วิศวกรรมฐานราก

Foundation Engineering

เพื่อให้นักศึกษารู้และสามารถปฏิบัติการเกี่ยวกับการสำรวจชั้นดิน  คำนวณกำลังรับน้ำหนักของฐานราก สามารถออกแบบฐานรากเดี่ยว และฐานรากแพ สามารถออกแบบ ฐานรากเสาเข็ม ตอม่อสะพาน สามารถวิเคราะห์การทรุดตัวของชั้นดิน รู้ปัญหาเกี่ยวกับ แรงดันด้านข้างของดิน สามารถออกแบบโครงสร้างกำแพงกันดิน และเสาเข็มพืด รู้วิธีการปรับปรุงคุณภาพดินเบื้องต้น ปฏิบัติการออกแบบฐานราก และเข้าใจรายละเอียดของงานแบบฐานราก
-
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการสำรวจชั้นดิน กำลังรับน้ำหนักของฐานราก การออกแบบฐานรากเดี่ยว และฐานรากแพ การออกแบบฐานรากเสาเข็ม ตอม่อสะพาน การวิเคราะห์การทรุดตัว ปัญหาเกี่ยวกับแรงดันด้านข้างของดิน โครงสร้างกำแพงกันดิน และเสาเข็มพืด การปรับปรุงคุณภาพดินเบื้องต้น ปฏิบัติการออกแบบฐานราก และการเขียนแบบรายละเอียดของงานฐานราก
-  อาจารย์ประจำรายวิชาและนักศึกษากำหนดเวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
 - นักศึกษาสอบถามได้ทั้งในห้องเรียนและนอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์หรือสอบถามทางสื่อออนไลน์ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะ ผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 ตรวจสอบการเข้าเรียนทุกครั้ง  และการส่งรายงานประจำสัปดาห์
1.2.2 ปลูกฝังและส่งเสริมให้มีความเป็นผู้นำกลุ่มและผู้ตามที่ดี  มีความสามัคคีในการทำงาน
1.2.3 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม  ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณวิชาชีพและวิชาการ   และส่งเสริมให้นักศึกษาตระหนักในคุณค่าระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
1.2.4 กำหนดความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1 พิจารณาจากความตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ
1.3.3 ตรวจสอบจำนวนการกระทำผิดทางด้านวินัยในช่วงที่เข้าเรียน และปริมาณการกระทำทุจริตในรายงาน
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้งานกับด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านวิศวกรรม
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 มอบหมายให้นักศึกษากำหนดกรณีศึกษา และเก็บข้อมูลจากที่เกี่ยวข้องโดยสัมภาษณ์กับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ตรง
2.2.2 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างวิธีการออกแบบ  
2.2.3 ยกตัวอย่างการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
2.3.2 ประเมินจากการตอบคำถาม และการค้นคว้าข้อมูลสำหรับกรณีศึกษา
2.3.3 ประเมินผลการนำเสนอรายงานและวิธีการที่นำความรู้ไปประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหา             
3.1.1 มีความความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
 
3.2.1  มอบงานให้นักศึกษาค้นคว้า และเพื่ออภิปรายหาแนวทางการแก้ไข รวมทั้งจัดทำรายงานเกี่ยวกับกรณีศึกษาที่พบในงานจริง
3.3.1 พิจารณาจากประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของผลงาน
3.3.2 พิจารณาจากความถูกต้องและความเป็นไปได้จากผลในรายงาน
3.3.3 พิจารณาจากการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา 
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคัมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามรถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 กำหนดกิจกรรมให้นักศึกษาทำงานร่วมกันในกลุ่ม เพื่อให้นำเสนอโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.2 กำหนดให้นักศึกษามีการวางแผนการทำงาน และกำหนดบทบาทของตนเพื่อทำให้งานที่ได้รับมอบหมายดำเนินการเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
4.2.3 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมาย และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปติดต่อประสานงานได้
4.2.4 ปลูกฝังให้นักศึกษามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.5 สร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานและรักษาสภาพแวดล้อมต่อไป
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วม การนำเสนอผลงาน การอภิปราย และการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
4.3.2 พิจารณาจากพฤติกรรมการจัดและแบ่งงานในแต่ละกลุ่ม และคุณภาพของงานที่นักศึกษาแต่ละคนได้รับผิดชอบ
4.3.3 ประเมินจากผลงานที่สมาชิกในกลุ่มได้รับผิดชอบและจัดทำ
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี            
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้อง
5.1.1 อธิบายและมอบหมายให้นักศึกษามีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพมาใช้ในการแปลความหมาย รวมทั้งการเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา
5.2.2 มอบหมายการสร้างเอกสารประกอบการนำเสนอ และเปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอโครงงานโดยมีรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา
5.3.2 ประเมินจากการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี และผลสัมฤทธิ์ในการนำเสนอ
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 กำหนดให้นักศึกษาปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ และให้ส่งงานที่มอบหมายเป็นระยะ
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิศวกรรมโยธากับหน่วยงานภายในและภายนอก
6.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2 ประเมินจากผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.3 ประเมินโครงงานที่นำเสนอโดยพิจารณาจาก การส่งงานที่มอบหมายตรงเวลา และความถูกต้องของงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คูณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 3 4 1 2 / 3 4 5 2 3 4 5 1 1 2
1 ENGCV203 วิศวกรรมฐานราก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1..1,1.2,1.4,1.5 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 9, 18 60%
2 2.2,2.5 ทดสอบสมรถนะหลังบทเรียน จำนวน 10 สมรถนะ 2-17 10%
3 2.2, 2.5, 3.1, 3.3, 3.4, 4.1-4.5 การบรรยายด้วยปากเล่าและการตอบคำถาม รายงานฉบับสมบูรณ์ Term project 17 10%
4 1.1-1.5, 4.1-4.5, 6.1-6.2 การเข้าชั้นเรืยน ความประพฤติ และการให้ความร่วมมือในชั้นเรียน 1-17 10%
5 1..1,1.2,1.4,1.5 สมุดจดบันทึกตลอด 17 สัปดาห์ 9,18 10%
1. ทวีชัย กาฬสินธุ์ (2565) “เอกสารคำสอนวิชาวิศวกรรมฐานราก”, หลักสูตรวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, เชียงใหม่.  307 หน้า
2. พัลลภ วิสุทธิ์เมธานุกูล (2558) “คู่มือวิศวกรรมฐานราก”  เอ็ดยูเคชั่น จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1,กรุงเทพ  ISBN : 978-616-08-2198-3
3. ชัย มุกตพันธ์ และ คาซูโต นากาซาวา (2546), “ปฐพีกลศาสตร์และวิศวกรรมฐานราก”, สำนักพิมพ์ดวงกมล. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพ  ISBN: 9789742431389
1. Braja M. Das (2010) Principle of foundation engineering, 7th edition, CL Engineering, Stamford, USA.
2. Bowles, J.E., Foundation analysis and design. 5th ed. 1997, Singapore: The McGraw-Hill Companies, Inc. 1175.
3. Murthy, V.N.S  (2002) Geotechnical Engineering: Principles and Practices of Soil Mechanics and Foundation Engineering, CRS Press , ISBN 9780824708733
4. Conduto, P.D.(2001) Foundation Design: Principles and Practices, Prentice-Hall, Icn, New Jersey, ISBN 0135897068
5. สุขสันต์ หอพิบูลสุข (2555) “วิศวกรรมฐานราก” ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพ  ISBN :  9786167060422
 
1. ฐานข้อมูลและสื่อออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยฯ E-book Access Engineering
2. ฐานข้อมูลและสื่อออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยฯ E-book ScienceDirect
3. ASCE ,http://www.ascelibrary.org/?gclid=COi31YGZzaUCFUQa6wodnBXViw.
4. Géotechnique , http://www.icevirtuallibrary.com/content/serial/geot.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
3. ข้อเสนอแนะผ่าน e-mail address หรือระบบออนไลน์ของอาจารย์ผู้สอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 พิจารณาปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และตามคำแนะนำจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
3.2 ประชุมเพื่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดในภาคการเรียนก่อนหน้า
3.3 ใช้ระบบออนไลน์เพื่อสอบถาม และประมวลผล ผลการเรียนของนักศึกษา รวมทั้งหาแนวทางในการปรับปรุงลักษณะรายวิชาในภาคการเรียนต่อไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจาก     ผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ดังนี้
4.1 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ให้อาจารย์ประจำวิชาเข้าร่วมสัมมนา และงานประชุมเชิงวิชาการในระดับชาติ หรือนานาชาติ เพื่อปรับปรุงให้ทันต่อวิทยาการที่ทันสมัย
5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนทั้งทางด้านทรัพยากรที่จำเป็น ให้อาจารย์ประจำวิชาทำวิจัยในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่ได้รับมอบหมายให้สอน