คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการกระบวนการผลิตอาหาร

Computer Aided for Food Production Management

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ช่วยในการวางแผนและการจัดการกระบวนการผลิตอาหาร ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือสามารถเขียนโปรแกรมสำหรับการประมวลข้อมูล รวมถึงแก้ปัญหาในงานด้านการบริหารงานผลิต การควบคุมคุณภาพ เช่น การตัดสินใจ การกำหนดตารางการผลิตและการควบคุมการขนส่ง การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น
 
เพื่อเพิ่มเติมทักษะการ coding สำหรับนักศึกษาศตวรรษที่ 21 ให้สามารถประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีใหม่ ในปัจจุบันและก้าวทันอนาคตได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและการจัดการกระบวนการผลิตอาหาร ได้จริง  
การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ช่วยในการวางแผนและการจัดการกระบวนการผลิตอาหาร การใช้ควบคมุเครื่องจักรอุปกรณ์ในระบบการผลิต รวมถึงแก้ปัญหาในงานด้านการบริหารงานผลิต เช่น การกำหนดตารางผลิตและการควบคุมการขนส่ง การควบคุมสินค้าคงคลัง 
 
อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอนโดย จัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ โดยมี คุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ 
1.1.1  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3  มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทํางานได้อย่างเป็นระบบอย่างเหมาะสม
1.1.4  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 
1.2.1 สอดแทรกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงภาระ ความรับผิดชอบของอาชีพ และ ผลกระทบที่เกิดขึ้นหากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
1.2.2 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพ ระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์ สื่อสาร 
1.2.3 ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์ โดยยกตัวอย่างอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การลอกการบ้าน การลอกกันระหว่างการทดสอบย่อย 
1.2.4 ให้ความสําคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กําหนด 
1.3.1 คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา 
1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมต่างๆของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้น ว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์ให้เหมาะสม มากขึ้น
ความรู้ที่จะได้รับครอบคลุมตามวัตถุประสงค์รายวิชา ประกอบไปด้วย การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การฝึกปฏิบัติ การฝึกใช้ซอฟต์แวร์สําเร็จรูปเพื่อ ช่วยงานกระบวนการอาหาร การเขียนโปรแกรมเพื่อใช้กับระเบียบวิธีเชิงตัวเลข เทคนิคการ วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ โดยนักศึกษาต้อง สามารถบูรณาการความรู้วิชานี้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้งต้องมีความรู้เพียงพอในการประยุกต์ในงานจริงได้
บรรยายโดยใช้ Power point และสอนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python ด้วยเครื่องมือโปรแกรมออนไลน์ และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ให้แบบฝึกหัดทําในห้อง การบ้าน ทําการทดสอบ ย่อย และลงปฏิบัติ 
2.3.1 ประเมินจากแบบทดสอบย่อยสอบกลางภาคและสอบปลายภาค 
2.3.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
พัฒนาความสามารถในการนําความรู้มาคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพและสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
ใช้ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยตนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา มอบหมายการบ้านและแบบฝึกหัดให้ นักศึกษาทําประจําสัปดาห์ตามหัวข้อต่างๆ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา 
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นําและผู้ตามในการทํางานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน ตามกําหนดเวลา
4.1.4 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน 
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทํางานทั้งกลุ่มและเดี่ยว ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกําหนดโจทย์ กําหนดบทบาทในการทํางาน และให้นําเสนอผลงาน รวมทั้งให้นักศึกษามีบทบาทในการให้ ความเห็นกับผลงานของคนอื่น หรือกลุ่มอื่น
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นําเสนอ พฤติกรรมการทํางานเป็นทีม 
4.3.3 พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
4.3.4 ประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนําเสนอผลงาน 
5.1.1 สามารถสืบค้นศึกษาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
5.1.2 ทักษะในการนําเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 
5.1.3 สามารถแนะนําประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ 
5.1.4 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน
5.1.5 มีความสามารถและความมั่นใจในการสรุปผลการศึกษา 
5.1.6 สามารถใช้เครื่องมือการคํานวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพใน สาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทํารายงานโดยเน้นการนําตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่ น่าเชื่อถือ 
5.2.2 นําเสนอโดยรูปแบบ power point โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย และพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
นักศึกษามีความสามารถพัฒนาตนเองได้  เกิดทักษะจากการปฏิบัติ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและมีความสามารถในการตัดสินใจ โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
6.1.1 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย
6.1.2 มีพัฒนาการทางด้านระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
6.1.3 มีพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ 
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฝึกทักษะการปฏิบัติ โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติสร้างผลงานตามชิ้นงานต้นแบบ และออกแบบชิ้นงานด้วยตัวเองอย่างสร้างสรรค์ 
วัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และทักษะการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้ 
6.3.1 จากประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติ ความถูกต้อง
6.3.2 การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และความสามารถในการตัดสินใจ
6.3.3 พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3
1 ENGFI209 คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการกระบวนการผลิตอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 2.3, 3.1, 3.3, 5.1 สอบย่อย สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค 4, 8, 10, 13 และ 17 15% 20% และ 25%
2 1.1, 4.1, 4.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 2.1, 2.3, 3.1, 3.3, 4.1, 4.3, 5.3 แบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 30%
1. คงศักดิ์ ศรีแก้ว. การบริหารจัดการคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
2. Hector Cuesta. Practical Data Analysis, Packt Publishing.
ไม่มี
https://www.python.org/
https://colab.research.google.com/
https://datastudio.google.com/
 
แบบประเมินผู้สอน
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษาและผลสอบ 
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียน รายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจําหลักสูตร 
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย ตรวจสอบ ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก3ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
5.2 ประเมินรายวิชาทุกปีตามแบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา