ปฏิบัติงานวิศวกรรมโยธา

Civil Engineering Workshop

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความรู้เบื้องต้นของหลักวิศวกรรม วิศวกรโยธา รู้จักวัสดุก่อสร้าง และอุปกรณ์ก่อสร้าง และนำไปใช้อย่างเหมาะสม เข้าในลักษณะโครงสร้างของอาคาร ฝึกปฏิบัติงานไม้ คอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กรูปพรรณ เข้าใจโครงสร้างสำเร็จรูป นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับวิชาทางวิศวกรรมโยธา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานวิศวกรรมโยธา ระบบ และวิธีการก่อสร้างอาคาร การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ความเข้าใจ ไปใช้ในการวิเคราะห์ และประเมินค่า สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในการควบคุมการก่อสร้าง และออกแบบงานอาคาร หรือนำไปประยุกต์กับหลักวิชาอื่นได้
ศึกษา และปฏิบัติการเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง และงานวิศวกรรมโยธาฝึกปฏิบัติงานไม้ คอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กรูปพรรณ และโครงสร้างสำเร็จรูป การนำนักศึกษาทัศนะศึกษานอกสถานที่
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียน
- นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียน นอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์ ถามทาง email
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทยตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม
เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ
ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อ
ขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้ง
เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล
องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบ
วิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่
อดีตจนถึงปัจจุบัน วิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกร
 
1.2.1 ในแต่ละครั้งที่เข้าสอนได้สอดแทรกเนื้อหาทางด้านวัฒนธรรมไทย เน้นความซื่อสัตย์
สุจริต
1.2.2 กำหนดกติกาของการเข้าชั้นเรียนซึ่งมีคะแนนเข้าชั้นเรียน การส่งงาน โดยให้มีการลง
ชื่อเข้าเรียน คะแนนการส่งงานคะแนนการทำรายงาน
1.2.3 สอดแทรกเนื้อหาของความเป็นภาวะการเป็นผู้นำ และผู้ตาม ยอมรับการฟังความ
คิดเห็นของผู้อื่น
1.2.4 ถามคำถามให้นักศึกษาได้วิเคราะห์และประเมินผล หรือให้นักศึกษายกตัวอย่างการ
ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
1.2.5 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การกระทำผิดจรรยาบรรณของวิศวกรและให้มีการอภิปรายกลุ่มในชั่วโมงต้นๆ และสรุปภาพรวมในชั่วโมงสุดท้าย
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 พฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางวิศวกรรมโยธา การก่อสร้างอาคาร เพื่อการประยุกต์ใช้
กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ใน
เนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมโยธา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้
เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงาน
จริงได้
โดยที่นักศึกษาหรือผู้เรียนจะได้รับความรู้ตรงตามคำอธิบายของวิชาปฏิบัติงานวิศวกรรม
โยธา คือศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้างและงานวิศวกรรมโยธา ฝึกปฏิบัติงานไม้คอนกรีตเสริมเหล็กเหล็กรูปพรรณและโครงสร้างสำเร็จรูปการนำนักศึกษาทัศนะศึกษานอกสถานที่
ชั่วโมงทฤษฎี :บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์
กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง นำเสนอผลการศึกษา สรุป และ
เสนอแนวทางแก้ปัญหา
ชั่วโมงปฏิบัติ : ฝึกปฏิบัติงานไม้ คอนกรีตเสริมเหล็กเหล็กรูปพรรณและโครงสร้างสำเร็จรูป
การฝึกงานนอกโรงฝึกงานโดยสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก การต่อเติมอาคารโรงปฏบัติงานโยธา
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีนำไป
แก้ปัญหาโจทย์
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จากการประเมินผลงานที่ปฏิบัติในแต่ละชั่วโมง
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ใน
การพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอด
ชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 แบ่งกลุ่มการทำงานตามลักษณะงานที่จะปฏิบัติ เช่นการฝึกงานไม้ 2 คน ต่อ กลุ่ม ถ้า
เป็นงานคอนกรีต 5-6 คน ต่อ กลุ่ม
3.2.2 ให้นักศึกษาลงมือทำตามขั้นตอนที่เสนอ
3.2.3 ทำการอภิปรายผลของงานที่ได้ให้ทุกคนในห้องทราบและเข้าใจ พร้อมทั้งรับฟังข้อ
ซักถามจากเพื่อนและอาจารย์
3.3.1 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ
ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและ
ส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้อง
กับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคล
และงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษา
สภาพแวดล้อมต่อสังคมตามกำหนดเวลา
4.2.1 จากโครงงานที่นักศึกษาทำต้องให้แต่ละบุคคลในกลุ่มหมุนเวียนกันมาอภิปราย ซึ่งใน
หัวข้อต้องมีการบอกการวางแผนของการทำรายงาน การเก็บข้อมูล และบทบาทหน้าที่แต่ละคนที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 สอดแทรกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย การปรับตัวต่อสังคม และความรับผิดชอบต่องานที่ทำ
4.2.3 มีการยกตัวอย่างแล้วให้นักศึกษาได้คิดและเสนอแนวทางในการแก้ไข
4.3.1 ประเมินคะแนนจากการอภิปรายของแต่ละบุคคล
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์
ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม
และมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมาย
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือวัด และการคำนวณ เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่
เกี่ยวข้องได้
5.2.1 ให้ส่งรายงานโดยให้ส่งเป็นดิจิตอลไฟล์ทั้งในรูปแบบ ไฟล์เอกสาร
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลและการคำนวณ
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะวิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGCV801 ปฏิบัติงานวิศวกรรมโยธา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 (2.1,2.2,2.3,2.4, 2.5) สอบกลางภาคบทที่ 1-6 สอบปลายภาค บทที่ 7-11 8 17 10% 10%
1. เทคนิคก่อสร้าง, วิทวัส สิทธิกุล,2544
2. คอนกรีตเสริมเหล็ก,วินิต ช่อวิเชียร,2540
3. การควบคุมอาคารสูง,ชนันต์ แดงประไพ,2543
4. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการควบคุมงาน,วิศวกรรมสถาน,1993
เอกสารในสื่ออิเล็กทรอนิคส์
http://www.homedd.com
http://www.thaibuild.com
http://www.google.co.th/
บทความของสภาวิศวกร
ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง Home Pro, Home Mart, ไทวัสดุ, โฮมโปร
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกห้องเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ เรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผล การ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ สอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ