คอมพิวเตอร์ช่วยในงานออกแบบ

Computer Aided Design

เพื่อศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการทั่วไปในการออกแบบและเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์  คำสั่งพื้นฐานในการเขียนภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ  การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพฉาย การบอกขนาด การเขียนตัวอักษร การเขียนแบบแม่พิมพ์และชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การเขียนภาพจำลอง 3 มิติแม่พิมพ์หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การจัดเก็บข้อมูลและแสดงผลทางเครื่องพิมพ์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาและมีทักษะในการนำความรู้ ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบและเขียนแบบ เพื่อให้การเขียนแบบทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสามารถแก้ไขดัดแปลงแบบในภายหลังได้ง่ายและคล่องตัวสูง  พร้อมทั้งสามารถจัดเก็บและแสดงข้อมูลในงานเขียนแบบได้ตามต้องการ
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการทั่วไปในการออกแบบและเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์  คำสั่งพื้นฐานในการเขียนภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ  การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพฉาย การบอกขนาด การเขียนตัวอักษร การเขียนแบบแม่พิมพ์และชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การเขียนภาพจำลอง 3 มิติแม่พิมพ์หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การจัดเก็บข้อมูลและแสดงผลทางเครื่องพิมพ์
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
- พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและจัดลำดับความสำคัญของงานหรือกิจกรรมที่ทำ
- เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ
- จัดกิจกรรมกลุ่มให้ทำงานร่วมกัน
- กำหนดให้นักศึกษาทำงานตามที่มอบหมาย
- บรรยายและยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม การมีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและ   สังคม
- ให้ศึกษาค้นคว้าและทำรายงานในหัวข้อที่กำหนดให้
- พฤติกรรมการเข้าเรียน การร่วมกิจกรรมและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลการออกแบบแม่พิมพ์ที่มอบหมาย
ความรู้ที่จะได้รับจากวิชานี้เกี่ยวกับการเขียนแบบงานด้านวิศวกรรมประกอบด้วย
- การศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษร การมองภาพ การเขียนภาพออร์โธกราฟิก และการเขียนภาพ 3 มิติ การกำหนดขนาดและพิกัด ความเผื่อ ภาพตัด ภาพช่วย การสเก็ตภาพด้วยมือ การเขียนภาพแยกชิ้นและภาพประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบและออกแบบ พร้อมทั้งสามารถจัดเก็บและแสดงผลตามที่ต้องการได้
- กำหนดให้นักศึกษาทำงานตามที่มอบหมาย
- บรรยายเนื้อหารายวิชา
- ศึกษาค้นคว้าและทำรายงานเพิ่มเติม
- นำเสนอรายงานและแบบที่เขียน
- สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ
- ตรวจรายงาน และงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลการเขียนแบบที่มอบหมาย
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
- พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเขียนแบบ
- บรรยายเนื้อหารายวิชา
- การทำงานตามแบบฝึกหัดที่มอบหมาย
- การนำเสนอและอภิปรายในรายงานที่ทำ
- สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ
- ตรวจรายงาน และงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลการเขียนแบบที่มอบหมาย
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
- จัดกิจกรรมกลุ่ม มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายงานเดี่ยว การนำเสนอและอภิปราย เช่น การสร้างกระบวนการต่างๆ ของการนำเสนอรายงาน การเขียนแบบ และการวิเคราะห์แบบ
- รายงานที่นำเสนอ และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
- พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา และการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
- ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- จัดกิจกรรมกลุ่ม มอบหมายงานรายกลุ่ม รายงานเดี่ยว การนำเสนอและอภิปราย เช่น การสร้างกระบวนการต่างๆ ของการควบคุมและบำรุงรักษาชิ้นงาน
- รายงานที่นำเสนอ และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ
- มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
- มีทักษะในการเขียนแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและเขียนแบบ
- มอบหมายงานให้นักศึกษาปฏิบัติทั้งการศึกษาค้นคว้า การทำรายงานเดี่ยว กลุ่ม การเขียนแบบแม่พิมพ์ การวิเคราะห์แบบและการนำเสนอ
- รายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงาน แบบแม่พิมพ์ที่เขียน
- ใบงานและแบบฝึกหัด
- สอบกลางภาค และปลายภาค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2 , 3 , 5 2 , 3 , 5 , 6 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 20% 20%
2 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 การทำงานเดี่ยว งานกลุ่มและผลงาน การนำเสนอรายงาน การส่งงานตามกำหนดเวลา การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1 , 4 - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน - ถามตอบ, สังเกตดูพฤติกรรมการทำงาน - การแต่งกายและประพฤติตนตามระเบียบวินัย ตลอดภาคการศึกษา 20%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการออกแบบและเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
ไม่มี
คู่มือการใช้งานโปรแกรม Autodesk AutoCAD
คู่มือการใช้งานโปรแกรม SEMEN NX
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ