การเงินธุรกิจ

Business Finance

๑.๑  เพื่อให้รู้แนวคิด ความหมายของการเงินธุรกิจ  และเป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ
        ๑.๒  เพื่อให้รู้และเข้าใจเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงิน  การพยากรณ์  และการควบคุมทางการเงิน
        ๑.๓  เพื่อให้สามารถวิเคราะห์งบการเงินและพยากรณ์ทางการเงินได้
        ๑.๔  เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียน  และเข้าใจในการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
        ๑.๕  เพื่อให้รู้และเข้าใจการจัดทำงบจ่ายลงทุน
        ๑.๖  เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ  และโครงสร้างทางการเงิน
        ๑.๗  เพื่อให้รู้และเข้าใจการจัดทำต้นทุนของเงินทุน
        ๑.๘  เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษาให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานการเรียนรู้ ๕ ด้านตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
๒.๑  พัฒนาการเขียนวิเคราะห์  ฝึกหัดการสรุปผล  การเขียนอธิบาย  การตีความ
        ๒.๒  เพิ่มการใช้โปรแกรม ในการวิเคราะห์งบการเงิน
ศึกษาความหมายของการเงินธุรกิจ  เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ  เทคนิคในการวิเคราะห์  การพยากรณ์  และการควบคุมทางการเงิน  การจัดการทุนหมุนเวียน  งบจ่ายลงทุน  วิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาของผู้สอน โดยประมาณ ๖ ชั่วโมงต่อสัปดาห์
                             ๑)  มีความรู้ความเข้าใจหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึก                          สาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรายบ ซึ่อสัตย์สุจริตต่อ          ตนเองและผู้อื่น
               ๒)  มีวินัย  ซื่อสัตย์สุจริต  ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
                 ๓) สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
                 ๔) มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
       ๑)  กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการเข้าเรียน การแต่งกายตามระเบียบ การส่งงานหรือแบบฝึกหัดตาม                  เวลาที่กำหนด มีวินัยตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์ต่อการสอบ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม                     และสิ่งแวดล้อม มีน้ำใจมีความเสียสละต่อส่วนรวม
                 ๒)  บรรยายสอดแทรกในเนื้อหาวิชา ในระหว่างทำการสอน เกี่ยวกับ คุณธรรมจริยธรรม                                    จรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ  มีจิตสำนึกสาธารณะ
๑)  ติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ตลอดภาคการศึกษา
               ๒)  สังเกตพฤติกรรมในการเข้าเรียน การส่งแบบฝึกหัด หรืองานที่มอบหมาย
                   ๓)  ประเมินจากการปฏิบัติตนในการสอบ
๑)  แนวคิด ความหมายของการเงินธุรกิจ  และเป้าหมายของการจัดการทางการเงิน  เครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงิน  การพยากรณ์และการควบคุมทางการเงิน  เงินทุนหมุนเวียน  วิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ  โครงสร้างทางการเงินและต้นทุนของเงินทุน
               ๒)  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา และการดำรงชีวิตประจำวัน
               ๓)  เทคนิคในการวิเคราะห์งบการเงิน  พยากรณ์ทางการเงิน  และงบจ่ายลงทุน
                ๔) ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ วิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
๑)  การสอนแบบกรณีศึกษา  รวมถึงการบรรยาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากรายงานการเงินของธุรกิจที่เปิดเผยข้อมูลในเวปไซด์ ถาม-ตอบ ในชั้นเรียน
               ๒) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากงบการเงินของธุรกิจจริง ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อใช้ประกอบการเรียนและทำแบบฝึกหัด
                              ๓)  การสอนโดยการอภิปรายกลุ่ม และให้นักศึกษาวิเคราะห์จากโจทย์ปัญหา ตัวอย่างงบการเงินจริง สุ่มตัวอย่างกลุ่มมาอภิปรายซักถามในห้องเรียน
๑)  สอบกลางภาค
               ๒)  สอบปลายภาค
                ๓)  สอบย่อย
               ๔)  ความถูกต้องของการวิเคราะห์จากกรณีศึกษา/งานที่มอบหมาย
๓.๑   ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
               ๑)  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
               ๒)  สามารถประยุกต์ และบูรณาการความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น เศรษฐศาสตร์ การเงิน การตลาด ให้สอดคล้องกับการวิเคราะห์รายงานการเงิน รวมถึงการพยากรณ์และการวางแผนทางการเงิน
                             ๓)  สามารถติดตาม ประเมินผล  และสรุปผลรายงานผลการวิเคราะห์รายงานการเงิน รวมไปถึงการพยากรณ์และการวางแผนทางการเงิน
๑)  บรรยาย ยกตัวอย่าง ถาม – ตอบในชั้นเรียน
               ๒)  ฝึกการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
                 ๓) เชิญวิทยากรจากสถาบันการเงินภายนอกมาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์การเงินในปัจจุบัน
                             ๔)  ให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์รายงานการเงิน วิเคราะห์ความคุ้มทุนของการลงทุน ธุรกิจที่นักศึกษามีความสนใจ หรือ กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย และ นำเสนอในชั้นเรียน 
๑)  สอบกลางภาค
               ๒)  สอบปลายภาค
               ๓)  การตอบปัญหาในชั้นเรียน การแก้ปัญหาโจทย์แบบฝึกหัดและปัญหาต่างๆ
               ๔)  คุณภาพของงาน รายงานการวิเคราะห์งบการเงิน ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และรายงาน การนำ ความรู้ทางการเงินธุรกิจประยุกต์ใช้กับ วิสาหกิจชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ
๑)  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
               ๒)  สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มได้  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ และสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                ๓)  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
                 ๔) มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
๑)  มอบหมายให้ทำรายงานกลุ่มย่อย กรณีศึกษากลุ่ม ละ  3 - 5 คน
                             ๒)  อภิปรายกลุ่มย่อยจากกรณีศึกษา
๑)  ประเมินผลจากการรายงาน
               ๒)  ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่มอบหมาย
                             ๓)  นักศึกษาในกลุ่มประเมินผล
๑)  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจและชีวิตประจำวัน
                   ๒)  สามารถรายงานผลการวิเคราะห์ทั้งด้วยวาจา และการเขียนรายงานสรุปผลการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสมและนำเสนอได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
                 ๓)  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
๑)  สืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับงบการเงินของธุรกิจที่นักศึกษามีความสนใจจากเวปไซด์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และจัดทำรายงาน เป็นกลุ่ม
               ๒)  จัดทำสื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
               ๓)  มอบหมายกรณีศึกษาให้วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์จากกรณีศึกษาในห้องเรียน
๑)  ประเมินผลจากการรายงาน
               ๒)  ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่มอบหมาย
               ๓)  นักศึกษาในกลุ่มประเมินผล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 BBACC107 การเงินธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ ๑,๒,๓,๕ การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ๙ ๑๘ ๓๐% ๓๐%
2 ๓,๔,๕ รายงานกลุ่มและการนำเสนอ งานเดี่ยว/การวิเคราะห์/ตอบปัญหาในขณะเรียน ๑๔ สุ่มเป็นรายสัปดาห์ ๒๐% ๑๐%
3 ๑,๒,๓,๔,๕ สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน การมีส่วนร่วมในห้องเรียน ความมีวินัย ตรงเวลา ในการเข้าเรียน สุ่มเป็นรายสัปดาห์ ๑๐%
- การเงินธุรกิจ ผู้เรียบเรียง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสรฐสุดา  ปรีชานนท์
- การเงินธุรกิจ ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลวรรณ พิมพ์แพทย์
- การจัดการการเงิน ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์
- การเงินธุรกิจ ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญพิมล ลีโนทัย
- เอกสารประกอบการสอน การเงินธุรกิจ  อาจารย์พวงทอง วังราษฏร์
-  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  การวิเคราะห์งบการเงิน
         -  www.sec.or.th , www.settrade.com , www.fap.or.th
ใช้แบบประเมินผลอาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
ประเมินการสอนจากผลการสอบของนักศึกษา   จากงานกลุ่มการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา และตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
         ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา  การทำกรณีศึกษา ได้ทำการปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอน ตามผลการประเมินของนักศึกษาในภาคเรียนที่ผ่านมา โดยเพิ่ม 1) วิธีการการถ่ายทอดความรู้ด้วยที่หลากหลายมากขึ้น เพิ่มกรณีศึกษา และบทความวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น และ2) บูรณาการกับวิชาด้านการตลาด ในประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงิน และวิเคราะห์วิธีการดำเนินงานของสถานประกอบการ โดยใช้โปรแกรม excelอย่างง่าย
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
                   ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
นำผลการประเมินข้อ ๑ ข้อ ๓ ข้อ ๔ มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา ด้านวิธีการสอนของ ผู้สอน ตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนเพื่อปรับปรุงเนื้อหา และการออกข้อสอบ รวมถึงการจัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง