากวิธีการต่างๆ วิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.3 ศึกษาวิธีการนำเสนอผลงานการสะท้อนแนวความคิดจากการปฏิบัติงาน แรงบันดาลใจเนื้อหาการสร้างสรรค์ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนทัศนคติเพื่อเป็นประโยชน์แก่การพัฒนางานต่อไป
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากการปฏิบัติงานช่วงระหว่างเวลาเรียน พฤติกรรมการทำงานร่วมกัน
4.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลงานการศึกษาด้วยตนเอง และการแลกเปลี่ยนทัศนคติภายในกลุ่ม
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ วัดสัดส่วน มุมมอง ทิศทาง จากหลักทัศยนียวิทยา
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสร้างงานองค์ประกอบศิลป์ ให้ได้ตรงลักษณะกระบวนการสร้างสรรค์
ในลักษณะต่างๆ และเข้าใจถึงหลักหลักทางสุนทรียวิทยา
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง การคิดและการปฏิบัติ นำมาสร้างผลงานทางองค์ประกอบศิลป์ ในแบบต่างๆได้
5.2.2 การมอบให้นักศึกษาวิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยฝึกให้หาวิธีนำเสนอและตรวจทานความคิดร่วมกันในแต่ละประเด็นการศึกษา และแก้ไขปัญหาทางด้านการมองการสร้างสรรค์ผลงานจากวิธีการต่างๆ วิเคราะห์กรณีศึกษา
5.2.3 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ที่มีข้อมูลทางศิลปะ จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.4 เก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลงาน,ขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยหัวข้อการสร้างสรรค์ที่กำหนด
5.3.2 ประเมินจากปฏิบัติงานภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน พฤติกรรมการทำงานร่วมกัน
5.3.3 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ที่เหมาะสม
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ  
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
  6.1.3 ผลงานสร้างสรรค์ที่มีทั้งทักษะฝีมือที่ดี และมีความสอดคล้องกับแนวความคิดสร้างสรรค์ ผลงานอัตลักษณ์เฉพาะตนในทางทัศนศิลป์
6.2.1 ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วย
6.2.2 สังเกตและประเมินผลงานการทำภาพร่างมีความสวยงามและมีความเป็นไปได้ต่อการนำมาขยายเป็นผลงานจริงได้
6.3.1 ประเมินผลจากผลงานสร้างสรรค์ที่มีทั้งทักษะฝีมือที่ดี และเป็นไปตามความงามทางหลักการวิชาองค์ประกอบศิลป์ 
6..3.2 ประเมินจากความสอดคล้องกับแนวความคิดสร้างสรรค์ ผลงานอัตลักษณ์เฉพาะตนในทางทัศนศิลป์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้คน 1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 2.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 2.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตราฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา 3.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน 3.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ 3.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภานไหวพริบในการสร้างผลงาน 4.1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 5.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และการนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 6.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 6.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BFAVA113 องค์ประกอบศิลป์ 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความหมายขององค์ประกอบศิลป์ในงานทัศนศิลป์ ประะเมินด้านความรู้เชิงทฤษฎี และผลงานด้านปฏิบัติ 1 6
2 ทัศนธาตุพื้นฐานในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ประะเมินด้านความรู้เชิงทฤษฎี และผลงานด้านปฏิบัติ 2 - 4 17
3 หลักการสร้างสรรค์งานศิลปะตามหลักองค์ประกอบศิลป์ ประะเมินด้านความรู้เชิงทฤษฎี และผลงานด้านปฏิบัติ 5 - 11 40
4 วิธีการจัดภาพและวิธีการนำเสนอผลงานศิลปะ ประะเมินด้านความรู้เชิงทฤษฎี และผลงานด้านปฏิบัติ 12 - 14 17
5 สัญลักษณ์และแนวความคิดของการแสดงออกเฉพาะตน ประะเมินด้านความรู้เชิงทฤษฎี และผลงานด้านปฏิบัติ 15 - 16 10
6 คุณธรรม จริยธรรม - การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ผลงาน 1 - 17 10
- กำจร สุนพงษ์ศรี. ศิลปะสมัยใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
- กำจร สุนพงษ์ศรี. สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
- จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. โลกศิลปะศตวรรษที่20. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2552
- ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ : Composition of art. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2557
- อิทธิพล ตั้งโฉลก. แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์อัมรินทร์ ปริ้นติ้ง, 2550
 
 
- หนังสือศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่9, พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพ : อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2540
- https://www.google.com/culturalinstitute/beta/
- https://en.wikipedia.org/wiki/Composition_(visual_arts
- https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_art
- http://www.rama9art.org/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาสามรถปรึกษาอาจารย์ได้ทุกเวลา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือจากการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมต่าง ๆ