ทฤษฎีโครงสร้าง

Theory of Structures

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการคำนวณโครงสร้าง สามารถคำนวณแรงปฏิกิริยา แรงเฉือน และโมเมนต์ดัดในคานและโครงข้อแข็งได้ สามารถวิเคราะห์แรงที่เกิดขึ้นในองค์อาคารต่างๆของโครงข้อหมุน สามารถคำนวณและเขียนแผนภาพแรงเฉือนและโมเมนต์ดัดของโครงสร้างเนื่องจากแรงสถิตย์และแรงเคลื่อนที่ได้ เห็นคุณค่าของวิชาทฤษฎีโครงสร้างเพื่อประยุกต์กับการทำงานจริงได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้   ความเข้าใจ       
ในการวิเคราะห์โครงสร้าง  เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาออกแบบโครงสร้างอาคาร และวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงสร้างแบบดิเทอร์มิเนทเพื่อหาแรงปฏิกิริยา แรงเฉือน โมเมนต์ดัด
ในคานและโครงข้อแข็ง วิเคราะห์แรงภายในโครงข้อหมุนโดยวิธีคำนวณและวิธีกราฟิค
อินฟูเอ็นไลน์ในคานและโครงข้อหมุน การขจัดเชิงมุมและการโก่งของโครงสร้าง
โดยวิธีคานเสมือน วิธีงานเสมือน วิธีพลังงานความเครียด และวิธีแผนภูมิวิลเลียต-มอร์
การวิเคราะห์โครงสร้างแบบอินดิเทอร์มิเนทโดยวิธีสมมติ การเปลี่ยนรูปของโครงสร้าง
นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียน นอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์ ถามทาง email : me852141@gmail.com หรือ ข้อความทาง facebook : Mee Rmutl และ เข้าร่วมกลุ่มปิดในเฟสบุค theory of structures เพื่อประกาศคะแนน และ เอกสาร วีดีทัศน์เสริมการเรียนรู้
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกร พ.ศ.2559 ดังนี้

ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2559” ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ.2543 ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งในข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้น ประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมหรือประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ แล้วแต่กรณี

หมวด 1 จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
ส่วนที่ 1 จรรยาบรรณต่อสาธารณะ

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องประกอบวิชาชีพโดยให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยสุขอนามัย และสวัสดิภาพของสาธารณชน ตลอดจนทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมอันเป็นสาธารณะด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องละเว้นจากการให้การสนับสนุน ส่งเสริม หรือ เป็นตัวการ เกี่ยวกับการทุจริตในโครงการองภาครัฐหรือเอกชน

 
ส่วนที่ 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมด้วยความซี่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดขอบ และ ระมัดระวัง ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องปฏิบัติงานต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเกินความสามารถและความเชี่ยวชาญที่ตนเองจะกระทำได้ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในงานที่ตนไม่ได้ทำ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่เรียก รับ ยอมจะรับ หรือให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน

ส่วนที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้ว่าจ้าง

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ละทิ้งงานโดยไม่มีเหตุอันควร ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนทำ เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้าง หรือเป็นการเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่นเพื่อการแข่งขันด้านเทคนิคหรือราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้แก่ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นทราบล่วงหน้าแล้ว

ส่วนที่ 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือเป็นความประสงค์ของเจ้าของงานและได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ใช้หรือกระทำการในลักษณะคัดลอกแบบรูป แผนผัง หรือเอกสารที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่อ้างผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นมาเป็นของตนในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่กระทำการใด ๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น

ส่วนที่ 5 เรื่องอื่นๆ

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่กระทำความผิดในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 หรือ มาตรา 269 จนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด

หมวดที่ 2 การประพฤติผิดจรรยาบรรณ
อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

กรณีที่จะถือเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพดังต่อไปนี้

(1) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมตามข้อบังคับนี้ และเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นต้องได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือ ทรัพย์สิน
(2) เคยถูกลงโทษโดยคำสั่งถึงที่สุด เนื่องจากประพฤติผิดจรรยาบรรณ ตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 แต่ยังประพฤติผิดซ้ำ หรือ ไม่หลาบจำ หรือไม่มีความเกรงกลัวต่อการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(3) กระทำความผิดในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 หรือ มาตรา 269 โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(4) กรณีอื่นที่คณะกรรมการจรรยาบรรณเห็นว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
บทเฉพาะกาล

การกระทำใดที่เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณ หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นตามข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ.2543 เรื่องกล่าวหาหรือกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประพฤติผิดจรรยาบรรณที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่บังคับนี้ใช้บังคับ ให้พิจารณาดำเนินการตามระเบียบที่ใช้อยู่ขณะนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จตามข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ.2543
ตรวจสอบการเข้าห้องเรียน ด้วยการ quiz 1-2 ครั้ง ทุกครั้งที่มีการเรียนการสอน แจ้งกติกา ข้อตกลง มารยาทในการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก มอบหมายเอกสารอ่านประกอบ ภาพ วีดีทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนเพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์ มอบหมายแบบฝึกหัด รายงาน กำหนดวันส่ง การนำเสนอผลงาน ติดตามผล

บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การกระทำผิดจรรยาบรรณวิศวกร อภิปรายกลุ่ม
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
สามารถวิเคราะห์โครงสร้างแบบดิเทอร์มิเนทเพื่อหาแรงปฏิกิริยา  แรงเฉือน  โมเมนต์ดัด
ในคานและโครงข้อแข็ง  คำนวณวิเคราะห์แรงภายในโครงข้อหมุนโดยวิธีคำนวณและวิธีกราฟ  อินฟูเอ็นไลน์ในคานและโครงข้อหมุน  การขจัดเชิงมุมและการโก่งของโครงสร้างโดยวิธีคานเสมือน วิธีงานเสมือน วิธีพลังงานความเครียด และวิธีแผนภูมิวิลเลียต-มอร์   การวิเคราะห์โครงสร้าง แบบอินดิเทอร์มิเนทโดยวิธีสมมติการเปลี่ยนรูปของโครงสร้าง
บรรยาย แสดงตัวอย่างการคำนวณบนกระดาน และมอบหมายทำโจทย์แบบฝึกหัด ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มอบหมายงานให้นักศึกษาตั้งโจทย์ ฝึกทำ และตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่ง โครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีนำไปแก้ปัญหาโจทย์
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
2.3.3 ประเมินจากการนำข้อสอบสภาวิศวกรเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา มาทดสอบใน quiz ประจำสัปดาห์ ข้อสอบกลางภาค และ ปลายภาค เพื่อทราบว่า นักศึกษาที่เรียนได้มาตรฐานข้อสอบกลางหรือไม่
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการวิเคราะห์ออกแบบโครงสร้างอาคารผิดพลาด
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา การวิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้วิชาทฤษฎีโครงสร้างที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากความประพฤติ
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวัดผลตามจุดประสงค์การสอน
3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น อ่านบทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา การใช้ทฤษฎีที่เรียนมาแก้ปัญหาโจทย์ที่นักศึกษาสนใจ ต้องการทราบคำตอบ และมีวิธีตรวจสอบความถูกต้อง
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 ทักษะการค้นคว้า หาข้อมูล คิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room ทักษะในการแสดงความคิดเห็น และยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นทางสังคมออนไลน์
5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น ใช้ AutoCad และ Microsoft Excel มาทำการบ้านส่ง    
 
 
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน youtube เอกสารในกลุ่ม facebook และ E- Learning ทำแบบฝึกหัด และตรวจสอบความถูกต้อง
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 ประเมินจากการสอบ งานที่ส่ง รายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
ฝึกฝนทำโจทย์ สร้างวิธีคิด ทำความเข้าใจ แสดงผลการคำนวณเป็นขั้นตอน
ทำให้ดูบนกระดาน เรียงจากง่ายไปยาก จัดลำดับแบบฝึกจากง่ายไปยาก
ดูผลจากการทำ Quiz หลังเลิกเรียน และ งานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 (1.3,2.3,3.3,4.3) สอบกลางภาค บทที่ 1-4 สอบปลายภาค บทที่ 5-7 และข้อสอบทบทวนปรนัย 4 ตัวเลือก 9 17 40% 40%
2 หมวด 4 (1.3,2.3,3.3,4.3,5.3) –งานที่มอบหมายครั้งที่ 1 ให้ค้นคว้าหาโครงสร้างที่นศ.ประทับใจ เขียนแบบจำลอง –งานที่มอบหมายครั้งที่ 2 ให้สร้างโจทย์เขียนรูปหาแรงปฏิกริยาด้วยโปรแกรม AutoCad –งานที่มอบหมายครั้งที่ 3 ให้สร้างโจทย์เขียนรูปหาแรงปฏิกิริยา แรงเฉือน และโมเมนต์ดัด ด้วยโปรแกรม AutoCad ตรวจคำตอบด้วยการคำนวณ –งานที่มอบหมายครั้งที่ 4 ให้สร้างโจทย์เขียนรูปหาแรงภายในโครงข้อหมุน ด้วยโปรแกรม AutoCad ตรวจคำตอบด้วยการคำนวณ –งานที่มอบหมายครั้งที่ 5 ทำรายงานการหาระยะการโก่งตัวโครงข้อหมุนโดยวิธีวิลเลียต-มอร์ ให้สร้างโจทย์เขียนรูปหาแรงภายในโครงข้อหมุน ด้วยโปรแกรม AutoCad ตรวจคำตอบด้วยการคำนวณ 1 3 4 7 12 2% 2% 2% 2% 2%
3 หมวด 4 (1.3) หมวด 4 (2.3,3.3,4.3,5.3) การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน อภิปราย เสนอความคิดเห็นในเวบบอร์ด ตลอดภาคการศึกษา 5% 5%
วรพรรณ นันทวงศ์. ทฤษฎีโครงสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 1.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา, 2549.
1. Anderson, P., Nordby, G.M. Introduction to Structural Mechanics. New York : The Ronald Press Company, 1960. 2. Arbaby, F. Structural Analysis and Behavior. Singapore : Mc Graw - Hill, 1991. 3. Hibbeler, R.C. Structural Analysis. 5th ed. New Jersey : Prentice – Hall, 2002. 4. Hsieh, Y.Y. Elementary of Structures. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice - Hall, 1970. 5. Hsieh, Y.Y., Mau, S.T. Elementary Theory of Structures. 4th ed. New Jersey : Prentice – Hall, 1995. 6. Mc Cormac, J.C., Nelson, Jr.J.K. Structural Analysis : A Classical and Matrix Apporach. 2nd ed. Addison – Wesley Education Publishers Inc., 1996. 7. Norris, C.H., Wilbur, J.H. and Utku, s. Elementary Structural Analysis. 3rd ed., Singapore : Mc Graw – Hill, 1977. 8. Tartaglione, L.C. Structural Analysis. Singapore : Mc Graw – Hill, 1991. 9. Wang, C.K. Intermediate Structural Analysis. Singapore : Mc Graw – Hill, 1983. 10. West, H.H. Analysis of Structures an Integration of Classical and Modern Methods. 2nd ed. Singapore : John Wiley 4 sons, 1980. 11. ข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร. การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ 2522. หมวด 6. 12. ชาญชัย จารุจินดา. ทฤษฎีโครงสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : 23 บุ๊คเซ็นเตอร์, 2535. 13. ตระกูล อร่ามรักษ์. การวิเคราะห์โครงสร้าง 2. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ การพิมพ์, 2538. 14. นรินทร์ เนาวประทีป. การวิเคราะห์โครงสร้าง 1. พระนคร กรุงเทพมหานคร : Physic Center, 2534. 15. บัญชา สุปรินายก. การวิเคราะห์โครงสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร สมาคมส่งเสริม เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) : บริษัท ประชาชน จำกัด, 2538. 16. ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์. การวิเคราะห์โครงสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร วิศวกรรม สถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533. 17. วินิต ช่อวิเชียร. การวิเคราะห์โครงสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร, 2544. 18. วินิต ช่อวิเชียร. ทฤษฎีโครงสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร, 2544.
ข้อสอบทดสอบความรู้ระดับภาคีวิศวกรโยธา http://www.coe.or.th/_mis/_main/index.php


Facebook ร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม theory of structures ได้ที่ www.facebook.com ค้นหา Mee rmutl เพื่อยืนยันการเป็นเพื่อน นศ.ที่ลงทะเบียนเรียน สามารถ download เอกสาร และ ข้อสอบเก่าพร้อมเฉลยได้ที่ http://elearning.rmutl.ac.th/main/course/view.php?id=405


ศึกษาเพิ่มเติมความรู้ด้านวิศวกรรมโยธาได้  http://www.tumcivil.com/engfanatic/index_v4.php


ติดตามข่าวสารด้านวิศวกรรมโยธาได้   http://www.eit.or.th/