ขนมไทย

Thai Desserts

ศึกษาและฝึกปฏิบัติความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขนมไทย วัตถุดิบและอุปกรณ์ในการประกอบขนมไทย การพัฒนาทักษะและเทคนิคการประกอบขนมไทย เพื่อใช้ในโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ การนำเสนอและตกแต่ง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทั้งในส่วนภาคทฤษฎี และปฏิบัติการและเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เน้นให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการทำขนมไทยที่สามารถจัดในโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ การนำเสนอและตกแต่งที่สามารถจำหน่ายได้ในปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขนมไทย วัตถุดิบและอุปกรณ์ในการประกอบขนมไทย การพัฒนาทักษะและเทคนิคการประกอบขนมไทย เพื่อใช้ในโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ การนำเสนอและตกแต่ง
3.1 วันพุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักครูสาขาอุตสาหกรรมเกษตร โทร 085 9108165
3.2  e-mail; achara2518@yahoo.co.th เวลา 18.00 – 20.00 น. ทุกวัน 
3.3 line กลุ่ม นักศึกษาปี 2 วท.บ.ธุรกิจอาหารและโภชนาการ
มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถทำงานเป็นทีม มีเจตนคติและจรรยาบรรณที่ดีต่องานทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ตรงต่อเวลา ขยัน และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆของ องค์กรและสังคม        ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กำหนดให้นักศึกษาแบ่งเวรรับผิดชอบในการซื้อวัตถุดิบมาใช้ร่วมกันในชั้นเรียนและสังเกตจากการทำงานร่วมกันของกลุ่ม การสอนภาคทฤษฎีและปฏิบัติมีการตรวจเช็คความตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบในการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์การทำขนมไทย ปฏิบัติตามระเบียบของการปฏิบัติการทำขนมไทยที่ดี รับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน
- ผลการทดสอบทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ
- ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และการฝึกปฏิบัติขนมไทยรเป็นกลุ่ม
- ตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน
- ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการบริการวิชาการ
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจอาหารและโภชนาการ
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบตามลักษระเนื้อหาสาระ ได้แก่ การบรรยาย การฝึกปฏิบัติและเทคนิคการสอนอื่นๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกทักษะจากการทำขนมเพื่อเน้นการจำหน่าย และมีการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมาสอนเพิ่มเติม
การสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค การมีส่วนร่วมในการออกภาคสนามอบรมในงานบริการวิชาการ การทำรายงานจากทักษะการฝึกปฏิบัติจริง
มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
การสอนโดยการนำความรู้ในภาคทฤษฎีมาใช้ในการฝึกปฏิบัติการทำขนมไทยประเภทต่างๆ การสอนโดยเทียบเคียงเนื้อหากับปรากฏการณ์ต่างๆจากบทปฏิบัติการ
- ผลงานการปฏิบัติในแต่ละครั้ง - คะแนนภาคปฏิบัติแต่ละครั้ง คะแนนการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
การปฏิบัติงานของนักศึกษาที่นักศึกษาต้องมีปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษาจากกิจกรรมการเรียนการสอนในชั่วโมงปฏิบัติการ มอบหมายงานกลุ่มจากกิจกรรมการเรียนการสอนในชั่วโมงปฏิบัติการ การทำงานกลุ่มร่วมกันในการฝึกปฏิบัติขนมไทย การร่วมให้บริการวิชาการกับผู้สอน การศึกษานอกสถานที่
ประเมินจากผลของการทำรายงานการปฏิบัติการแต่ละครั้ง
ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
มีทักษะในการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับธุรกิจอาหารและโภชนาการ มีการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร และโภชนาการโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสถิติประยุกต์ที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารและโภชนาการได้อย่างเหมาะสม
การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลรูปภาพ จาก Power point  การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำผลงานขนมไทยที่ได้
- ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติในแต่ละชั่วโมงปฏิบัติงาน
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คุณธรรม จริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจอาหารและโภชนาการ มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม มีทักษะในการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับธุรกิจอาหารและโภชนาการ มีการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร และโภชนาการโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสถิติประยุกต์ที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารและโภชนาการได้อย่างเหมาะสม มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถทำงานเป็นทีม มีเจตนคติและจรรยาบรรณที่ดีต่องานทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ตรงต่อเวลา ขยัน และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆของ องค์กรและสังคมตลอดจนรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1 BSCFN141 ขนมไทย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การเตรียมความพร้อมทั้งวัสดุและอุปกรณ์ การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ด้านความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 18 15 % และ 15 %
3 ด้านทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค สอบปลายภาค ภาคปฏิบัติทำขนมไทย 9 17 ตลอดภาคเรียน 10 % 10 % 20 %
4 ด้านความสัมพันธ์ความรับผิดชอบ การให้คะแนนของเพื่อนร่วมห้อง ตลอดภาคเรียน 5 %
5 ด้านการปฏิบัติงาน การสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน งานที่มอบหมาย และผลงานสำเร็จ (ภาคปฏิบัติ) ตลอดภาคเรียน 15 %
เอกสารประกอบการสอนวิชา ขนมไทย (ฺBSCFN141)
คณาจารย์วิทยาลัยในวัง. (2542).ตeราอาหารวิทยาลัยในวัง. กรุงเทพฯ : แสงแดด.
ธวัชัชย์ เอื้ออารี. (2546). ขนมไทยลูกชุบ.กรุงเทพฯ : ศรีสยามการพิมพ์.
นลิน คูอมรพัฒนะ,บรรณาธิการ. (2553). เส้นทางขนมไทย. กรุงเทพฯ : แสงแดด.
ครัว นิตยสารอาหาร และวัฒนธรรม มิถุนายน 2545. กรุงเทพฯ : แสงแดด 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 1.2 ความสนใจและตั้งใจในการทำงาน 1.3 ผลงานภาคปฏิบัติของนักศึกษา 1.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินเพื่อนในรายวิชา
กลยุทธ์ในการประเมินการสอนในรายวิชานี้ ดูผลจากผลการประเมินผู้สอนของนักศึกษาและนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพการสอนต่อไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการโดยดูจากผลการประเมินของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาขนมไทย 4.2   มีการสุ่มตรวจของผู้รับผิดชอบหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก5 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   มีการนำแนวคิดการแปรรูปอาหารแบบใหม่ที่ได้จากงานวิจัยเข้ามาใช้ในการปรับปรุงการสอนให้ดีเพิ่มขึ้น