สัมมนาทางวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ

Seminar in Agricultural and Biological Engineering

ศึกษาและฝึกปฏิบัติโดยให้นักศึกษาค้นคว้า รวบรวมเรื่องราวและข้อมูลในหัวข้อที่สนใจในสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทำรายงานและนำเสนอที่ประชุมและสัมมนา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และสามารถในการค้นคว้า รวบรวมเรื่องราวและข้อมูลในหัวข้อที่สนใจในสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทำรายงานและนำเสนอที่ประชุมและสัมมนา
การค้นคว้า รวบรวมเรื่องราวและข้อมูลในหัวข้อที่สนใจในสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทำรายงานและนำเสนอที่ประชุมและสัมมนา
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้จากวิชาการเรียนรู้ปัญหาในงานวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ เช่น การทำการเกษตรในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นต้น 1.2.2 ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในห้องเรียนและให้การบ้านหลังจากจบคาบเรียน กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   ประเมินจากผลการทำแบบทดสอบในห้องเรียน
มีความรู้ในการรวบรวมปัญหาจากการทำงานการศึกษาดูงานการบริการวิชาการกับชุมชนหรืออุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการ หรือค้นคว้าประเด็นที่อยู่ในความสนใจทางวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพแล้วกำหนดปัญหาค้นคว้าผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องแสดงวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาที่ผ่านโดยนักศึกษาต้องเขียนรายงานเขียนบทความและนำเสนอรายงาน
บรรยาย  อภิปราย ทำแบบทดสอบฝึกปฏิบัติ และมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยนำมาสรุป จัดทำรายงานและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ให้นักศึกษานำเสนอโครงร่างวิศวกรรมที่ตนสนใจ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาการเรียนรู้ปัญหาในงานวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
3.2.1 ให้นักศึกษาลงมือทำแบบทดสอบในห้องเรียนและทำการเฉลยแบบทดสอบท้ายคาบเรียนเพื่อให้เกิดแนวคิดในการแก้ปัญหา 3.2.2บรรยายเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและทำการอภิปรายปัญหาเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกคิดวิธีแก้ปัญหา
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 3.3.2 วัดผลจากการประเมินแบบทดสอบในคาบเรียน 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา 3.3.4 โครงงานประจำวิชา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1  จัดกิจกรรมกลุ่มในการทำแบบทดสอบในชั้นเรียน 4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น ให้นักศึกษาร่วมกันแก้ปัญหาที่ได้จากการบ้าน
4.3.1   สังเกตการทำงานเป็นกลุ่มของนักศึกษา 4.3.2  ประเมินจากแบบทดสอบในคาบเรียน  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง 
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ 5.1.2   พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาและปรับปรุงการเรียนรู้ปัญหาในงานวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
5.2.1   บรรยายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนรู้ปัญหาในงานวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพจากชีวิตประจำวันสอดแทรกระหว่างคาบเรียนเพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยมากขึ้น 5.2.2   ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบ แบบฝึกหัด รวมไปถึงการบ้านซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนรู้ปัญหาในงานวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพจากชีวิตประจำวัน
5.3.1   ประเมินจากการสังเกตนักศึกษาในคาบเรียนว่ามีการตอบสนองกับคำถามอย่างไร 5.3.2   ประเมินจากแบบทดสอบ แบบฝึกหัด รวมไปถึงการบ้านที่นักศึกษาทำ
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมี ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
บรรยายและยกตัวอย่างประกอบ (ด้านการหางานวิจัยที่เกี่ยว การอ่านสรุปจับใจความ วิธีการวางแผนการทดลองเป็นต้น)
ประเมินจากการรายงานความก้าวหน้า การนำเสนอ และรูปเล่มรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG112 สัมมนาทางวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1, 6.1 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1, 6.1 การสอบหัวข้อโครงงานวิศวกรรมกับกรรมการสอบ ตลอดภาคการศึกษา 80%
คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. 2555. การค้นคว้าและการเขียนรายงาน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์  มหาวิทยาลัย. 236 หน้า.
เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิ์ผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ