การบริหารงานเพื่อการเพิ่มผลผลิต

Productivity Management

1. รู้การจัดการองค์การและการบริหาร
2. เข้าใจการเพิ่มผลผลิตและเทคนิคการเพิ่มผลผลิต
3. เข้าใจการพัฒนาบุคลากรในงานการผลิตและการพัฒนางาน
4. เข้าใจการวางแผนควบคุมการผลิตและการควบคุมคุณภาพ และระบบ บริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ที่เป็นปัจจุบัน
5. เห็นความสำคัญของการบริหารงานเพื่อการเพิ่มผลผลิต
เพื่อเพิ่มเติมสื่อการเรียนการสอนให้เข้ากับตำราเรียนที่มีตัวอย่างที่ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น และเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในเรื่องหลักการหรือแนวคิดของวิชาการบริหารงานเพื่อการเพิ่มผลผลิตซึ่งเป็นวิชาชีพพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในการเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องโดยสามารถนำไปปรับและประยุกต์ได้จริง
ศึกษาเกี่ยวกับองค์การและการบริหาร การเพิ่มผลผลิต เทคนิคการเพิ่มผลผลิต การพัฒนาบุคลากรในงานผลิต การพัฒนางาน การวางแผนควบคุมการผลิตและการควบคุมคุณภาพ ระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ที่เป็นปัจจุบัน
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านไลน์กลุ่ม  - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย และตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต  1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม  1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม  1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 สอดแทรกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงภาระ ความรับผิดชอบของอาชีพวิศวกร และผลกระทบที่เกิดขึ้นหากวิศวกรไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  1.2.2 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์สื่อสาร  1.2.3 ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การลอกการบ้าน การลอกกันระหว่างการทดสอบย่อย เป็นต้น  1.2.4 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.3.1 คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา  1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง  1.3.3 สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณให้เหมาะสมมากขึ้น
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี  2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม  2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายโดยใช้ Power point และกระดานดำ ให้แบบฝึกหัดทำในห้อง การบ้าน และทำการทดสอบย่อย
2.3.1 ประเมินจากแบบทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค  2.3.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี  3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์  3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 ใช้ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยตนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา มอบหมายการบ้านและแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทำประจำสัปดาห์ตามหัวข้อต่างๆ
3.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม  4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ  4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  4.1.4 รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ  4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานทั้งกลุ่มและเดี่ยว ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์ กำหนดบทบาทในการทำงาน และให้นำเสนอผลงาน รวมทั้งให้นักศึกษามีบทบาทในการให้ความเห็นกับผลงานของคนอื่นหรือกลุ่มอื่น
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม  4.3.3 พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา  4.3.4 ประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี  5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์  5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้ อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ  5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์  5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบ Power point และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย และพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 และ 1.3 - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม และเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 4.2-4.4, 5.1-5.5 - การบ้าน และงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 2.1-2.4, 3.1-3.5 - สอบย่อย - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค - 3, 6, 12 และ 15 - 9 - 17 - 20% - 20% - 30%
1.1 ภูมิใจ สอาดโฉม. (2565). เอกสารประกอบการสอนวิชาการบริหารงานเพื่อการเพิ่มผลผลิต. ตาก : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก.
1.2 ศิริพร ขอพรกลาง (2548). การบริหารงานคุณภาพ และเพิ่มผลผลิต. กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์.
2.1 อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2557). การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิต. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
2.2 สมลักษณ์ สันติโรจนกุล. (2548). การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิต. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ตำราหรือเอกสาร และเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ให้นักศึกษาได้มีการประเมินผลการสอนของอาจารย์ในทุกด้าน ทั้งด้านทักษะกลยุทธ์การสอน การตรงต่อเวลา การชี้แจงเป้าหมาย วัตถุประสงค์รายวิชา ชี้แจงเกณฑ์การประเมินผลรายวิชาและการใช้สื่อการสอน
ให้นักศึกษาได้มีการประเมินผลการสอนของอาจารย์ในด้านทักษะกลยุทธ์การสอน และการใช้สื่อการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ประกอบกับการสังเกตและหาวิธีที่จะปรับปรุงการสอนให้ดี
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้  5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ