เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

Business Economics

๑) เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ ขอบเขต ประวัติความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
 ๒) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์หลักและทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในด้านธุรกิจ
๓) เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและใช้เป็นแนวทางในการเลือก ประกอบอาชีพเพื่อการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน
๔) เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของเนื้อหาวิชา
 ๕) เพื่อให้นักศึกษามีการพัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ธุรกิจได้อย่างถูกต้อง และเพื่อให้นักศึกษาสามารถ วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันและสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในสายงานของตนเอง ใน การศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนต่างๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคม
ทฤษฎีขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคเพื่อเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจทางธุรกิจว่าด้วยอุปสงค์ อุปทาน การกำหนดราคาของตลาด ความยืดหยุ่น พฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิต รายรับ กำไรทางธุรกิจและกำไรทางเศรษฐศาสตร์ ดุลยภาพของหน่วยผลิตในตลาดต่างๆ รายได้ประชาชาติ การเงินและการธนาคาร นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง การค้าและการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพลวัตทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจดำเนินการทางธุรกิจ
ปรึกษาด้วยตนเองที่ห้องพักอาจารย์ผู้สอนในวันศุกร์เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑.๑, ๑.๒, ๑.๓ ๒.๑, ๒.๒, ๒.๓ ๓.๑, ๓.๓ ๔.๑, ๔.๒, ๔.๔ ๕.๑, ๕.๒, ๕.๓ - การทดสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค ๙ ๑๗ ๓๐% ๓๐%
2 ๑.๑, ๑.๒, ๑.๓ ๒.๑, ๒.๒, ๒.๓ ๓.๑, ๓.๓ ๔.๑, ๔.๒, ๔.๔ ๕.๑, ๕.๒, ๕.๓ - การนำเสนอรายงาน - การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า ๑๖ ๒๐%
3 ๑.๑, ๑.๒, ๑.๓ ๒.๑, ๒.๒, ๒.๓ ๓.๑, ๓.๓ ๔.๑, ๔.๒, ๔.๔ ๕.๑, ๕.๒, ๕.๓ - การทำแบบฝึกหัดท้ายบท และตอบคำถาม - การฝึกวิเคราะห์ทางการเงิน ทุกสัปดาห์ ๑๐%
4 ๑.๑, ๑.๒, ๑.๓ ๒.๑, ๒.๒, ๒.๓ ๓.๑, ๓.๓ ๔.๑, ๔.๒, ๔.๔ ๕.๑, ๕.๒, ๕.๓ -การทำแบบทดสอบ -ผลงานของนักศึกษาที่ค้นคว้า -การสรุป เสนอแนะโดยการประชุมร่วมกันตาม นัดหมาย ๓,๗,๑๐ และ ๑๕ ๑๐%
ชุติสร เรืองนาราบ (๒๕๖๕). เอกสารประกอบการสอนวิชา เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. น่าน : คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ , มหาวิทยาลัยวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน.
จรินทร์ เทศวานิช.(2550). เศรษฐศาสตร์การจัดการ.กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน)
ธิติมา พลับพลึง .(2553). เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ.
ภาควิชาทฤษเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2555). เศรษฐศาสตร์ ทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุจินดา เจียมศรีพงษ์ (2558). เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ.พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อำนวยเพ็ญ มนูสุข. เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อภิรัฐ ตั้งกระจ่าง.(2546). เศรษฐศาสตร์การจัดการ. กรุงเทพมหานคร. บริษัทดวงสมัย จำกัด
- เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ www.mof.go.th หรือ www.bot.or.th
- ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียนและสิ่ง สนับสนุนการเรียนการสอนของอาจารย์ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อม ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงอาจารย์และแนวทางการเรียนการสอนแบบ ผ้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน - ผลการสอบ - การใช้เทคโนโลยีในการเรียน การสอน - แบบทดสอบกลางภาคและแบบทดสอบปลายภาค
ผู้สอนมีการวางแผนเพื่อดำเนินการปรับปรุงการสอนในภาคเรียนถัดไปในกรณีที่ไม่เป็นไปตามรายละเอียดที่ได้กำหนดไว้ ในแต่ละหัวข้อโดยมีการจัดประชุมและการสัมมนาเพื่อการปรับปรุงการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ ในวิชา ได้ จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออก ผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในรายวิชา เช่นการสอบ 
ผู้สอนจะนำผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษาและผลการประเมินการสอน (ข้อ ๑ และ ข้อ ๒) มา ใช้ในการทบทวนและวางแผนการปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา