คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

Electrical Engineering Mathematics

1. สามารถอธิบายการใช้งานตัวแปรเชิงซ้อนได้
2. สามารถอธิบายการวิเคราะห์เวกเตอร์ได้
3. สามารถอธิบายการประยุกต์ใช้ทฤษฎีของอนุกรมฟูเรียร์สำหรับการแปลงฟูเรียร์ในรูปคลื่นไฟฟ้าได้
4. สามารถอธิบายการแปลงลาปลาซทรานส์ฟอร์มเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์วงจรไฟฟ้าได้
5. สามารถนำความรู้ไปบูรณาการกับการรายวิชาอื่นได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ  ในการวิเคราะห์รูปแบบของสัญญาณและการเปลี่ยนแปลงสัญญาณในระบบเทคโนโลยีระบบไฟฟ้ากำลังโดยใช้รูปแบบของตัวแปรทางคณิตศาสตตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียน และการทำงานในอนาคตที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานตัวแปรเชิงซ้อน การวิเคราะห์เวกเตอร์และการประยุกต์ใช้ ทฤษฎีของอนุกรมฟูเรียร์ การแปลงฟูเรียร์และการนำไปใช้วิเคราะห์รูปคลื่นไฟฟ้า ทฤษฎีการแปลงลาปลาซทรานส์ฟอร์มและการนำมาใช้วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.3 แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมและเป็นแบบอย่างที่ดี
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ผู้สอนทำข้อตกลงในการศึกษารายวิชา ประกอบด้วย เวลาการเข้าชั้นเรียน กำหนดการส่งการบ้านและงานมอบหมายต่างๆ การประพฤติตนในระหว่างเข้าขั้นเรียน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ส่วนตัวและเพื่อนร่วมกลุ่ม ฯลฯ โดยการมอบหมายงาน การนำเสนอหรือการแก้ปัญหาหน้าชั้นเรียน การร่วมรับฟังและการเป็นผู้รับฟังที่ดี และการสอดแทรกประเด็นปัญหาทางด้านวิชาชีพที่เคยเกิดขึ้น และให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้น
1.3.4 สังเกตการดูแลสภาพห้องเรียนและการใช้งานเครื่องมือ/อุปกรณ์
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
1.3.6 ประเมินจากการอธิบาย การแสดงความเห็นและความเหมาะสมของเนื้อหา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอกองค์ความรู้
2.1.3 สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เน้นหลักการทางทฤษฎี การประยุกต์หรือการนำไปใช้ทางปฏิบัติ และการยกตัวอย่างงานวิจัยหรือโครงงานรุ่นพี่หรือโจทย์ในสภาพแวดล้อมจริงโดยผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาสามารถเห็นภาพที่ชัดเจนสนับสนุนให้เกิดความคิดด้วยตนเอง รวมทั้งการกำหนดให้มีการค้นคว้าสาระความรู้เพิ่มเติมจาก Social เพื่อการนำมารวบรวมความรู้แบบกลุ่มย่อยหรือทีมและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การตอบข้อซักถามในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องจากเพื่อนร่วมชั้น
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 ประเมินจากรายละเอียดในการทำข้อสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ และการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.4 สังเกตพฤติกรรมความสนใจ การซักถาม การนำเสนอความเห็น
3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
3.1.2 มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
ผู้สอนกำหนดให้มีการมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเทคนิค กระบวนการ เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสาระที่เรียนผ่านระบบค้นหาใน Social โดยสามารถนำเสนอได้ตลอดภาคการศึกษา มีการนำเสนอหน้าชั้นหรือการแสดงขั้นตอนการคำนวณและวิเคราะห์ให้เพื่อนร่วมชั้นช่วยพิจารณาความเหมาะสมและความถูกต้องโดยมีผู้สอนแนะนำเพิ่มหรือชี้แนะ
การเรียนเป็นแบบกลุ่มเล็ก อาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำและช่วยเสริมประเด็นทางเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้อง
3.3.1 การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การอธิบาย และการตอบประเด็นปัญหาของเพื่อนร่วมชั้น
3.3.2 การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน และการอธิบายเหตุผลของการเลือกใช้วิธีการหรือกระบวนการ
3.3.3 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์หรือสอบถามในระหว่างศึกษา
4.1.1 แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4.1.3 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีมช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
การมอบหมายงานเพื่อนำเสนอหน้าชั้น การให้ออกมาแสดงความเห็นอธิบายหน้าชั้น การปรึกษาแบบระดมความเห็นเพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสมของปัญหาหรือโจทย์ตัวอย่าง รวมถึงตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเน้นย้ำการเป็นผู้นำเสนอและผู้รับฟังที่ดี
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การช่วยเหลือสนับสนุนหรือการทำงานแบบกลุ่มระดมความคิด ตลอดภาคการศึกษา
5.1.1 มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
การมอบหมายให้สืบค้นข้อมูลในระบบ Social หรือมอบหมายงานโจทย์ตัวอย่าง แล้วให้ระดมสมองในการแก้ไขปัญหา พร้อมนำเสนอผลสรุปหน้าชั้นเรียน การให้แสดงความเห็นหรือกระบวนการคำนวณต่อโจทย์ปัญหาของผู้สอน
ประเมินจากงานหรือการนำเสนอ การอธิบาย การแสดงความเห็น ความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลหรืองาน การตรงประเด็นกับโจทย์หรือเงื่อนไขที่กำหนด การใช้เครื่องมือและวิธีการดำเนินงาน และการตอบคำถาม
6.1.2 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม
จัดกิจกรรมกลุ่มแบบมีส่วนร่วม ให้มีการศึกษาค้นคว้าหาประเด็นที่สนใจและนำมาหาข้อสรุปประเด็นปัญหา
การประเมินพฤติกรรมในระหว่างการปฏิบัติงานทดลอง ทักษะในการใช้เครื่องมือแบะอุปกรณ์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 2 1 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDEE405 คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,3.1,5.2 การทดสอบย่อย สอบกลางภาค (หน่วยที่ 1, 2 และ 3) สอบปลายภาค (หน่วยที่ 4, 5 และ 6) 8 และ 17 70
2 2.2,3.1,4.3,5.2,5.3 - รายงานการศึกษา การวิเคราะห์ และสรุปผลกรณีศึกษาตามที่มอบหมาย - การบ้าน ตลอดภาคการศึกษา 20
3 1.3,4.3,5.3 - การเข้าชั้นเรียน ความสนใจ มารยาทในชั้นเรียน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความมีน้ำใจ ในระหว่างการศึกษา - การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย หรือคณะฯจัดขึ้น ตลอดภาคการศึกษา 10
รศ. นิรันดร์  คำประเสริฐ. “คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า 1”. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ผ่านกิจกรรมในการนำแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 แบบประเมินรายวิชา หรือ
1.2 แบบประเมินความพึงพอใจรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของอาจารย์ผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร
2.2   ปัญหาพิเศษ/โครงงานย่อย/กรผ่านกิจกรรมภายในรายวิชา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการสรุปข้อมูลจัดทำแนวทางการปรับปรุงใน มคอ.5
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบความสอดคล้องของข้อสอบกับคำอธิบายรายวิชา โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง
4.2  การทวนสอบความสอดคล้องของการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลกับความรับผิดชอบของหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง
ผู้สอนสรุปผลข้อมูลทั้งหมดเพื่อรายงานอาจารย์ประจำหลักสูตร/ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง