การจัดการโครงการ

Project Management

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโครงการ และกระบวนการบริหารโครงการ
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา ในด้านการเขียนโครงการ การวางแผนโครงการ การจัดทำงบประมาณโครงการ การควบคุมโครงการ การประเมินผลโครงการและการยุติโครงการ
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัจจัยในการบริหารโครงการ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ตลอดจนสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารโครงการ
4. เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะการนำหลักการทางคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
5. เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการโครงการให้มีความทันสมัย สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง นำไปใช้บูรณาการกับความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านอื่น ๆ และรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโครงการ กระบวนการบริหารโครงการ หลักการเขียนโครงการ การวางแผนโครงการ การจัดทำงบประมาณโครงการ การวิเคราะห์ปัจจัยในการบริหารโครงการ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การควบคุมโครงการ การประเมินผลโครงการและการยุติโครงการ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารโครงการ
นักศึกษาสามารถเข้าปรึกษาอาจารย์ผู้สอนได้ที่ห้องพักครูการจัดการธุรกิจ อาคารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง และนอกจากนี้นักศึกษาสามารถตั้งคำถามและข้อสงสัยในแอปพลิเคชัน Microsoft Teams ได้ตลอดเวลา เมื่อผู้สอนเสร็จสิ้นภาระกิจการสอนแล้วจะทำการตอบคำถามและอธิบายอย่างละเอียด เพื่อให้นักศึกษาทุกคนที่ยังไม่เข้าใจเนื้อหาได้ทราบทั่วกัน
¡ 1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
˜ 1.2 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
¡ 1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น รวมถึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
ทำการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การส่งงานทันตามเวลากำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน และประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
˜ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
¡ 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา ที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
ใช้วิธีการสอนความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ การสอนแบบบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงาน และนำเสนอผลงาน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพแวดล้อมจริง ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
ทำการประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคการศึกษาจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ การนำเสนอผลงาน และการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
¡ 3.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
˜ 3.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่าง รอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
ส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิดและการวิเคราะห์ การมอบหมายงาน การจัดการโครงการเพื่อให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม รวมถึงศึกษาค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
ทำการประเมินผลการเรียนรู้จากการนำเสนอโครงการ รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
˜ 4.2 มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
¡ 4.3 มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
มอบหมายกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล ทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา รวมถึงการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ ตลอดจนสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี
ทำการประเมินผลการเรียนรู้จากรายงาน ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน รวมถึงสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
˜ 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
¡ 5.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์
มอบหมายงานที่ใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข เช่น การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ เป็นต้น มอบหมายงานที่มีการสืบค้นข้อมูลและการนำเสนอผลงานที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
ประเมินผลจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย การนำเสนอผลงานเป็นรายกลุ่ม และประเมินทักษะความสามารถในการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอผลงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
˜ 6.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการวิเคราะห์จากสถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น 1.2 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม 1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา ที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 3.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 3.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่าง รอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ 4.2 มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง 4.3 มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 5.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ 6.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
1 BBABA249 การจัดการโครงการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 2.1 แบบทดสอบย่อย , การส่งแบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1, 2.2, 3.2, 4.2, 5.1, 6.1 การศึกษาค้นคว้าและทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย รายบุคคลและรายกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1, 1.2, 1.3, 4.3 พฤติกรรมการเข้าเรียน การตอบคำถามและอภิปราย การมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีม ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 2.1, 2.2, 3.2, 5.1 การสอบกลางภาคเรียน 9 25%
5 2.1, 2.2, 3.2, 5.1 การสอบปลายภาคเรียน 17 25%
1) ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2557). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) ชัยยศ สันติวงษ์. (2539). การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด 3) ฐาปนา ฉิ่มไพศาล และ อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ. (2545). การบริหารโครงการและการศึกษาความเป็นไปได้. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด 4) ณรงค์ นันทวรรธนะ. (2547). การบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ 5) พรรณนุช ชัยปินชนะ. (2552). การบริหารโครงการธุรกิจ. เชียงใหม่ : ยูเนี่ยนออฟเซท 6) รัตนา สายคณิต. (2546). การบริหารโครงการ : แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์ YouTube สื่อการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริการสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชhttp://www.stou.ac.th/stouonline/LOM
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ