สถิติวิศวกรรม

Engineering Statistics

ทบทวนความรู้พื้นฐานด้านสถิติวิศวกรรม เช่น ทฤษฏีความน่าจะเป็นตัวแปรสุ่ม การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าสถิติ ศึกษาการตัดสินใจแบบมีการทดลองและไม่มีการทดลอง การทดสอบสมมติฐาน แบบพาราเมตริก และแบบนอนพาราเมตริก การวิเคราะห์ความแปรปรวนเนื่องจากปัจจัยเดียว และสองปัจจัย แบบอนุกรมเวลา การวิเคราะห์การถดถอย สหสัมพันธ์ และการออกแบบการทดลองทางสถิติเบื้องต้น
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียน - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2 วิธีการสอน
อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา มอบหมายงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพ ระเบียบข้อบังคับ
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 ประเมินผลจากการเข้าเรียน 1.3.2 ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตและตรงเวลา 1.3.3 สังเกตพฤติกรรมการตอบข้อซักถามและการยกตัวอย่างเปรียบเทียบใน ด้านการรักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นความมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจในตนเองและสถาบัน
 
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 2.1.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 บรรยายหลักการ ทฤษฎี ตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และนักศึกษา 2.2.2 ยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น 2.2.3 มอบหมายงานเป็นกลุ่ม 2.2.4 สรุปเนื้อหาบทเรียน
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาคด้วยข้อสอบ
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 3.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ 3.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 3.1.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
3.2.1 มอบหมายงาน
3.3.1 พิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย 3.3.2 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม 4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.1.4 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 มอบหมายงานให้ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม, รายบุคคล และมีการนำเสนองานแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น
4.3.1 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย 4.3.2 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์   5.1.3 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.4 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
 
 
 
 
5.2.1 นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.2 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.3 อธิบายวิธีการใช้เครื่องคำนวณในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
5.3.1 ผลจากการประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGIE101 สถิติวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2.2 , 2.2.3,2.3.1, 3.2.1,4.2.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 , 17 30% , 40%
2 2.1.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า รายงานและการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 1.3.1 4.2.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1.3.2, 3.3.1 , 4.3.1 การส่งงานตามเวลาที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา - การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- ประเมินผลโดยคณะวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตาม PM-14 - อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเองโดยดูพฤติกรรมการเรียนและผลการสอบของนักศึกษา
- ประชุมผู้สอนเทอมละ 1 ครั้ง เพื่อสรุปประเด็นปัญหาเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอน - การวิจัยในชั้นเรียน
- อาจารย์มีการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมในการให้คะแนน - มีการทวนสอบการให้คะแนนในข้อสอบ รายงาน โดยอาจารย์ท่านอื่นที่สอนในรายวิชาเดียวกัน - จัดทำคลังข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชา
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ - ทำการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อหาค่าความยากง่าย