การจัดการฟาร์มพืช

Crops Farm Management

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับรูปแบบและขนาดของฟาร์มพืช สถานการณ์และแนวโน้มการผลิตพืชในยุคปัจจุบัน การจัดการข้อมูลสารสนเทศระบบการผลิตพืช การบริหารงบประมาณและต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตพืช เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการผลิตพืช และการสร้างมูลค่าเพิ่ม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ สามาถวางแผนและวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเป็นระบบ มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ และมีทักษะการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มพืช
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในสาขาวิชาชีพที่ทันสมัยสอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีการเกษตรและสารสนเทศ
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้ก้าวทางตามยุคสมัยและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานได้
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับรูปแบบและขนาดของฟาร์มพืช สถานการณ์และแนวโน้มการผลิตพืชในยุคปัจจุบัน การจัดการข้อมูลสารสนเทศระบบการผลิตพืช การบริหารงบประมาณและต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตพืช เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการผลิตพืช และการสร้างมูลค่าเพิ่ม
อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็ปไซต์ของพื้นที่-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตว์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมกับผู้อื่น
นักศึกษามีระเบียบวินัย เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีการสอนโดยสอดแทรกหัวข้อและจัดกิจกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม
ประเมินจากเวลาเข้าเรียน ส่งงานตามกำหนด เข้าร่วมกิจกรรม รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย และประเมินผลงานที่มีความซื่อสัตย์สุจริต
มีความรู้และมีความรอบรู้เกี่ยวกับรูปแบบและขนาดของฟาร์มพืช สถานการณ์และแนวโน้มการผลิตพืชในยุคปัจจุบัน การจัดการข้อมูลสารสนเทศระบบการผลิตพืช การบริหารงบประมาณและต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตพืช เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการผลิตพืช และการสร้างมูลค่าเพิ่ม
บรรยาย อภิปราย ทำงานกลุ่ม ระดมความคิด นำเสนอหน้าชั้นเรียน วิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้สืบค้นบทความวิจัยที่น่าสนใจ สรุปและแสดงความคิดเห็นต่อบทความนั้นๆ 
ทดสอบประเมินผลการศึกษาย่อย กลางภาค และปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี และประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก problem based learning
สามารถวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ริเริ่มคิดสร้างสรรค์ เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา
มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ปัญหา การนำเสนอผลงาน และวิเคราะห์กรณีศึกษาในการวางแผน การตัดสินใจ ข้อมูลสารสนเทศน์ และข้อจำกัดของเทคโนโลยี
การประเมินผลการนำเสนอโครงงานที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียน และประเมินผลการสอบกลางและปลายภาคเรียน
มีภาวะผู้นำ มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะต่อบุคคลอื่นและสังคม
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายรานงานกลุ่ม และการนำเสนอกลุ่ม
ประเมินผลจากพฤติกรรมการแสดงออกในชั้นเรียน การร่วมกิจกรรมกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
มีทักษะสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม และทันสมัยมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และนำเสนอแนวคิด วงแผน หรือวิเคราะห์กรณ๊ศึกษาในชั้นเรียน
มอบหมายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในรูปแบบงานเดี่ยว จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และนำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมและน่าสนใจ
ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือมีการวิเคราะห์เชิงตัวเลขในการนำเสนอข้อมูล
สามารถปฏิบัติงานทางวิขาชีพและพัฒนาตนเองได้
จัดการเรียนการสอนที่หลากหลายแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
ประเมินผลตามจากงานและทักษะปฏิบัติที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีจรรยาบรรณ มีระเบีียบวินัยและเคารพต่อกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรู้ในสายวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบทั้งหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัย สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม มีภาวะผู้นำ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีทักษะการสื่อสาร ใช้ภาษาไทยและอังกฤษได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
1 BSCAG113 การจัดการฟาร์มพืช
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับฟาร์มพืช การจัดการและเศรษฐกิจการเกษตร ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สภาวะแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการฟาร์ม การใช้ข้อมูลสารสนเทศ การเริ่มกิจการฟาร์มฟืช การวางแผนการผลิตและงบประมาณฟาร์มพืช การบันทึกกิจกรรมและระบบบัญชีภายในฟาร์มพืช สอบกลางภาค 8 25%
2 มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลการดำเนินกิจการฟาร์มพืช ต้นทุนและผลตอบแทนของกิจการฟาร์มพืช การจัดการปัจจัยการผลิตฟาร์มพืช การตลาดสินค้าผลิตผลจากฟาร์มพืช การจัดการความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในธุรกิจฟาร์มพืช การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการจัดการฟาร์มพืช และการพัฒนาผลผลิตฟาร์มพืชจากกรณีศึกษา สอบปลายภาคการศึกษา 17 25%
3 มีความสามารถในการประเมินตามทฤฎีเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การสืบค้นและใช้ข้อมูลสารสนเทศ การวางแผนการผลิตและงบประมาณฟาร์มพืช การบันทึกกิจกรรมและระบบบัญชีภายในฟาร์มพืช การวิเคราะห์ผลการดำเนินกิจการฟาร์มพืช การคำนวนต้นทุนและผลตอบแทนของกิจการฟาร์มพืช การประเมินความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในธุรกิจฟาร์มพืช การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการจัดการฟาร์มพืช และการพัฒนาผลผลิตฟาร์มพืช ปฏิบัติการ ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 มีจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ การเข้าเรียนและมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆของรายวิชา ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองานได้อย่างเหมาะสม นำเสนอหน้าชั้นเรียนในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ วางแผน วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในฟาร์มพืช รายงานการวิเคราะห์กรณีศึกษาฟาร์มตัวอย่าง ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2563). เอกสารคำสอนชุดวิชา การจัดการฟาร์ม: หน่วยที่ 1-7. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2563). เอกสารคำสอนชุดวิชา การจัดการฟาร์ม: หน่วยที่ 8-15. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอผ่านกลุ่ม Microsoft team ที่ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
2.2 รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนของนักศึกษา
3.1 สัมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยผู้สอนท่านอื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มิใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้ข้อสอบ และคะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือจามข้อเสนอแนะและผลการทบทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือเพิ่มผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ