พืชไร่เศรษฐกิจ

Economic Field Crops

1.1 รู้ความสำคัญ แหล่งกำเนิด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ สรีรวิทยา และการเจริญเติบโตของพืชไร่เศรษฐกิจ
1.2 รู้หลักการ และกระบวนการในการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจ
1.3 สามารถวางแผนผลิตพืชไร่เศรษฐกิจตั้งแต่กระบวนการปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจ
1.4 สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
1.5 มีคุณธรรม จริยธรรม สำนึกในจรรยาบรรณของวิชาชีพที่ดี และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
1.6 มีทัศนคติและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพทางการเกษตร
     เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะเกี่ยวกับการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจ และเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้เกี่ยวกับการผลิต การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิต ตลอดจนการวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตและการตลาดในปัจจุบัน มาเพิ่มเติมในเนื้อหาของรายวิชาให้ทันสมัยสอดคล้องกับการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจในปัจจุบัน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญของพืชไร่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การปลูก สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการผลิต การเก็บเกี่ยว ศัตรูพืชสำคัญ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจ
3.1 วันจันทร์ เวลา 08.00 - 17.00 น. ห้องพักอาจารย์ สาขาพืชศาสตร์
3.2 ส่ง e-mail: s.nateetip@rmutl.ac.th หรือ โทรศัพท์ 098-816-3503 ทุกวัน
1. ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรมซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
2. มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
3. มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น
4. สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนรวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ
1. การมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด
2. ความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3. ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
4. ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
5. ผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน
6. พฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
1. มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง    
2. มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
1. เน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมีการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
3. การฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4. แผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ
5. การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
6. รายวิชาฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
1. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
2. มีความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3. แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
1. บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาทางการเกษตร เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ ประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
2. การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้มาหรือเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนด
3. ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
1. ผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2. การสัมภาษณ์หรือการสอบปากเปล่า
3. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
1. กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
2. มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
        ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ ดังนี้
1. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
5. มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
6. สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
1. พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
1. ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง
และเขียน
2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง สถานการณ์เสมือนจริงหรือแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาหรือในการปฏิบัติงานจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
1. เทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
หรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล
2. ความสามารถในการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ประมวลผลและแปลความหมาย
3. การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
1. มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
1. ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
2. ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
3. ความสำเร็จและคุณภาพของผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG141 พืชไร่เศรษฐกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 การแสดงความคิดเห็น/พฤติกรรมในชั้นเรียน ความรับผิดชอบในการทำงาน 1-8 และ 10-17 10%
2 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 รายงานและการนำเสนอผลการปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมาย 4-8 และ 10-17 30%
3 1, 2, 3 และ 4 สอบกลางภาค 9 25%
4 5, 6, 7 และ 8 สอบปลายภาค 18 25%
5 การเข้าชั้นเรียน 1-8 และ 10-17 10%
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสะท้อนแนวคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- ผลการสอบ
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- มีการการสอบย่อย เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจท้ายการเรียนการสอน
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่ม  ตรวจข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
- โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
- ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของสาขาวิชา
- การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา
- อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขาวิชา/ คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป