ศึกษาดูงานสิ่งทอและเครื่องประดับ

Technical Visit to Textile and Jewelry

1. ดูงานด้านสิ่งทอและเครื่องประดับทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด
2. เข้าใจวิธีการบันทึกสิ่งที่มองเห็นจากการศึกษาดูงานสิ่งทอและเครื่องประดับ
3. เข้าใจวิธีการทำรายงานและการนำเสนอโครงงานที่ได้จากการศึกษาดูงาน
4. มีทักษะในการเขียนบันทึกและทำรายงานรวมถึงการเสนอโครงงานที่จะนำมาพัฒนา
ด้านสิ่งทอและเครื่องประดับ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ต่อยอดจากการศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้านสิ่งทอและเครื่องประดับ สามารถทำงานติดต่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีมีความสามารถในการเขียนบันทึกและทำรายงานรวมถึงการเสนอโครงงานที่จะนำมาพัฒนาด้านสิ่งทอและเครื่องประดับสามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาดูงานไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในวิชาชีพได้เป็นอย่างดีรวมถึงการเตรียมพร้อมที่จะเป็นนักออกแบบให้กับองค์กรที่นักศึกษาเข้าไปฝึกงานในชั้นปีต่อไป
ศึกษาดูงานและจัดทารายงานนาเสนอเกี่ยวกับสถานประกอบการด้านสิ่งทอและเครื่องประดับ
Technical visits to textile and jewelry and report writing about the visit.
- อาจารย์ประจารายวิชาแจ้งให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ทางไลน์ทาง email address
ของอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการของผู้เรียน
นักศึกษาต้องมีความตระหนักในคุณธรรมจริยธรรมและซื่อสัตย์สุจริตเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมผู้พัฒนาจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆอาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 4 ข้อเพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆที่ศึกษารวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรมจริยธรรมอย่างน้อย 4 ข้อตามที่ระบุไว้
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัยขยันอดทนตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อมเคารพสิทธิใน
คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางใช้วิธีการสอนแบบ active learning มีกิจกรรมในชั้นเรียนและจากการศึกษาดูงานในสถานประกอบการภายในประเทศผู้เรียนนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียนฝึกปฏิบัติให้มีการสังเกตการฟังและการบันทึกสิ่งที่มองเห็นข้อมูลความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานหรือประสบการณ์ตรงที่ได้ระหว่างการศึกษาดูงาน
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามใบงานที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 การเข้าร่วมศึกษาดูงานการบันทึกข้อมูลระหว่างการศึกษาดูงาน
1.3.3 ประเมินผลงานตามที่ได้รับมอบหมายและการนำเสนอในชั้นเรียน
1.3.4 ผู้เรียนประเมินผลตนเองและประเมินอาจารย์ผู้สอน
นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เห็นจากการทำงานเครื่องมือเครื่องจักรการจัดแสดงผลงานโลกทัศน์เทคนิคในการทำงานการแก้ปัญหาการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักออกแบบในสถานประกอบการ
อาจารย์ผู้สอนพิจารณาสถานประกอบการภายในประเทศแล้วติดต่อประสานงานเพื่อให้นักศึกษาไปศึกษาดูงานบันทึกข้อมูลรวมทั้งให้นักศึกษานำเสนอผลการศึกษาดูงานที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองพัฒนาสถานศึกษานักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเดินทางและการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
2.3.1 ประเมินผลจากแบบบันทึกที่มอบหมายและประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
2.3.2 ผู้เรียนประเมินตนเองและประเมินผลงานการสอนของอาจารย์
พัฒนาความสามารถในการสร้างกรอบคิดในการนาเสนอ Project ความสามารถในการสืบค้นเอกสารการวางแผนงานการปฏิบัติตัวมารยาททางสังคมการปฏิบัติตามกฎระเบียบในขณะเข้าศึกษาดูงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ประกอบการการสร้างเครือข่ายความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนจากสื่อออนไลน์ที่ผู้สอนจัดทาและการส่งงาน
3.2.1บรรยายและให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยีเรียนรู้ด้วยตนเองวางแผนการเรียนและการประเมินผลการเรียนการตรวจสอบผลการเรียนด้วยตนเอง
3.2.2 การมอบหมายให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสังเคราะห์วางแผนการศึกษาดูงานวิธีการบันทึกที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักสูตร
3.2.3 มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆแล้วนามาวิเคราะห์สังเคราะห์การบันทึกการสังเกตการปฏิบัติตัวมารยาททางสังคมการปฏิบัติตามกฎระเบียบในขณะเข้าศึกษาดูงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ประกอบการ
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการศึกษาดูงานเป็นการทารายงานการนำเสนอโปรเจคที่เป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรต่อตัวนักศึกษาและต่อสถานประกอบการ
3.3.1 วัดผลจากการคะแนนงานปฏิบัติและการนาเสนอผลงาน
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนทั้งเรียนในชั้นเรียนและขณะศึกษาดูงาน
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกันและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้พูดและผู้ฟัง
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบขณะเดินทางศึกษาดูงานและส่งงานตามที่มอบหมาย
4.1.4 พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการส่งงานมีความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงาน
4.2.1 ให้ผู้เรียนปฏิบัติการบันทึกในขณะศึกษาดูงานตามหัวข้อที่กำหนดและนาเสนอในชั้นเรียน
4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคลเช่นเขียนความคาดหวังของนักศึกษาที่ต้องการได้รับจากการศึกษาดูงานในสถานประกอบการภายในจังหวัดเชียงใหม่และต่างจังหวัด
4.2.3 นำเสนอสรุปผลรายงานที่มีประโยชน์ต่อตนเองต่อสถานประกอบการและต่อหลักสูตร
4.3.1 ประเมินตนเองและเพื่อน (กิจกรรมรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม)
4.3.2 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.3 ประเมินจากนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูดการฟัง
5.1.2 พัฒนาทักษะในการเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย
5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารเช่นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างศึกษาดู
งาน Scan และ Upload ส่งงานทางอินเทอร์เน็ตการสนทนในไลน์ในอีเมล์
5.1.6 ทักษะในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
5.2.1 กิจกรรม Active learning กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามหน่วยเรียน
5.2.2 นักศึกษาทางานตามใบงานที่มอบหมาย
5.2.3 นำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียน
5.2.4 มอบหมายให้ส่งผลงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ทาง Google Classroom
5.3.1 ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติตามใบงานที่มอบหมาย
5.3.2 ประเมินจากการนำเสนอ
5.3.3 ประเมินจากการเข้าร่วมศึกษาดูงานความรับผิดชอบตัวเองขณะศึกษาดูงานการเป็นผู้ฟังที่ดี
มีทักษะพิสัยในการปฏิบัติด้านการเขียนบันทึกในขณะศึกษาดูงานและจัดทารายงานหลังจากศึกษาดูงานโดยประเมินจากผลงานปฏิบัติที่ได้รับมอบหมายความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีการนำเสนองาน
ร่วมวางแผนการเดินทางการเลือกสถานประกอบการการขอความอนุเคราะห์จากสถานประกอบการการบันทึกข้อมูลระหว่างศึกษาดูงานการนำเสนอและร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากผลงานปฏิบัติของนักศึกษาที่มอบหมายและแนวคิดในการนาเสนอโครงงานที่เป็นประโยชน์หลังจากการฝึกงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 4 1 1 1 1
1 BAATJ117 ศึกษาดูงานสิ่งทอและเครื่องประดับ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 , 17 15% 15%
2 3.1.1,3.1.2 ประเมินผลจากผลงานภาคปฏิบัติ (การจัดการเรียนเต็มเวลาในชั้นเรียนและศึกษาดูงานนอกสถานที่) ตลอดภาคเรียน 40%
3 5.1.1, 6.1.1 การวิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 1.1.1, 4.2.1,4.2.2 การเข้าชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม และผลการทำงาน ทักษะในการสร้างสัมพันธ์และมารยามสังคมที่ดีระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1 กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย.(2556). การศึกษาดูงาน. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565 จาก  
                   https://www.dol.go.th/train/DocLib1/06site.pdf
    1.2 พนัส ปรีวาสนา .(2565).เครื่องมือเปิดหูเปิดตา (ศึกษาดูงาน). สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565  จาก    
                   https://www.gotoknow.org/posts/691200
    1.3 วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. (2560).การดูงานมีประโยชน์จริงหรือ . สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565 จาก
                   https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/116685
1.4 Allan Wooddrow, (2018). Field tripped. Scholatic Press.
1.5 Ronald V. Morris, (2014). The Field trip book. Information Age publishing.
แบบบันทึก สาหรับศึกษาดูงาน
3.1 เว็ปไซด์ของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทางด้านสิ่งทอ แฟชั่น เครื่องประดับ
  3.2 รายชื่อผู้ประกอบการทางด้านสิ่งทอ แฟชั่น เครื่องประดับ
  3.3 แผ่นพับ / แผ่นประชาสัมพันธ์การจัดงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสิ่งทอ แฟชั่น เครื่องประดับ
  3.4 ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทาโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนาแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเมล์และเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทาเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตผู้เรียนขณะทากิจกรรมศึกษาดูงาน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา การส่งงานการนาเสนองาน
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสัมภาษณ์นักศึกษา หรือการตอบแบบสอบถามของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงแผนการสอน และเนื้อหาให้ทันสมัย
5.2 ปรับปรุงรูปแบบการสอน ให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21