กายวิภาค

Anatomy

1.  รู้จักชื่อกระดูกและกล้ามเนื้อที่สำคัญๆ ในร่างกายของคนและสัตว์
2.  เข้าใจระบบหน้าที่การทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อที่สำคัญในร่างกายคนและสัตว์
3.  เข้าใจสัดส่วนร่างกายของมนุษย์ในเพศและวัยต่างๆ
4.  เข้าใจหลักการเขียนภาพคนและสัตว์ในลักษณะท่าทางต่างๆ ได้ถูกต้องตามหลักวิชากายวิภาค
5.   เห็นความสำคัญในการเขียนภาพคนและสัตว์ให้ถูกต้องตามหลักวิชากายวิภาค สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างกระดูกและการทำงานของกล้ามเนื้อของคนและสัตว์ สามารถนำความรู้ ไปพัฒนาเป็นพื้นฐานสร้างสรรค์ผลงานด้านทัศนศิลป์
ศึกษากระดูกและกล้ามเนื้อของคนและสัตว์ สัดส่วนและรูปลักษณะร่างกายของคนและสัตว์ ทดลองปฏิบัติการเขียนส่วนต่าง ๆ ของคนและสัตว์ในกิริยาท่าทางต่าง ๆ สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ Examine human and animal anatomy, including skeletal, muscular, proportions, and figures. Try out drawing parts of humans and animals in different gestures and utilize them in creating visual arts.
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ให้คำปรึกษาแนะนำและตอบข้อสักถามของนักศึกษาเป็นรายบุคคล  -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ข้อ 1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม    
ข้อ 2  มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น    
ข้อ 3  มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของผู้อื่นและเพื่อนในชั้นเรียน   มีความซื่อสัตย์ในการเรียนและการสอบภาคทฤษฎี โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.2.1  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.2.2  มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.2.3  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.4  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.2.5  สามารถวิเคราะห์ผลหาข้อสรุปเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน
1.2.6  เห็นความสำคัญในการเขียนภาพคนและสัตว์ให้ถูกต้องตามหลักกายวิภาคสามารถนำไปใช้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์  รับผิดชอบและปฏิบัติงานตรงเวลา
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และตั้งใจฟังการบรรยายด้วยความตั้งใจ
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำทดลองปฏิบัติการเขียนรูป อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
ข้อ 1  รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรมและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง      
 
ข้อ 2  มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ  
 
ข้อ 3  มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม   
 
ข้อ 4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา 
ศึกษากระดูกและกล้ามเนื้อของคนและสัตว์ สัดส่วนและรูปลักษณะร่างกายของคนและสัตว์ ปฏิบัติการเขียนส่วนต่าง ๆ ของคนและสัตว์ในกิริยาท่าทางต่าง ๆ สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2. ประเมินจากผลงานการเขียนภาพตามที่มอบหมาย
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
ข้อ 1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมนข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน   
ข้อ 2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์      
ข้อ 3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้   
ข้อ 4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
พัฒนาความสามารถในการฟัง การศึกษา และทำความเข้าใจในระบบและโครงสร้างทางกายวิภาคของคนและสัตว์ ทดลองปฏิบัติการเขียนส่วนต่างๆเพื่อความเข้าใจให้มากและพร้อมนำไปใช้ประกอบการสร้างงานทัศนศิลป์
1. สอบกลางภาคและปลายภาค  ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2. วัดผลจากผลงานที่ทดลองปฏิบัติการเขียนรูปส่วนต่างๆของร่างกาย
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
ข้อ 1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี       
ข้อ 2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเองและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ   
ข้อ 3 สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมาและเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
1.  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2.  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม
1.   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยการวิจารณ์ผลงานที่ได้ฝึกปฏิบัติ
2.   ประเมินจากความร่วมมือในการแบ่งงานกันอย่างมีระบบ และทำงานเป็นทีม
3.   ประเมินจากการนำเสนอผลงานได้ตามกำหนด
ข้อ 1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้การสื่อสารทางศิลปกรรมและนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ        
ข้อ 2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   
ข้อ 3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลขหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
1. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียนรูป  และนำเสนอในชั้นเรียน
2. พัฒนาทักษะในการสืบค้น จากตำรา และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
3. ทักษะในการนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1.  ประเมินจากผลงาน และงานที่เสร็จสมบูรณ์
2.  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานและวิธีการนำเสนอ
ข้อ 1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ    
ข้อ 2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง                             
ข้อ 3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
- การพัฒนาทักษะในการเรียนรู้อย่างเข้าใจและนำไปปฎิบัติได้จริงในการสร้างสรรค์ผลงาน
- ประเมินจากสภาพจริงของผลงาน และการพัฒนาของผลงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสรุป
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1
1 BFAVA105 กายวิภาค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9,17 30%, 30%
2 1-4 ศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1-4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมวิจารณ์ผลงานและอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กายวิภาคสำหรับนักศึกษาศิลปะ,กายวิภาคสำหรับผู้ศึกษาศิลปะ,กายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยาของมนุษย์,กายวิภาคศาสตร์ระบบเคลื่อนไหว, Human Anatomy for the Artis, Artistic Anatomy,An Atlas of Anatomy for Artists
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อวิชากายวิภาคทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทั้งรูปภาพและเนื้อหา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดทุกครั้ง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบความก้าวหน้าและความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยผลงานสร้างสรรค์เพื่อประกอบการเรียนรู้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา และสังเกตความก้าวหน้า ความเข้าใจ และพัฒนาของผลการปฏิบัติงาน 4.1  การให้คะแนนจากการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบโครงงานงาน วิธีการให้คะแนนโครงงานผลงานที่ปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ