การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information Technology Project Management

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารโครงการระบบสารสนเทศ
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบริหารเวลา บริหารขอบเขต บริหารค่าใช้จ่าย บริหารคุณภาพ บริหารทรัพยากรมนุษย์
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถดำเนินโครงการ การจัดทำแผน การดำเนินการ การควบคุม การนำเสนอโครงการ และการปิดโครงการ
4. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการนำความรู้ไปใช้ในการบริหารโครงการระบบสารสนเทศ
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงการ บริบทของการบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเป็นไปได้ของโครงการ แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศ การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารเวลา การบริหารค่าใช้จ่าย การบริหารคุณภาพ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารความเสี่ยง และการบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง ขั้นตอนการดำเนินโครงการ การจัดทำแผนการดำเนินการ การประมาณการโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการ การนำเสนอโครงการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง และการปิดโครงการ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวางแผนโครงการ
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 

มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
 

สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
 

การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน ปริมาณการกระทำการทุจริตในการสอบ

 
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน (ทฤษฎีและปฏิบัติ) ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงานการทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
คิดอย่างมีวิจารณญานและอย่างเป็นระบบ สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
 

การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
 

จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6
1 BBAIS927 การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.3, 2.4 3.1, 3.3, 3.4 สอบกลางภาค 9 35%
2 2.1, 2.2, 2.3, 2.4 3.1, 3.3, 3.4 แบบฝึกหัดในชั้นเรียน , งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 2.1, 2.2, 2.3, 2.4 3.1, 3.3, 3.4 สอบปลายภาค 17 35%
4 1.2, 1.3, 1.4 2.1, 2.2, 2.3, 2.4 3.1, 3.3, 3.4 4.1, 4.4, 4.6 5.1, 5.3, 5.4 การนำเสนอผลงาน 15-16 10
 เอกสารประกอบการสอน การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
พนิดา พานิชกุล และสุธี พงศาสกุลชัย. (2552). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ :เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์
เพ็ญศรี  ปักกะสีนัง. (2556). การจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
มยุรี  อนุมานราชธน. (2551). การบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ: ดูมายเบส.
สัลยุทธ์ สว่างวรรณ. (2548). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. สุขุม เฉลยทรัพย์ และคณะ. (2555). เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2547). การประเมินโครงการ: หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า.
สุพจน์ โกสิยะจินดา. (2549). 100 ข้อความพึงสังวรในการบริหารโครงการไอที. กรุงเทพฯ: เนคเทค. . (2550).
การบริหารโครงการในระบบงานไอที. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
The NASA headquarters Library. (2010). Change Management. Retrieved October 15, 2015, from www.ha.nasa.gov/office/hqlibra/ppm/ppm36.htm. Thomas T. Macmillan. (2015).
The Delphi Technique. Retrieved September 27, 2015, from http:// http://eric.ed.gov/?id=ED064302.
 
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการ
ระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ