การจัดการฝึกอบรมสัมมนาและการประชุม

Conference and Meeting Management

1. ทราบความหมายและความสำคัญของการฝึกอบรม สัมนาและการประชุม 2. ทราบกระบวนการฝึกอบรมสัมนาและการประชุม 3. เข้าใจและสามารถเขียนโครงการฝึกอบรม รวมถึงการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอบรม 4. มีทักษะในการจัดฝึกอบรมสัมนาและการประชุม 5. มีทักษะในการติดต่อประสานงานทั้งภายในและภายนอก
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการเขียนโครงการ  ฝึกทักษะการจัดโครงการฝึกอบรมรวมถึงการเลือกใช้เทคนิคต่างๆในการฝึกอบรม การจัดห้องและสถานที่ในการฝึกอบรม  การติดต่อสื่อสารและการประสานงานที่เหมาะสม การผลิตสื่อและเอกสารประกอบการอบรมและการประเมินผล รวมถึงมีความรู้และทักษะในการจัดนิทรรศการและการประชุม
ความหมายของการประชุม สัมมนา และการจัดนิทรรศการ ประเภทของการจัดการประชุม และการจัดนิทรรศการทั้งในรูปแบบออนไลน์และจัดตามสถานที่ ความเกี่ยวข้องกับธุรกิจอื่น ๆ สิ่งจำเป็นพื้นฐานและปัจจัยเกื้อหนุนในการดำเนินธุรกิจ ประชุม สัมมนา และการจัดนิทรรศการ การเตรียมการและการบริหารการประชุม สัมมนา นิทรรศการ และงานแสดงสินค้า การบริหารราคา การสร้างและศึกษาความพอใจในการจัดสัมมนา นิทรรศการและการประชุม กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าการจัดฝึกอบรม สัมมนา และการประชุม
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 4. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 1. ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ  2. กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ  3. ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มในช่วงการอภิปรายระดมสมอง  4. ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน สม่ำเสมอและตรงต่อเวลา 2. ส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด 3. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน 4. การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น
1.  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชา ที่ศึกษา 3. สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.การบรรยายตามเนื้อ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน
2.รวมกลุ่มอภิปรายและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
3.ศึกษาความรู้จากสื่อประกอบการสอน เช่น จากเว็บไซต์ออนไลน์ต่าง ๆ
4.ฝึกการปฏิบัติจริง
1.ทดสอบกลางภาคและปลายภาค 2.การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน 3.การจัดฝึกอบรม, นิทรรศการ 4.การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
1. มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 
- การจัดการเรียนการสอนร่วมกับการทำงานโดยมอบหมายงานกลุ่มการจัดโครงการฝึกอบรม,นิทรรศการ 
1.ทดสอบกลางภาคและปลายภาค 2.การจัดฝึกอบรม, นิทรรศการ 3.การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม 3. สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคม 2.จัดกิจกรรมแบบกลุ่ม มอบหมายงานกลุ่ม 3.นำเสนอรายงาน
1.การจัดกิจกรรมกลุ่ม 2.รายงานการจัดกิจกรรมกลุ่ม 3.การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
1. เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม 2. สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3. ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
1.มอบหมายงานให้กับนักศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ในเรื่องของการเขียนโครงการ 2. ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line 3.การนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1.การปฏิบัติการจัดโครงการฝึกอบรมและนิทรรศการ 2.การนำเสนอผลงาน 3.การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,3,4,5 - การทำกิจกรรมในชั้นเรียน การตอบคำถาม - จากฝึกปฏิบัติดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรม การจัดนิทรรศการ -การทำงานกลุ่มตามมอบหมายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อภิปรายร่วมกัน - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
2 2.1 2.2 2.3 2.4 การสอบกลางภาค 9 30%
3 3.1 3.2 3.3 3.4 การสอบปลายภาค 17 30%
4 1.1 -การเข้าชั้นเรียน -การเข้าร่วมกิจกรรมทางมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
ชูชัย  สมิทธิไกร.( 2556 ). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมคิด  บางโม. (2551)  เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์ จำกัด.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์.( 2554 ).เทคนิคการจัดฝึกอบรมและการประชุม.กรุงเทพฯ : ดวงกมลพับลิซซิ่ง.
-
- เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาเทคนิคการฝึกอบรมทางธุรกิจ - เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด และห้องสมุดมหาวิทยาลัย
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
1. สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน 2.สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน 3. ประเมินจากการปฏิบัติการจัดโครงการฝึกอบรม 4.ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
โดยการปรับปรุงการเรียนการสอนจากผลการประเมินที่นักศึกษาประเมินโดยปรับปรุงในด้านที่มีคะแนนน้อยที่สุด
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการนำเสนองานเดียวโดยตรวจสอบพัฒนาการของนักศึกษารายบุคคลจากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจ แนะนำ และชื่นชม กับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
- ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ