การบัญชีต้นทุน

Cost Accounting

เพื่อศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ความสำคัญและบทบาทการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ ความหมายของต้นทุนต่าง ๆ ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน วิธีการบัญชีและการควบคุมเกี่ยวกับวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายการผลิต ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ระบบการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต วิธีการบัญชีเกี่ยวกับของเสีย ของสิ้นเปลือง งานที่บกพร่อง เศษซาก การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ผลต่างการบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ การปันส่วนต้นทุนการผลิตและการบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม
1. เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในเรื่องการศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน
2. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
3. เพื่อสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในด้านที่ 2 ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรู้
 
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ความสำคัญและบทบาทการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ ความหมายของต้นทุนต่าง ๆ ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน วิธีการบัญชีและการควบคุมเกี่ยวกับวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายการผลิต ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ระบบการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต วิธีการบัญชีเกี่ยวกับของเสีย ของสิ้นเปลือง งานที่บกพร่อง เศษซาก การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ผลต่างการบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ การปันส่วนต้นทุนการผลิตและการบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม
 
Study and practice of objective, importance and roles of cost accounting in
business, meaning of different costs, accounting system far cost collection,
accounting and control methods for raw materials, labor, and manufacturing
overhead, accounting system for job order costing and process costing,
accounting for waste, reworks and scarps; activity-based costing, variance
analysis, accounting system for joint-product and by-product, cost allocation
and standard costing
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  บอกช่วงเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรก
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
-   ช่วงสถานการณ์โควิดระบาดอาจารย์ให้คำปรึกษาและตอบคำถามผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรมต่างๆตามที่ตกลงกันเพื่อสะดวกและงานต่อการให้คำปรึกษา
        นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพี่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษามีควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมี

    คุณธรรม
        1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหารายวิชา
        2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
        3) เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
        4) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา การทำงานทัน ตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2) ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3) ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
 4) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฏี หลักการ และวิธีการทางบัญชี มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆโดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1) ใช้วิธีการสอนหลักรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฏี
    และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบ
    สาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2) การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
4) การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและ
    การศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม    
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทอสอบย่อย รายงาน การ
    ค้นคว้า และการนำเสนอ
2) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
3) การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ
4) การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์

     ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง

สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทาง

    วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่างๆ
    อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ

สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้นตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
2) จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1)  ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2)  ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3)  ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียนรวมทั้งผลการอภิปลายแสดงความคิดเห็น
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี


มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน


มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1) มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2) มอบหมายงานที่เกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อในกลุ่ม ประเมินจากงานที่ มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
3) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง


สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน


สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ   
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3) ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนใน รูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1) ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเขิงสถิติและคณิตศาสตร์
2) ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3) ประเมินจากการสอบข้อเขียน
4) ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็น
 รายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BACAC123 การบัญชีต้นทุน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การทดสอบย่อย 2 ครั้ง การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 3 และ 13 9 18 60%
2 ด้านความรู้ รายงาน และ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน - ประเมินจากแบบฝึกหัดและ กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ทุกสัปดาห์ 30%
3 ด้านทักษะทางปัญญา การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง การส่งงาน ความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา ความเอาใจใส่ในผลงาน พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน - การเข้าห้องเรียน - การส่งงาน (แบบฝึกหัด) /การแต่งกาย - ความสามารถในการบริหารงานที่มอบหมาย (ความสามารถในการการจัดการเล่มรายงานให้มีความสมบูรณ์แบบ (เนื้อหา และรูปแบบ) โดยแบ่งเป็นงานค้นคว้าเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของหลักสูตรและมหาวิทยาลัย ทุกสัปดาห์ 10%
4 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี - ประเมินจากผลการทำแบบฝึกหัดและ แบบทดสอบย่อย - ประเมินผลจากการวิเคราะห์และ นำเสนอกรณีศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 1-15 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชีต้นทุน
หนังสือตำราสอน รศ.สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์
 
        - เว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี 
www.Set.or.th www.Tfac.or.th
www.diw.go.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ติดตามผลการมอบหมายงานของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นระยะ มีการมอบหมายงานกลุ่มการบูรณาการศิลปะวัฒนธรรมกับรายวิชาต้นทุนเรื่อง ต้นทุนสินค้าเกษตรของแต่ละชนเผ่าใน จ.ลำปาง เพื่อให้นักศึกษาได้ประสบการณ์การคิดต้นทุนและเห็นสินค้าผลิตภัณฑ์ของชนเผ่าของจริงเพื่อเกิดความก้าวหน้าและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์
 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินความรู้ ติดตามผลการมอบหมายงานของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นระยะ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน อาจารย์ผู้สอนจัดกิจกรรมเสริมทักษะ “ปัญญา ฐานใจ”สอดแทรกความรู้และถอดบทเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรักความเข้าใจในรายวิชา อาจารย์ผู้สอนจัดกิจกรรม”โรงงานผลิตกระดาษ”เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อแตกต่างของแต่ละต้นทุนและการคำนวณต้นทุนในความหมายต่างๆรวมถึงกระดาษที่นำมาเป็นบิลและใบเสร็จต่างที่ประกอบหลักฐานการลงบัญชี อาจารย์ผู้สอนจัดกิจกรรม”จดหมายถึงตัวเองในอนาคต” เพื่อให้ผู้สอนเข้าใจสิ่งที่ผู้เรียนคาดหวังในรายวิชานี้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมการระดมสมอง
และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ ภาคเรียนถัดไปจัดให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชั้นเรียน อาจารย์ผู้สอนจัดกิจกรรมเสริมทักษะ “ปัญญา ฐานใจ”สอดแทรกความรู้และถอดบทเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรักความเข้าใจในรายวิชาและจะปรับปรุงการสอนให้เข้ากับผู้เรียน อาจารย์ผู้สอนจัดกิจกรรมเสริมทักษะ “ปัญญา ฐานใจ”สอดแทรกความรู้และถอดบทเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรักความเข้าใจในรายวิชา อาจารย์ผู้สอนจัดกิจกรรม”โรงงานผลิตกระดาษ”เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อแตกต่างของแต่ละต้นทุนและการคำนวณต้นทุนในความหมายต่างๆรวมถึงกระดาษที่นำมาเป็นบิลและใบเสร็จต่างที่ประกอบหลักฐานการลงบัญชี อาจารย์ผู้สอนจัดกิจกรรม”จดหมายถึงตัวเองในอนาคต” เพื่อให้ผู้สอนเข้าใจสิ่งที่ผู้เรียนคาดหวังในรายวิชานี้ เพราะกิจกรรมที่ทำได้ผลผู้เรียนชอบและสนใจในรายวิชาและจะเพิ่มกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษา
  
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ
เรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนความพฤติกรรม
 
       
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  การเปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ
     แผนการปรับปรุงการสอนภาคเรียนถัดไปให้มีประสิทธิผลของรายวิชา ผู้สอนได้จัดเตรียมแผนการสอนและจะเพิ่มกิจกรรมที่จัดขึ้นทำแล้วได้ผลผู้แก่เรียนชอบและสนใจในรายวิชาเพื่อที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษา