การผลิตเอกสารสำนักงาน

Office Document Work

1. ทราบความสำคัญของการผลิตเอกสารสำนักงานในยุคปัจจุบัน
2. ทราบเทคนิคการใช้และบำรุงรักษาเครื่องใช้สำนักงานอัตโนมัติ
3. ทราบถึงการเลือกเครื่องใช้สำนักงานให้เหมาะกับลักษณะงานและสำนักงาน
4. ทราบหลักการผลิตเอกสารสำนักงานของทางราชการตามระเบียบงานสารบรรณ
5. ทราบหลักการผลิตเอกสารสำนักงานทางธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ถึงหลักการผลิตเอกสารสำนักงานในยุคปัจจุบันและลักษะของเครื่องใช้สำนักงานอัตโนมัติ และประโยชน์  วิธีการบำรุงรักษาเครื่องใช้สำนักงาน  ทำให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้  การฝึกทักษะเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนในรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของการผลิตเอกสารสำนักงานในยุคปัจจุบัน การผลิตเอกสารสำนักงานด้วยเครื่องใช้สำนักงานอัตโนมัติ การผลิตเอกสารสำนักงานของทางราชการตามระเบียบงานสารบรรณและการผลิตเอกสารสำนักงานทางธุรกิจรวมทั้งการผลิตเอกสารสำนักงานอื่น ๆ
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความ สำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม
 
1. ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2.ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3.สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
 
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญใน เนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนา ความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบาย ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและ การดำรงชีวิตประจำวัน
3. มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การ ปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุง แผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่าง เท่าทัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ และเรียนรู้จากการฝึกทักษะ โดยมอบหมายให้ทำใบงานและจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการฝึกปฏิบัติ และมีการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง
3. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
4. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
5. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
6. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จาก หลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์ แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจาก ทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน ทางธุรกิจ
3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
 
1.  การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน 
2.  การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 
 
ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความ รับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้ง สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิง วิชาชีพได้
2. มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไข ปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมใน ประเด็นที่เหมาะสม
3. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพ อย่างต่อเนื่อง
 
1.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
2.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
3.มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
 
1.การประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2.ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
 
1.สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์แลตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
2.สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของ สื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้ง ในรูปแบบการเขียนรายงาน และการน าเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร 
2. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 
3. ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล   
    
 
1. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2. ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการ ดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจน พัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
3. สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้าม วัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
4. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
5. สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บน พื้นฐานของความเป็นไทย
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง หรือ   สถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการ วางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการ ปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
 
1. ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และ ความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2. พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3. การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
4. นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจใน สถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 BBABA511 การผลิตเอกสารสำนักงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2 ,1.3 3.1,3.2,3.3 4.1,4.2,4.4 5.2,5.2,5.6 6.1,6.2,6.3,6.4,6.5 -การทำกิจกรรมในชั้นเรียนรายงานตามหน่วยเรียน -การฝึกปฏิบัติจริงตามหน่วยเรียน -ทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 2.1,2.2,2.3,2.4 สอบกลางภาคเรียน 9 35%
3 2.1,2.2,2.3,2.4 สอบปลายภาคเรียน 17 35%
4 1.1, 1.2 ,1.3 -การเข้าชั้นเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมทางมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
ศิริวรรณ  เสรีรัตน์  และคณะ.(2556) การบริหารงานสำนักงานแบบใหม่  ฉบับปรับปรุงล่าสุด  ธีระฟิล์ม และไซเท็ก จำกัด : กรุงเทพมหานคร.
   จีระ  ประทีปและคณะ.(2556) การบริหารสำนักงาน พิมพ์ครั้งที่ 11 . สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช : กรุงเทพมหานคร.
   เนตร์พัณณา  ยาวิราช.(2550) การจัดการสำนักงาน.  บริษัทเซ็นทรัล เอ็กเพรส จำกัด :  กรุงเทพมหานคร.
    มนตรี  เอี่ยมวรกุล.  (2544)  การผลิตเอกสาร.  สำนักพิมพ์ฟิสิกเซ็นเตอร์ : กรุงเทพมหานคร
-
 - เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด และห้องสมุดมหาวิทยาลัย
     การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
     - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
 การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
     - สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
     - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
     - ประเมินจากการปฏิบัติในหน่วยต่างๆ
     - ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
     การปรับปรุงการสอนในรายวิชา โดยปรับปรุงตามผลการประเมินการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มีลำดับคะแนนน้อยที่สุด
     - ด้านการสอน 
       1. ผู้สอนต้องเพิ่มความสามารถในการอธิบายในนักศึกษาเข้าใจถึงเนื้อหาและชัดเจนเข้าใจง่ายมากกว่า 1 ช่องทาง ผู้สอนต้องทำการยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายและชัดเจนมากกว่าเดิม
       2. ผู้สอนต้องแนะนำการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ของนักศึกษา
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการนำเสนองานกลุ่ม โดยตรวจสอบพัฒนาการของนักศึกษารายบุคคลจากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจ แนะนำ และชื่นชม กับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
-  ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน
 -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ
-  ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
 - ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี
- ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินการเรียนการสอนของนักศึกษา