ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู 2

Professional Experience 2

สามารถบูรณาการความรู้ทั้งหมดที่ได้ศึกษามาใช้ในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาจริง สามารถนำประมวลรายวิชาเฉพาะมาจัดทำแผนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถนำเทคนิคและยุทธวิธีการสอนมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้   สามารถเลือกใช้และผลิตวัสดุช่วยสอน ตลอดจนเทคนิคการแก้ไขปัญหา สามารถจัดทำสื่อสนับสนุนการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติ วัสามารถดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามสภาพความเป็นจริงและนำผลมาพัฒนาการจัด  การเรียนรู้ สามารถจัดทำบันทึกและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ สามารถวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการประเมินมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สามารถจัดกิจกรรมทางวิชาการเรียนรู้รวมทั้งการปฏิบัติงานครูด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานสอนโดยตรง      และเพื่อส่งเสริมการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในองค์การ มีเจตคติที่ดีและศรัทธาวิชาชีพครู  ร่วมสัมมนาการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ  สามารถนำเสนอผลการวิจัยในนชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูสามารถปฏิบัติงานด้านการสอน ผลิตสื่อ และปฏิบัติงานอื่น ๆ ในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา
          ปฏิบัติการสอนในรายวิชาเอกที่มีทั้งการเรียนภาคทฤษฏีและปฏิบัติที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนในสถาบันที่ไปปฏิบัติการสอน จัดทำแผนการเรียนรู้และปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ ใช้นวัตกรรมในการเรียนและการสอน การจัดทำสื่อสนับสนุนการเรียน การสอนรายวิชาปฏิบัติ การควบคุมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติการทดลองของนักศึกษา การจัดทำและตรวจข้อสอบและใบงานการทดลอง การให้คะแนนและการตัดสินผลการเรียน การสอบภาคปฏิบัติและการให้คะแนน การวัดและประเมินผลและนำผลไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน การวางตนอยู่ในข้อบังคับของสถานศึกษาที่ไปทำการสอน การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมระบบคุณภาพ การมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือแบ่งปันความรู้ในการสัมมนาการศึกษาและนำเสนอผลการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
          นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อทำให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
          1.1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
          1.1.2  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
          1.1.3  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
          1.1.4  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
          นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาวิชาชีพผ่านทางการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตร ซึ่งอาจารย์ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกภาคการศึกษา ด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรม และมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน นักศึกษาที่คะแนนความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์อาจต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มจบการศึกษา
          กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ 
          ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
          1.3.1  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
          1.3.2  ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
          1.3.3  ปริมาณการทำทุจริตในการสอบ
          1.3.4  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
          1.3.5  ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
          นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษา ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะ อันเป็นสิ่งสำคัญที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้น มาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุม ดังนี้
          2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
          2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
          2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
          ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสถาพแวดล้อมจริง และให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ 
          การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้ สามารถทำได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียน ทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร โดยใช้การวัดผล ดังนี้
          2.3.1  การทดสอบย่อย
          2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
          2.3.3  ประเมินจากงานที่นักศึกษาจัดทำ
          2.3.4  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
          2.3.5  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
          2.3.6  ประเมินจากรายวิชาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
          นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม และความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุ เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
          3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
          3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิด และใช้อย่างเป็นระบบ
          ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานกาณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง และเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
          การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา โดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
          3.3.1  บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
          3.3.2  การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ปัญหาในบริบทต่าง ๆ
          3.3.3  การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
          3.3.4  การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
          นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำงานร่วมกับคนที่มาจากหลายที่ มีความแตกต่างกันทางความคิด วัฒนธรรม สถาบันการศึกษา และเชื้อชาติ ซึ่งอาจเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง นักศึกษาจึงต้องได้รับการฝึกประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ดังนั้นผู้สอนต้องแนะนำการวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
          4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
          4.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          4.1.3  สามารถทำงานเป็นที่และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
          4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
          ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบผลสำเร็จในงานอาชีพ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
          4.2.1  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
          4.2.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
          4.2.3  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
          4.2.4  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและบุคคลทั่วไป
          4.2.5  มีภาวะผู้นำและผู้ตาม
          4.2.6  มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
          การวัดและการประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบกรณ์ต่าง ๆ เช่น
          4.3.1  พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
          4.3.2  พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
          ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
          5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
          5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
          5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
          5.2.1  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
          5.2.2  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
          5.2.3  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
          5.2.4  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
          การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
          5.3.1  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
          5.3.2  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้
          5.3.3  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
          5.3.4  จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
          การทำงานในถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้น ไม่ได้ใช้เพียงหลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
          6.6.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          6.6.2  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม
          จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อดังต่อไปนี้
          6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
          6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการ โดยผู้เชี่ยวชาญ
          6.2.3  สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
          6.2.4  จัดนิทรรศการการแสดงผลงานของนักศึกษา
          6.2.5  สนับสนุนการทำโครงงาน
          6.2.6  การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
          6.3.1  มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
          6.3.2  มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
          6.3.3  มีการประเมินการทำงานในภาคปฏิบัติ
          6.3.4  มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
          6.3.5  มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCC816 ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1, 4.2, 4.3, 4.4, 5.1, 5.3, 6.1, 6.2 - การนิเทศการสอน - ประเมินผลจากอาจารย์พี่เลี้ยง นักศึกษา และ ผู้บริหารของสถานศึกษาที่ปฏิบัติการสอน ตลอดภาคการศึกษา นิเทศก์ 30% จากพี่เลี้ยง นักศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา 40%
2 2.2, 3.1, 3.2, 6.1, 6.2 การจัดสัมมนาสรุปผลการปฏิบัติการสอน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 2.2, 6.1, 6.2 การจัดทำรายงานที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 20%
1.  กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2536.
2.  กิดานันท์ มลิทอง. ผศ. สื่อการสอนและฝึกอบรมจากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิจิตอล. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์ , 2544.
3.  ยุทธพงษ์ไกยวรรณ. เทคนิคและวิธีการสอน. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดีจำกัด, 2541.
4.  ไพโรจน์  ตีรณธนากุล. รศ. วิธีสอนวิชาทฤษฏี. กรุงเทพฯ :  บริษัทพิมพ์ดีจำกัด, 2542.
5.  สุชาติศิริสุขไพบูลย์. ผศ. เทคนิคและวิธีการสอนวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2527.
6.  สุรพันธ์  ตันศรีวงษ์. วิธีการสอน. กรุงเทพฯ : บริษัทสกายบุ๊กส์ จำกัด, 2538.
7.  วัลลภ จันทร์ตระกูล. ผศ. สื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสัมมนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  ปรับปรุงเทคนิคการนิเทศก์การสอน
5.2  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4