นโยบายภาษีและการภาษีอากร

Tax and Tax Policy

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ในนโยบายภาษี และความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี ศึกษาวิธีการจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร อันได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  และภาษีอื่นที่จำเป็น  1.2 เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูลนโยบายภาษีที่จำเป็น เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง  1.3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ตามกฎหมายภาษีอากร ประมวลรัษฎากร ที่ใช้ใน พ.ศ.2562
ศึกษานโยบายภาษี และความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี ศึกษาวิธีการจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร อันได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีอื่นที่จำเป็น
 
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตลอดเวลา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพี่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษามีควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมี

    คุณธรรม
1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหารายวิชา
               2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของ
                    มหาวิทยาลัย
               3) เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำ
                    ประโยชน์ให้แก่ชุมชน
               4) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
        1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา การทำงานทัน
                    ตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
               2) ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
               3) ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
               4) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฏี หลักการ และวิธีการทางบัญชี มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1) ใช้วิธีการสอนหลักรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฏี
    และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบ
    สาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2) การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
4) การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและ
    การศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม   
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทอสอบย่อย รายงาน การ
    ค้นคว้า และการนำเสนอ
2) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
3) การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือการฝึกงานในองค์กร
    ธุรกิจ
4) การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์

     ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง

สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทาง

    วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่างๆ
    อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ

สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น
    ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์
    จำลอง
2) จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และ
    สังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และ
    รายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1)  ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่
     ได้รับมอบหมาย
2)  ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3)  ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
    รวมทั้งผลการอภิปลายแสดงความคิดเห็น
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ

    วัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี

มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไข

    ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน

มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1) มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม
    และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2) มอบหมายงานที่เกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน

สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย

     และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง

สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการ

     นำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน

สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวม

    ข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ   
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและ
    ต่างประเทศ
3) ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบ
    รายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนใน
    รูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1) ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเขิงสถิติและคณิตศาสตร์
               2) ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงาน
                    เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
               3) ประเมินจากการสอบข้อเขียน
               4) ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็น
                    รายบุคคลหรือรายกลุ่ม
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,4,5 การทดสอบย่อย 2 ครั้งๆละ 15 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 4,12 9 18 70%
2 1,2,3,4,5 รายงาน และ การนำเสนอกิจกรรมกลุ่ม 17 20%
3 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง การส่งงาน ความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา ความเอาใจใส่ในผลงาน พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย ทุกสัปดาห์ 10%
สมเดช โรจน์ศุรีเสถียร (2562). ธรรมนิติ
www.rd.go.th
www.rd.go.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินความรู้ ให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียนและถามตอบเกี่ยวกับประเด็นภาษีที่อัพเดดใหม่ล่าสุด นโยบายภาษีของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นโยบายเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีของรัฐบาล
หลังจากผลการประเมนิการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมการระดมสมอง
และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน ให้กรณีศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีกรมสรรพกรมีมาตรการผลักดันภาษีและเร่งคืนภาษีเพื่อเยี่ยวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID 19 ให้กรณีศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2565 (มาตรการของขวัญปีใหม่ 2565) เพื่อเป็นการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย การปรับปรุงกฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีของแต่ละประเทศ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ
เรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน การนำเสนอหน้าชั้นเรียน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนความพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  การเปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษี  E-service