การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส

Sensory Evaluation

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 รู้ความสำคัญและหลักการของการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารโดยวิธีทางประสาทสัมผัส
1.2 เข้าใจวิธีการที่ใช้ในการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารโดยวิธีทางประสาทสัมผัส
1.3 เข้าใจสถิติในการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส แนวทางการรายงานผล
1.4 มีทักษะในการประเมินคุณภาพอาหารโดยวิธีทางประสาทสัมผัส
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ที่นำมาใช้ในปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญและความหมายของการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยวิธีทางประสาทสัมผัส ลักษณะทางประสาทสัมผัสและการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส วิธีการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส การคัดเลือกและการฝึกฝนผู้ทดสอบ การใช้สถิติในการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส แนวทางการรายงานผล
Importance and define of sensory evaluation; basic senses of human; sensory perception; factors that affect performance on sensory test; method of sensory evaluation; method of selecting and training of panelists; statistical analysis of sensory evaluation; guidelines for reporting results.
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยอาจารย์จะแจ้งวันเวลาให้นักศึกษาทราบ หรือติดต่อกับอาจารย์ทางโทรศัพท์หรือ E-mail โดยอาจารย์แจ้งให้นักศึกษาทราบในใบกำหนดการสอนที่แจกให้กับนักศึกษา
 
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม
1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
˜ 1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มอบหมายงาน/บทปฏิบัติการที่ต้องปฏิบัติเป็นกลุ่ม และมีการแสดงความคิดเห็น
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดง ออกในชั้นเรียน และในสถานการณ์ต่างๆว่ามีการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น จัดให้มีการประเมินโดยตนเอง ประเมินโดยเพื่อน และประเมินโดยผู้สอน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 มีความรู้ในสาขาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมทั้งการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
 
ใช้การสอนแบบบรรยายโดยใช้ power point ประกอบเอกสารคำสอน และการสอนแบบปฏิบัติการ (Laboratory) มีการมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
การสอบวัดความรู้ ถาม-ตอบปัญหาในชั้นเรียน ทำรายงานรายบุคคลและหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การนำเสนองานที่ได้มอบหมายในชั้นเรียน
3.1 มีความสามารถในการ ค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่นๆโดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
˜ 3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
ใช้วิธีสอนแบบปฏิบัติการ (Laboratory) โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ให้ผู้เรียนทดลองปฏิบัติภายใต้การแนะนำช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
ประเมินจากรายงาน การตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบ การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบในกลุ่ม
4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
˜ 4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
ในการสอนแบบปฏิบัติการมีการแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มเพื่อ เพื่อให้นักศึกษาวางแผนการทำงานกับผู้อื่นได้ มีการมอบหมายงานให้ค้นคว้าข้อมูลและการมีนำเสนอรายงาน
การประเมินจากการแสดงออก และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
˜ 5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้นๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
5.4 มีวิจารณญานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล
5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.7 สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
ในการสอนแบบปฏิบัติการมีการนำผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสมาแปลความหมายโดยใช้วิธีทางสถิติ และมีการมอบหมายงานให้รสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนองานโดยใช้ PowerPoint การเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
ประเมินจากรายงานผลการทดลองและการนำเสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน การนำเสนอความรู้ใหม่ การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอเอกสารรายงานของนักศึกษา
˜ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
จัดให้นักศึกษาเรียนปฏิบัติการเป็นกลุ่ม โดยมีการเลือกใช้อุปกรณ์ และวิธีการที่เหมาะสม
ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 5 1 4 1 2 1
1 BSCFT133 การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 - 1.5 พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-15 10 %
2 2.1 - 2.4 สอบรายหน่วย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 1-15 60 %
3 3.1 - 3.4 4.1 – 4.4 5.1 - 5.5 6.1 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งรายงานบทปฏิบัติการ การนำเสนองาน/การรายงาน 1-15 30 %
เฉลิมพล ถนอมวงค์. 2552. การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก. 89 น.
เพ็ญขวัญ ชมปรีดา. 2550. การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสและการยอมรับของผู้บริโภค. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 265 น.
ปราณี อ่านเปรื่อง. 2547. หลักการวิเคราะห์อาหารด้วยประสาทสัมผัส. พิมพ์ครั้งที่ 1.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 323 น.
ไพโรจน์ วิริยจารี. 2545. การประเมินทางประสาทสัมผัส. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 412 น.
Morten Meilgaard , Gail Vance Civille , and B. Thomas Carr. 1999. Sensory Evaluation Techniques. Third Edition. CRC Press.
- เอกสารประกอบการสอน
- เอกสารบทปฏิบัติการ
- เว็บไซด์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส
1.1 นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การใช้สื่อการสอน การประเมินผลนักศึกษา ด้านบุคลิกภาพและจริยธรรมของผู้สอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 ประเมินจากผลการสอบของนักศึกษา
2.2 ควรมีการประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือสังเกตการสอน (สังเกตการสอนและสอบถามจากนักศึกษา)
3. การปรับปรุงการสอน : จากผลการประเมินการสอนในข้อ 1 และ 2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยสาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน นอกจากนี้ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ