การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

E-Marketing

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความหมาย ขอบเขต วัตถุประสงค์ และความจำเป็นของการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์กับงานด้านการตลาด รวมถึงสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ วางแผนและออกแบบกลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสมกอปรกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการแข่งขันของธุรกิจจริง
เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงความสำคัญของงานด้านการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในยุคปัจจุบัน การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการนำเสนอสินค้าและบริการอย่างเหมาะสม และสามารถใช้ทักษะและความรู้ด้านสารสนเทศมาใช้กับโครงงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสัมฤทธิผล
ศึกษาถึงความสำคัญของหลักการทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อระบบธุรกิจ แนวคิด และเครื่องมือทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ การวางแผนและกลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งตลาดสำหรับผู้บริโภค และตลาดธุรกิจทั้งภายในตลาดและการตลาดระหว่างประเทศที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือทางการตลาด ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดกลยุทธ์และอนาคตของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1  ชั่วโมง
1.1.1.มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.1.2 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง  ความดี และความชั่ว
1.2.1 บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
1.2.2 ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย  การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.3.1 ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
1.3.2 การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
2.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.2 ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.3 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1 ประเมินจากสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 
2.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมาย และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 
3.1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.2.1 การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงงานโดยให้วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2     วิเคราะห์กรณีศึกษา เกี่ยวกับการใช้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์ใช้เครื่องมือการตลาดอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม
3.3.1 ประเมินจากโครงงาน หรือรายงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน
3.3.2 ประเมินจากกรณีศึกษา
4.1.1มีความสามารถในการประสานงานมีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่าง อย่างสร้างสรรค์
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่ม
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ
5.1.2 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.3 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.2.1มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ตและทำรายงานโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2.2 ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5.2.3 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 BBABA622 การตลาดอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1,2.1.2 การทดสอบ -การสอบกลางภาค -การสอบปลายภาค 8/15 -การสอบกลางภาค 30% -การสอบปลายภาค 30%
2 2.1.1,2.1.2,3.1.1,3.1.2, 4.1.1,4.1.2, การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า การนำเสนอรายงาน -การทำรายงาน/งานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุและคณะ.E-Marketing เจาะเทคนิคการตลาดออนไลน์.กรุงเทพ ฯ: ตลาด ดอท คอม,2551. 252 หน้า
กุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา.ระบบสารสนเทศทางการตลาด. เชียงใหม่ : ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ, 2550.
พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียรและกรภัทร สุทธิดารา, อินเทอร์เนตและอินทราเนต, กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
วัชรพงศ์ ยะไวทย์, e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงินบนอินเทอร์เนต, กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น ,2543.

, E-Commerceในธุรกิจจริง-เรียนรู้จากกรณีศึกษาเด่นทั่วโลก, พิมพ์ครั้งที่1 : ซีเอ็ดยูเคชั่น , 2545.

แมคแคลเรนและแมคแคลแรน , แบบฝึกหัดเพื่อการปฏิบัติจริง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจบนอินเทอร์เนต, (แปลและเรียบเรียง โดย ECRC, NECTEC, NSTDA) : กิเลนการพิมพ์ ,2544.
แอนดริว เอส ทาเนนบวม , เครือข่ายคอมพิวเตอร์, (สัลยุทธ์ สว่างวรรณ,ผู้แปล),กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น , อินโดไชน่า , 2542.
อาณัติ ลีมัคเดช , E-Commerce เรียนรู้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ,กรุงเทพฯ: เอ.อาร์ บิซิเนสเพรส, 2546.
ชาร์ลส์ เทรปเปอร์, ก้าวสู่ความเป็นหนึ่ง กับ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์,(อุไรวรรณ ชัยวิริยะกุล,ผู้แปล),กรุงเทพฯ : สามย่าน.com, 2544.
E. Turban.,Electronic Commerce 2002 ; A Managerial Perspective,New Jersy :Prentice Hall , 2002.
Judy Strauss and Raymond Frost., E - Marketing 2nded., New Jersy : Prentice Hall , 2001.
Kotler Phillip , Dipak C. Jain and Suvit Maesincee , Marketing Moves, : HBS. Press , 2001.
http://mkpayap.payap.ac.th/course/MK424/ /MK424homepage.HTM
หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ
วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการตลาด และ เว็บไซด์ทางธุรกิจ
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2 แบบประเมิลผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 การติดต่อ ปรึกษา ส่งงานทางอีเมล์ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 ผลงานกลุ่มของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น
4.2 การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้น